ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ศีลข้อที่ ๑ บัญญัติไว้เพื่อไม่ให้เบียดเบียนกันในเรื่องใด ?
ก.
ชีวิต
ข.
ทรัพย์
ค.
คู่ครอง
ง.
คำพูด
๒.
การทำร้ายกันเป็นเหตุให้นิ้วขาด จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
บาดเจ็บ
ข.
เสียโฉม
ค.
พิการ
ง.
ทรมาน
๓.
การกระทำใด ผิดศีลข้อที่ ๑ ?
ก.
เก็บส่วย
ข.
ฆ่าปิดปาก
ค.
เล่นหวย
ง.
เลี่ยงภาษี
๔.
คนที่มีอายุสั้น เพราะผิดศีลข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
กาเมสุมิจฉาจาร
ง.
มุสาวาท
๕.
ข้อใด เป็นวัตถุแห่งปาณาติบาต ?
ก.
ทรัพย์สิน
ข.
สัตว์ป่า
ค.
เมรัย
ง.
ต้นไม้
๖.
คนมีจิตใจโหดร้าย ควรรักษาศีลข้อใด ?
ก.
ศีลข้อที่ ๑
ข.
ศีลข้อที่ ๒
ค.
ศีลข้อที่ ๓
ง.
ศีลข้อที่ ๔
๗.
ศีลข้อที่ ๑ ขาดเพราะการกระทำในข้อใด ?
ก.
ทำให้ตาย
ข.
ทำให้ลำบาก
ค.
ทำให้เจ็บ
ง.
ทำให้พิการ
๘.
ใช้งานสัตว์เกินกำลัง จัดเป็นทรกรรมใด ?
ก.
ใช้การ
ข.
กักขัง
ค.
เล่นสนุก
ง.
นำไป
๙.
ข้อใด ไม่จัดเป็นการผจญสัตว์ ?
ก.
ชนโค
ข.
กัดปลา
ค.
ตีไก่
ง.
ขว้างนก
๑๐.
ยืมของไปแล้วตั้งใจไม่ส่งคืน จัดเป็นโจรกรรมใด ?
ก.
กรรโชก
ข.
ฉก
ค.
ปล้น
ง.
ตระบัด
๑๑.
ซ่อนของหนีภาษีเข้าประเทศ เป็นโจรกรรมใด ?
ก.
ลักลอบ
ข.
เบียดบัง
ค.
ยักยอก
ง.
ฉ้อโกง
๑๒.
การกระทำใด เรียกว่า ลัก ?
ก.
ย่องเบา
ข.
กรรโชก
ค.
ยักยอก
ง.
วิ่งราว
๑๓.
ข้อใด จัดเป็นฉายาโจรกรรม ?
ก.
หยิบฉวย
ข.
ปอกลอก
ค.
ยักยอก
ง.
เบียดบัง
๑๔.
คนขาดศีลข้อที่ ๒ จะมีลักษณะอย่างไร ?
ก.
โหดร้าย
ข.
มือไว
ค.
ไม่ซื่อสัตย์
ง.
ขาดสติ
๑๕.
ข้อใด จัดเป็นโจรกรรม ?
ก.
ปล้น
ข.
ผลาญ
ค.
รับสินบน
ง.
หยิบฉวย
๑๖.
การถือเอาทรัพย์ของคนอื่นไม่บอกเจ้าของ ตรงกับข้อใด ?
ก.
หลอก
ข.
ลวง
ค.
ลักลอบ
ง.
หยิบฉวย
๑๗.
การละเมิดศีลข้ออทินนาทาน ส่งผลให้เกิดเป็นคนเช่นไร ?
ก.
อายุสั้น
ข.
ยากจน
ค.
พิการ
ง.
บ้า
๑๘.
ใช้เอกสารเท็จ จัดเป็นโจรกรรมใด ?
ก.
ตระบัด
ข.
ปลอม
ค.
ลวง
ง.
หลอก
๑๙.
ข้อใด เกี่ยวข้องกับศีลข้อ ๓ ?
ก.
คู่หู
ข.
คู่คิด
ค.
คู่เที่ยว
ง.
คู่ครอง
๒๐.
การประพฤติผิดในกาม จัดเป็นทุจริตใด ?
ก.
กายทุจริต
ข.
วจีทุจริต
ค.
มโนทุจริต
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๑.
อย่าชิงสุกก่อนห่าม สอนให้รักษาศีลข้อใด ?
ก.
ข้อที่ ๑
ข.
ข้อที่ ๒
ค.
ข้อที่ ๓
ง.
ข้อที่ ๔
๒๒.
ศีลข้อที่ ๓ เป็นประโยชน์โดยตรงแก่สถาบันใด ?
ก.
ครอบครัว
ข.
การศึกษา
ค.
การเงิน
ง.
การเมือง
๒๓.
การรักษาศีลข้อที่ ๓ ช่วยลดปัญหาสังคมด้านใด ?
ก.
อาชญากรรม
ข.
คนว่างงาน
ค.
ละเมิดทางเพศ
ง.
ยาเสพติด
๒๔.
สามีภรรยาที่ซื่อสัตย์ต่อกัน เพราะปฏิบัติตามศีลข้อใด ?
ก.
ข้อที่ ๑
ข.
ข้อที่ ๒
ค.
ข้อที่ ๓
ง.
ข้อที่ ๔
๒๕.
ศีลข้อที่ ๔ มุ่งสอนให้งดเว้นเรื่องใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
พูดเท็จ
ง.
ดื่มสุรา
๒๖.
การพูดให้คนแตกแยกกัน เรียกว่าอะไร ?
ก.
ส่อเสียด
ข.
หลอก
ค.
กลับคำ
ง.
ยอ
๒๗.
พูดเพื่อทำลายประโยชน์คนอื่น ผิดศีลข้อใด ?
ก.
ข้อที่ ๒
ข.
ข้อที่ ๓
ค.
ข้อที่ ๔
ง.
ข้อที่ ๕
๒๘.
มุสาวาท แสดงออกได้ทางใด ?
ก.
กาย
ข.
วาจา
ค.
ใจ
ง.
กาย วาจา
๒๙.
รับคำท่านแล้วภายหลังไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่าอะไร ?
ก.
ผิดสัญญา
ข.
คืนคำ
ค.
เสียสัตย์
ง.
โวหาร
๓๐.
ข้อใด จัดเป็นอนุโลมมุสา ?
ก.
สับปลับ
ข.
ทำเลศ
ค.
เพ้อเจ้อ
ง.
พลั้ง
๓๑.
ถ้อยคำที่ใช้กันเป็นธรรมเนียม เรียกว่าอะไร ?
ก.
โวหาร
ข.
นิยาย
ค.
สำคัญผิด
ง.
ทำเลศ
๓๒.
มุสาวาททางกาย มีลักษณะตรงกับข้อใด ?
ก.
เล่าความเท็จ
ข.
ทำเอกสารเท็จ
ค.
แจ้งความเท็จ
ง.
ให้การเท็จ
๓๓.
โครงการเมาไม่ขับ สนับสนุนให้งดเว้นเรื่องใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
พูดเท็จ
ง.
ดื่มสุรา
๓๔.
การดื่มสุรา เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อคุณธรรมใด ?
ก.
เมตตา
ข.
สัมมาชีพ
ค.
มีสัตย์
ง.
สติรอบคอบ
๓๕.
ข้อใด เป็นโทษของการดื่มสุรา ?
ก.
โหดร้าย
ข.
มือไว
ค.
ใจเร็ว
ง.
เกิดโรค
๓๖.
การดื่มสุรา เป็นเหตุบั่นทอนปัญญา ตรงกับข้อใด ?
ก.
คิดดี
ข.
คิดเร็ว
ค.
คิดช้า
ง.
คิดถูก
๓๗.
วิรัติของพระอริยเจ้า ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๘.
สัมปัตตวิรัติ เป็นการงดเว้นในขณะใด ?
ก.
ก่อนหน้า
ข.
ต่อหน้า
ค.
ลับหน้า
ง.
ลับหลัง
๓๙.
การบริจาคโลหิตช่วยผู้อื่น ชื่อว่ามีกัลยาณธรรมใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๔๐.
กัลยาณธรรมใด สนับสนุนให้ศีลข้อที่ ๑ มั่นคง ?
ก.
เมตตา กรุณา
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
กามสังวร
ง.
ความมีสัตย์
๔๑.
ผู้รับจ้างอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ เพราะขาดกัลยาณธรรมใด ?
ก.
เมตตา กรุณา
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
กามสังวร
ง.
มีสติ
๔๒.
ขายสินค้าปลอม ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๓.
ข้อใด ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในกิจการ ?
ก.
ไม่โกงของ
ข.
ไม่โกงคน
ค.
ไม่โกงงาน
ง.
ไม่โกงกิน
๔๔.
สำนวนว่า รักนวลสงวนตัว สอนให้มีกัลยาณธรรมใด ?
ก.
สัมมาอาชีวะ
ข.
กามสังวร
ค.
ความมีสัตย์
ง.
สติรอบคอบ
๔๕.
สทารสันโดษ เป็นคุณธรรมที่สามีพึงปฏิบัติต่อใคร ?
ก.
คู่นอน
ข.
คู่คิด
ค.
คู่ชีวิต
ง.
คู่ใจ
๔๖.
การทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดี เรียกว่าอะไร ?
ก.
ปติวัตร
ข.
วิธีวัตร
ค.
จริยาวัตร
ง.
กิจวัตร
๔๗.
ความประพฤติตรงต่อมิตร จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
เที่ยงธรรม
ข.
สวามิภักดิ์
ค.
ซื่อตรง
ง.
กตัญญู
๔๘.
ความมีสติรอบคอบ เป็นอุปการะแก่การรักษาศีลข้อใด ?
ก.
ข้อที่ ๒
ข.
ข้อที่ ๓
ค.
ข้อที่ ๔
ง.
ข้อที่ ๕
๔๙.
การใช้จ่ายแต่พอเพียง ชื่อว่ามีสติรอบคอบในเรื่องใด ?
ก.
การงาน
ข.
การวางตัว
ค.
การบริโภค
ง.
ธรรม
๕๐.
ข้อใดชื่อว่าไม่เลินเล่อในการงาน ?
ก.
ไม่ขวนขวาย
ข.
ไม่ทอดธุระ
ค.
ไม่รับผิดชอบ
ง.
ไม่ตรงเวลา
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๗. หน้า
ข้อสอบจริง สอบวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐