ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
ระบายใน
กระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ความหน่ายในเบญจขันธ์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
นิพพิทา
ข.
วิราคะ
ค.
วิมุตติ
ง.
วิสุทธิ
๒.
คำว่า โลก โดยอ้อมได้แก่อะไร ?
ก.
แผ่นดิน
ข.
หมู่สัตว์
ค.
จักรวาล
ง.
อากาศ
๓.
คำว่า หมกอยู่ หมายถึงอาการเช่นใด ?
ก.
เพลินสิ่งให้โทษ
ข.
หลงสิ่งอาจให้โทษ
ค.
ติดสิ่งล่อใจ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔.
ผู้ไม่ข้องอยู่ในโลก ย่อมได้รับสุขประเภทใด ?
ก.
นิรามิสสุข
ข.
กามสุข
ค.
อามิสสุข
ง.
กายิกสุข
๕.
พระพุทธเจ้าทรงเชิญชวนให้มาดูโลก เพื่อประโยชน์อะไร ?
ก.
คลายเครียด
ข.
คลายทุกข์
ค.
ให้รู้ความจริง
ง.
ให้เพลิดเพลิน
๖.
อะไรเรียกว่า มาร ?
ก.
กิเลสกาม
ข.
วัตถุกาม
ค.
กามฉันท์
ง.
กามตัณหา
๗.
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร ?
ก.
สำรวมกาย
ข.
สำรวมวาจา
ค.
สำรวมจิต
ง.
สำรวมในศีล
๘.
ความเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ จัดเป็นอะไร ?
ก.
ปฏิปทาแห่งนิพพิทา
ข.
วิราคะ
ค.
วิมุตติ
ง.
วิสุทธิ
๙.
ข้อใด เป็นสามัญญลักษณะของสังขาร ?
ก.
ไม่เที่ยง
ข.
เป็นทุกข์
ค.
เป็นอนัตตา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๐.
อะไรปิดบังไว้ จึงมองไม่เห็นอนิจจลักษณะ ?
ก.
สันตติ
ข.
อิริยาบถ
ค.
ฆนสัญญา
ง.
อัตตา
๑๑.
ยืนนานๆ ปวดขาทนไม่ไหว เป็นลักษณะใดของสังขาร ?
ก.
อนิจจตา
ข.
ทุกขตา
ค.
อนัตตตา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๒.
ปกิณณกทุกข์ หมายถึงข้อใด ?
ก.
ความตาย
ข.
ความโศก
ค.
ความร้อน
ง.
ความเจ็บปวด
๑๓.
พยาธิทุกข์ หมายถึงข้อใด ?
ก.
ปวดศีรษะ
ข.
ปวดปัสสาวะ
ค.
ปวดอุจจาระ
ง.
เศร้าใจ
๑๔.
ทุกข์ที่เกิดจากถูกจองจำ จัดเข้าในทุกข์ประเภทใด ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
ปกิณณกทุกข์
ค.
นิพัทธทุกข์
ง.
วิปากทุกข์
๑๕.
บุคคลไม่เห็นทุกขลักษณะ เพราะอะไรปิดบังไว้ ?
ก.
สันตติ
ข.
อิริยาบถ
ค.
ฆนสัญญา
ง.
โสมนัส
๑๖.
ข้อใด มิใช่สภาวะแห่งอนัตตตา ?
ก.
ไม่อยู่ในอำนาจ
ข.
หาเจ้าของมิได้
ค.
เป็นสภาพสูญ
ง.
ไม่เที่ยง
๑๗.
คำว่า อนัตตา กล่าวมุ่งหมายถึงข้อใด ?
ก.
ทุกข์ทั้งปวง
ข.
สังขารทั้งปวง
ค.
เวทนาทั้งปวง
ง.
ธรรมทั้งปวง
๑๘.
คำใด มิใช่ไวพจน์ของวิราคะ ?
ก.
ตัณหักขยะ
ข.
นิโรธะ
ค.
นิพพิทา
ง.
นิพพาน
๑๙.
เมื่อเกิดนิพพิทา เป็นเหตุให้อะไรเกิดตามมา ?
ก.
วิราคะ
ข.
วิมุตติ
ค.
วิสุทธิ
ง.
สันติ
๒๐.
เพราะสิ้นกำหนัดแล้ว จิตย่อมหลุดพ้นจากอะไร ?
ก.
ราคะ
ข.
โทสะ
ค.
อาสวะ
ง.
ปฏิฆะ
๒๑.
วิกขัมภนวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นด้วยอำนาจอะไร ?
ก.
ฌาน
ข.
โสดาปัตติผล
ค.
สกทาคามิผล
ง.
อรหัตผล
๒๒.
วิมุตติใด จัดเป็นโลกิยวิมุตติ ?
ก.
ตทังควิมุตติ
ข.
เจโตวิมุตติ
ค.
ปัญญาวิมุตติ
ง.
นิสสรณวิมุตติ
๒๓.
ความบริสุทธิ์ภายใน ย่อมมีได้ด้วยอะไร ?
ก.
ศีล
ข.
สมาธิ
ค.
ปัญญา
ง.
วิมุตติ
๒๔.
พิจารณาเห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นอุทยัพพยญาณ ?
ก.
ไม่เที่ยง
ข.
เป็นทุกข์
ค.
เป็นอนัตตา
ง.
ว่างเปล่า
๒๕.
การงดเว้นทุจริต ประกอบสุจริต จัดเป็นวิสุทธิใด ?
ก.
จิตตวิสุทธิ
ข.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ค.
สีลวิสุทธิ
ง.
กังขารวิตรณวิสุทธิ
๒๖.
สัมมาสติ ในองค์มรรค จัดเข้าในวิสุทธิใด ?
ก.
จิตตวิสุทธิ
ข.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ค.
สีลวิสุทธิ
ง.
กังขารวิตรณวิสุทธิ
๒๗.
สุขอื่นจากความสงบไม่มี หมายถึงความสงบทางใด ?
ก.
ทางกาย
ข.
ทางวาจา
ค.
ทางใจ
ง.
ทางกายวาจาใจ
๒๘.
ความสงบภายนอก หมายถึงอะไร ?
ก.
กายสงบ
ข.
ใจสงบ
ค.
สังคมสงบ
ง.
ประเทศชาติสงบ
๒๙.
บาลีว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยืนยันว่านิพพานเป็น...?
ก.
อัตตา
ข.
อนัตตา
ค.
ภพภูมิ
ง.
โลกสมมติ
๓๐.
คำว่า ดินน้ำไฟลม ไม่มีในอายตนะนั้น แสดงว่านิพพานมิใช่...?
ก.
รูปขันธ์
ข.
นามขันธ์
ค.
โลกทางโหราศาสตร์
ง.
จักรวาล
๓๑.
การเวียนว่ายตายเกิด เรียกว่าอะไร ?
ก.
สังสารวัฏ
ข.
จุติ
ค.
ภพ
ง.
ชาตะ
๓๒.
ขณะใกล้ตาย อะไรนำให้ไปเกิดในสุคติ ?
ก.
จิตผ่องใส
ข.
กายสุจริต
ค.
วจีสุจริต
ง.
กุศลกรรม
๓๓.
ข้อใด ไม่จัดเข้าในเทวทูต ๔ ?
ก.
เด็กแรกคลอด
ข.
คนแก่
ค.
คนเจ็บ
ง.
สมณะ
๓๔.
สัตว์จำพวกหนึ่งเกิดในอบาย มีปากเท่ารูเข็ม ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัตว์นรก
ข.
สัตว์ดิรัจฉาน
ค.
เปรต
ง.
อสุรกาย
๓๕.
ผู้ที่เกิดในกำเนิดใด จึงจะได้รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ ?
ก.
นิรยะ
ข.
ติรัจฉานโยนิ
ค.
เปรตวิสัย
ง.
อสุรกาย
๓๖.
คติเป็นที่ไปของคนทำความดี เรียกว่าอะไร ?
ก.
สุคติ
ข.
ทุคติ
ค.
วิมาน
ง.
ภพ
๓๗.
ท้าวสักกเทวราช ปกครองสวรรค์ชั้นไหน ?
ก.
ดาวดึงส์
ข.
ยามา
ค.
ดุสิต
ง.
นิมมานรดี
๓๘.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ให้ผลเมื่อใด ?
ก.
ชาตินี้
ข.
ชาติหน้า
ค.
ชาติต่อไป
ง.
ทุกชาติ
๓๙.
กรรมที่ให้ผลสำเร็จแล้ว เรียกว่าอะไร ?
ก.
ชนกกรรม
ข.
อโหสิกรรม
ค.
ครุกรรม
ง.
พหุลกรรม
๔๐.
ชนกกรรม ทำหน้าที่อะไร ?
ก.
ให้ปฏิสนธิ
ข.
ช่วยสนับสนุน
ค.
คอยบีบคั้น
ง.
เข้าไปตัดรอน
๔๑.
ครุกรรม ฝ่ายกุศลได้แก่ข้อใด ?
ก.
ศีล ๘
ข.
มรรค ๘
ค.
สมาบัติ ๘
ง.
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
๔๒.
เมตตากัมมัฏฐาน เหมาะแก่คนเช่นไร ?
ก.
มักโกรธ
ข.
รักสวยรักงาม
ค.
มักสงสัย
ง.
มักง่วงนอน
๔๓.
จิตที่เป็นสมาธิ ตรงกับข้อใด ?
ก.
มีอารมณ์เดียว
ข.
ไม่มีความรู้สึก
ค.
หมดกิเลส
ง.
มีความเห็นแจ้ง
๔๔.
ผู้เจริญกัมมัฏฐานไม่ได้ผลตามที่ต้องการ เพราะสาเหตุใด ?
ก.
มีเรื่องกังวลใจ
ข.
ไม่ถือธุดงค์
ค.
ไม่อยู่ป่าช้า
ง.
เจ้าอารมณ์
๔๕.
เตโชกสิณ มีอะไรเป็นอารมณ์ ?
ก.
ดิน
ข.
น้ำ
ค.
ลม
ง.
ไฟ
๔๖.
การเจริญมรณัสสติ ให้นึกถึงเรื่องใด ?
ก.
ความเกิด
ข.
ความแก่
ค.
ความเจ็บ
ง.
ความตาย
๔๗.
บริกรรมว่า ขอสัตว์จงพ้นจากทุกข์ เป็นการเจริญพรหมวิหารใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๔๘.
ฉุนเฉียวโกรธง่าย เป็นลักษณะของคนมีจริตใด ?
ก.
ราคจริต
ข.
โทสจริต
ค.
โมหจริต
ง.
วิตกจริต
๔๙.
คนเจ้าระเบียบ รักสวยรักงาม ตรงกับจริตใด ?
ก.
ราคจริต
ข.
โทสจริต
ค.
โมหจริต
ง.
วิตกจริต
๕๐.
พุทธคุณบทว่า ผู้ไกลจากกิเลส ตรงกับข้อใด ?
ก.
อรหํ
ข.
สุคโต
ค.
โลกวิทู
ง.
ภควา
เอกสารอ้างอิง
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชั้นโท-เอก และธรรมศึกษาตรี-โท-เอก พ.ศ.๒๕๕๙. หน้า ๙๙ - ๑๐๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐