ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาท (X) ลงในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
นักศึกษาควรมองโลก โดยเปรียบเทียบกับอะไร ?
ก.
ยาพิษ
ข.
ของมึนเมา
ค.
อาหารและยา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒.
พระพุทธองค์ตรัสเรียกคนไร้วิจารณญาณว่าอะไร ?
ก.
พวกอันธพาล
ข.
พวกนอกลัทธิ
ค.
พวกบุรุษเปล่า
ง.
พวกคนเขลา
๓.
พระองค์ตรัสเรียก ผู้รู้โลกตามความเป็นจริงว่าอะไร ?
ก.
ผู้รู้
ข.
ผู้รู้โลกธรรม
ค.
ผู้รู้ทันเหตุการณ์
ง.
ผู้รู้พระไตรปิฎก
๔.
ทรงมีพุทธประสงค์ใด จึงตรัสชวนให้มาดูโลกนี้ ?
ก.
เพื่อไม่ให้หลง
ข.
เพื่อให้เห็นคุณและโทษ
ค.
เพื่อไม่ให้มัวเมาติดอยู่
ง.
ถูกทุกข้อ
๕.
คนเช่นไร ควรสงเคราะห์เข้าในคำว่า “
มาร
” ?
ก.
คนเป็นศัตรูกัน
ข.
คนขัดขวางการทำดี
ค.
คนอันธพาล
ง.
คนโกหกหลอกลวง
๖.
อะไรเรียกว่า “
บ่วงแห่งมาร
” ?
ก.
อายตนะภายใน
ข.
อายตนะภายนอก
ค.
โลภ โกรธ หลง
ง.
สิ่งที่ผูกใจให้ติดอยู่
๗.
ทำอย่างไร จึงจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร ?
ก.
สำรวมอินทรีย์มิให้
ความยินดีครอบงำ
ข.
รักษาศีลให้บริสุทธิ์
ค.
ปรับอารมณ์มิให้ขุ่นมัว
ง.
หมั่นอ่านหนังสือธรรมะ
๘.
ความไม่ดีในข้อใด จัดเป็นมาร ?
ก.
ความโกรธทำลายล้าง
ข.
ความเกียจคร้าน
ค.
เจตสิกอันเศร้าหมองชัก
ให้ใคร่
ง.
ความเห็นแก่ตัว
๙.
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะตัดบ่วงแห่งมารได้ เป็นสมุจเฉทปหาน ?
ก.
สำรวมอินทรีย์
ข.
มนสิการกัมมัฏฐาน
ค.
เจริญวิปัสสนา
ง.
เข้าฌานสมาบัติ
๑๐.
คำว่า “
สังขาร
” ในปฏิปทาแห่งนิพพิทา หมายถึงอะไร ?
ก.
สภาพที่ปรุงแต่งจิต
ข.
ปัญจขันธ์
ค.
อินทรีย์
ง.
อายตนะ
๑๑.
ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปแห่งสังขาร เป็นลักษณะแห่งอะไร ?
ก.
อนิจจลักษณะ
ข.
ทุกขลักษณะ
ค.
อนัตตลักษณะ
ง.
สัปปุริสลักษณะ
๑๒.
ทุกข์เพราะหาเงินไม่พอใช้ จัดเป็นทุกข์อะไร ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
นิพัทธทุกข์
ค.
วิปากทุกข์
ง.
อาหารปริเยฏฐิทุกข์
๑๓.
ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำกับกัน อันได้ชื่อว่าสหคตทุกข์
ตรงกับข้อใด ?
ก.
ขันธ์ ๕
ข.
อายตนะ ๑๒
ค.
อคติ ๔
ง.
โลกธรรม ๘
๑๔.
ทุกขขันธ์ อันเป็นทุกข์รวบยอด ได้แก่อะไร ?
ก.
ความยึดมั่นปัญจขันธ์
ข.
การหาเลี้ยงปัญจขันธ์
ค.
การเยียวยาปัญจขันธ์
ง.
ความหนักแห่งปัญจขันธ์
๑๕.
ข้อใด จัดเป็นปกิณณกทุกข์ ?
ก.
ความแก่
ข.
ความเศร้าโศกเสียใจ
ค.
ความหิวกระหาย
ง.
ความทะเลาะวิวาท
๑๖.
สังขารเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ คือข้อใด?
ก.
นั่นมิใช่ของเรา
ข.
นั่นมิใช่เรา
ค.
นั่นมิใช่ตัวของเรา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๗.
เพราะอะไรปิดบังไว้ จึงไม่เห็นสังขารเป็นอนัตตา ?
ก.
สำคัญว่าเที่ยง
ข.
สำคัญว่าไม่ใช่ของเรา
ค.
สำคัญว่าเป็นสุข
ง.
สำคัญว่าเป็นกองเป็นก้อน
๑๘.
ความเบื่อหน่ายเกิดจากปัญญานั้น ได้แก่เบื่อหน่ายอะไร ?
ก.
เบื่อหน่ายทั่วไป
ข.
เบื่อหน่ายสังขาร
ค.
เบื่อหน่ายปัญจขันธ์
ง.
เบื่อหน่ายภพชาติ
๑๙.
เมื่อจิตเบื่อหน่าย ย่อมเกิดอะไรขึ้น ?
ก.
ความไม่ฟุ้งซ่าน
ข.
ความไม่หลง
ค.
ความสิ้นกิเลส
ง.
ความสิ้นกำหนัด
๒๐.
ข้อว่า “
ธรรมยังความเมาให้สร่าง
” นั้น เมาอะไร ?
ก.
เมาสุราเมรัย
ข.
เมาสิ่งเสพติดให้โทษ
ค.
เมาอายุ วัย ยศ
ง.
เมากิเลส ตัณหา ราคะ
๒๑.
ข้อว่า “
นำเสียซึ่งความระหาย
” หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
กำจัดความหิวได้
ข.
กำจัดความทุกข์ร้อนได้
ค.
กำจัดตัณหาเสียได้
ง.
กำจัดความยากจนได้
๒๒.
ข้อใด มีความหมายตรงกับคำว่า “
อาลัย
” ?
ก.
ความติดใจ
ข.
ความสูญเสีย
ค.
ความเศร้าโศก
ง.
ความสมหวัง
๒๓.
ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของตัณหา ?
ก.
ความอยาก
ข.
ความหงุดหงิด
ค.
ความเพลิดเพลิน
ง.
ความปรารถนา
๒๔.
วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้นั้น ข่มอะไร ?
ก.
นิวรณ์
ข.
โทสะ
ค.
ตัณหา
ง.
กิเลส
๒๕.
การบรรลุอริยผล ด้วยการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว จัดเป็น...?
ก.
เจโตวิมุตติ
ข.
ปัญญาวิมุตติ
ค.
วิกขัมภนวิมุตติ
ง.
สมุจเฉทวิมุตติ
๒๖.
ข้อใด ไม่ใช่สัมมาสังกัปปะ ?
ก.
คิดลด ละ เลิกกาม
ข.
คิดลด ละ เลิกพยาบาท
ค.
คิดลด ละ เลิกชีวิต
ง.
คิดลด ละ เลิกเบียดเบียน
๒๗.
ข้อใด ไม่ใช่สัมมากัมมันตะ ?
ก.
เว้นธุรกิจผิดกฎหมาย
ข.
เว้นเจรจาหลอกลวง
ค.
เว้นลักฉ้อคอร์รัปชั่น
ง.
เว้นธุรกิจค้าประเวณี
๒๘.
ข้อใด ไม่ใช่สัมมาวายามะ ?
ก.
เพียรพยายามหนีปัญหา
ข.
เพียรหาวิธีป้องกันปัญหา
ค.
เพียรพยายามระงับปัญหา
ง.
เพียรพัฒนาสิ่งดีงามขึ้นมา
๒๙.
ข้อใด ไม่นับเข้าในสัมมาสติ ?
ก.
เห็นโลกว่าเที่ยง
ข.
เห็นกายว่าเป็นสิ่งไม่งาม
ค.
เห็นเวทนาว่าแปรปรวน
ง.
เห็นจิตว่ามีความเกิดดับ
๓๐.
สัมมาสติ จัดเข้าในวิสุทธิข้อใด ?
ก.
สีลวิสุทธิ
ข.
จิตตวิสุทธิ
ค.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ง.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
๓๑.
ข้อใด มีความหมายสอดคล้องกับสีลวิสุทธิ ?
ก.
เบื่อหน่ายการอยู่ครองเรือน
ข.
ประกอบอาชีพสุจริต
ค.
เห็นว่าทุกข์เป็นสิ่งมีอยู่จริง
ง.
สอดคล้องทั้ง ๓ ข้อ
๓๒.
ข้อใด ไม่ใช่แนวคิดแบบวิถีพุทธ ?
ก.
อยากได้สันติ ควรพอกพูน
ทางสันติ
ข.
ผู้มุ่งสันติ ควรละผล
ประโยชน์ที่เป็นอามิส
ค.
อยากให้เกิดสันติ ควรทำ
ให้คนเลิกจน
ง.
สันติภาพภายนอก เกิดจาก
สันติภาพภายใน
๓๓.
ข้อใด จัดว่าสวนทางกับพระนิพพาน ?
ก.
วิมุตติ หลุดพ้น
ข.
วิสุทธิ บริสุทธิ์
ค.
อรติ ไม่ยินดี
ง.
สันติ สงบ
๓๔.
“
ผู้เพ่งความสงบพึงละโลกามิสเสีย
” โลกามิสคืออะไร ?
ก.
กามคุณ
ข.
กามฉันทะ
ค.
กามกิเลส
ง.
กามราคะ
๓๕.
ปฏิบัติเช่นไร ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน ?
ก.
ยินดีในสมถะ
ข.
ยินดีในวิปัสสนา
ค.
เห็นโทษการครองเรือน
ง.
เห็นภัยในความประมาท
๓๖.
ผู้มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นอะไร ?
ก.
สภาพเป็นจริง
ข.
ภพชาติ
ค.
อารมณ์
ง.
ตัวตน
๓๗.
กายคตาสติ สติไปในกาย พึงกำหนดเห็นด้วยอาการอย่างไร ?
ก.
เห็นอาการ ๓๒
ข.
เห็นเป็นของน่าเกลียด
ค.
เห็นว่าไม่เที่ยง
ง.
เห็นว่าไม่มีตัวตน
๓๘.
กายคตาสตินั้น เป็นคู่ปรับแก่นิวรณ์ใด ?
ก.
กามฉันทะ
ข.
ถีนมิทธะ
ค.
อุทธัจจกุกกุจจะ
ง.
วิจิกิจฉา
๓๙.
ผู้หมั่นเจริญเมตตา ย่อมได้อานิสงส์อะไร ?
ก.
รักตัวเองมากขึ้น
ข.
รักผู้อื่นมากขึ้น
ค.
กำจัดโทสะเสียได้
ง.
รู้จักให้อภัยไม่จองเวร
๔๐.
วิธีแผ่กรุณา ท่านสอนให้แผ่อย่างไร ?
ก.
ขอสัตว์จงเป็นสุขเถิด
ข.
ขอสัตว์จงพ้นจากทุกข์เถิด
ค.
ขอสัตว์อย่าจองเวรกัน
ง.
ขอสัตว์อย่าเบียดเบียนกัน
๔๑.
ข้อใด เป็นวิธีแผ่มุทิตา ?
ก.
ขอสัตว์จงเป็นสุขเถิด
ข.
ขอสัตว์จงมีสุขยิ่งขึ้นไป
ค.
ขอสัตว์จงพ้นทุกข์
ง.
ขอสัตว์จงอย่ามีเวรกัน
๔๒.
ขณะกราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง ควรมีสติระลึกถึงอะไร ?
ก.
พระรัตนตรัย
ข.
คุณพระรัตนตรัย
ค.
พระพุทธคุณ
ง.
พระธรรมคุณ
๔๓.
การเจริญมรณัสสติว่า “
อวสฺสํ มยา มริตพฺพํ เราต้องตายแน่
”
ควรเจริญในขณะใด ?
ก.
ขณะรดน้ำศพ
ข.
ขณะฟังสวดพระอภิธรรม
ค.
ขณะเผาศพ
ง.
เจริญได้ทุกขณะ
๔๔.
เมื่อกล่าวบทว่า “
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
”
ควรมีสติกำหนดอะไร จึงเป็นการเจริญกัมมัฏฐาน ?
ก.
พระพุทธคุณ
ข.
พระธรรมคุณ
ค.
พระสังฆคุณ
ง.
กำหนดจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน
๔๕.
ขณะรับบิณฑบาต พระสงฆ์พึงเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
เมตตาพรหมวิหาร
ข.
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
ค.
ไม่ได้เจริญแต่สำรวมระวัง
ง.
ไม่ได้เจริญแต่สวดให้พร
๔๖.
พระสงฆ์ออกเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ใด ?
ก.
เพื่อขัดเกลากิเลส
ข.
เพื่อไม่ติดที่และบุคคล
ค.
เพื่อเผยแผ่ธรรม
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๗.
พระธุดงค์ประเภทใด ถือว่าปฏิบัติไม่ถูกต้อง ?
ก.
นำวัตถุมงคลไปแจก
ข.
ดูหมอ ให้หวย
ค.
ปักกลดย่านชุมชน
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๘.
คำว่า “
ทำงานด้วยจิตว่าง
” นั้น หมายถึงทำอย่างไร ?
ก.
เจริญกัมมัฏฐานไปด้วย
ข.
ไม่ให้ถูกความโกรธครอบงำ
ค.
ทำจิตให้ปราศจากอารมณ์
ง.
ทำงานอย่างมีสติ
๔๙.
คำว่า “
จิตว่าง
” นั้น หมายถึงว่างจากอะไร ?
ก.
อารมณ์
ข.
นิวรณ์
ค.
ความเครียด
ง.
ความกังวล
๕๐.
อะไรเป็นผลสูงสุดของวิปัสสนา ?
ก.
เห็นสังขารตามเป็นจริง
ข.
เห็นสังขารเกิดดับ
ค.
เห็นสังขารน่ากลัว
ง.
เห็นสังขารเป็นทุกข์
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๘. หน้า ๑๘๗-๑๙๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐