ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาท (X) ลงในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พระพุทธเจ้าตรัสชวนพุทธบริษัทให้มาดูโลก เพื่อประโยชน์ใด ?
ก.
ให้เห็นคุณและโทษ
ข.
ให้เกิดความเบื่อหน่าย
ค.
ให้เกิดความเพลิดเพลิน
ง.
ให้เกิดความไม่ประมาท
๒.
ทำอย่างไร ถึงจะไม่ข้องอยู่ในโลก ?
ก.
ออกบวช
ข.
ปรารถนาไม่เกิดอีก
ค.
ไม่ยุ่งกับใคร
ง.
ไม่ติดในสิ่งล่อใจ
๓.
ผู้ไม่ข้องอยู่ในโลก จะได้รับผลอย่างไร ?
ก.
เป็นคนรู้ทันโลก
ข.
พ้นจากความวุ่นวาย
ค.
เป็นอิสระแก่ตน
ง.
เป็นคนมีอุเบกขา
๔.
เจตสิกที่เป็นกิเลสกามเกี่ยวข้องกับจิตอย่างไร ?
ก.
ทำให้จิตผ่องใส
ข.
ทำให้จิตเศร้าหมอง
ค.
ทำให้จิตอ่อนแอ
ง.
ทำให้จิตเข้มแข็ง
๕.
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ ตรงกับข้อใด ?
ก.
กิเลสกาม
ข.
วัตถุกาม
ค.
กามโอฆะ
ง.
กามโยคะ
๖.
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะตัดบ่วงแห่งมารได้เป็นสมุจเฉทปหาน ?
ก.
เจริญวิปัสสนา
ข.
สำรวมอินทรีย์
ค.
เข้าฌานสมาบัติ
ง.
มนสิการกัมมัฏฐาน
๗.
ผู้ใดเห็นตามจริงด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ผู้นั้น...?
ก.
ย่อมเมาในทุกข์
ข.
ย่อมพ้นจากทุกข์
ค.
ย่อมหมดสิ้นทุกข์
ง.
ย่อมหน่ายในทุกข์
๘.
ความต่างกันแห่งสังขาร มีได้เพราะอะไร ?
ก.
บุญ
ข.
บาป
ค.
กุศล
ง.
กรรม
๙.
หน่ายอะไร จัดเป็นนิพพิทา ?
ก.
หน่ายสังขาร
ข.
หน่ายสังคม
ค.
หน่ายการเรียน
ง.
หน่ายการงาน
๑๐.
คนและสัตว์ จัดเป็นสังขารประเภทใด ?
ก.
วิสังขาร
ข.
ปุญญาภิสังขาร
ค.
อุปาทินนกสังขาร
ง.
อนุปาทินนกสังขาร
๑๑.
ในปฏิปทาแห่งนิพพิทา ใครเห็นปัญจขันธ์ไม่เที่ยงแล้วเกิด
ความหน่าย ?
ก.
บรรพชิต
ข.
คฤหัสถ์
ค.
ปุถุชน
ง.
อริยสาวก
๑๒.
อนิจจตา มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
ทนอยู่ไม่ได้
ข.
หาเจ้าของไม่ได้
ค.
เกิดแล้วเสื่อมไป
ง.
ไม่อยู่ในอำนาจ
๑๓.
อนิจจลักษณะไม่ปรากฎในที่ใด ?
ก.
นรก
ข.
สวรรค์
ค.
พรหมโลก
ง.
นิพพาน
๑๔.
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะไม่สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา จัดเข้าในทุกข์
ประเภทใด ?
ก.
วิปากทุกข์
ข.
ปกิณกทุกข์
ค.
สันตาปทุกข์
ง.
สหคตทุกข์
๑๕.
หนาว ร้อน หิว กระหาย จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
วิปากทุกข์
ค.
นิพัทธทุกข์
ง.
สหคตทุกข์
๑๖.
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข โทมนัส จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
ก.
นิพัทธทุกข์
ข.
วิปากทุกข์
ค.
ปกิณกทุกข์
ง.
สหคตทุกข์
๑๗.
ข้อใด จัดเป็นวิปากทุกข์ ?
ก.
กลัวแพ้คดี
ข.
กลัวไม่มีงานทำ
ค.
หิว กระหายน้ำ
ง.
ร้อนใจจากการทุจริต
๑๘.
คำว่า คนตื่นแล้วย่อมไม่เห็นอารมณ์ในความฝัน ฉันใด
บ่งถึงสังขารในลักษณะใด ?
ก.
เป็นสภาพว่าง
ข.
เป็นสภาพหายไป
ค.
ไม่อยู่ในอำนาจ
ง.
เป็นไปตามเหตุปัจจัย
๑๙.
ชีวิตไม่ได้ดั่งใจหวังเสมอไป ตรงกับอนัตตลักษณะข้อใด ?
ก.
ไม่อยู่ในอำนาจ
ข.
เป็นสภาพสูญ
ค.
หาเจ้าของมิได้
ง.
เป็นไปตามเหตุปัจจัย
๒๐.
เมื่อรู้ว่า สังขารเป็นไปตามเหตุปัจจัย พึงปฏิบัติอย่างไร ?
ก.
มีสุขทุกเมื่อ
ข.
มีทุกข์ทุกเมื่อ
ค.
มีสติทุกเมื่อ
ง.
วางเฉยทุกเมื่อ
๒๑.
วิราคะ เกิดจากข้อใด ?
ก.
ความสงบ
ข.
ความหลุดพ้น
ค.
ความบริสุทธิ์
ง.
ความหน่ายสังขาร
๒๒.
ความนำออกเสียซึ่งความระหาย หมายถึงนำอะไรออก ?
ก.
วัฏฏะ
ข.
ตัณหา
ค.
อาลัย
ง.
ความเมา
๒๓.
วิมุตติข้อใด เป็นของปุถุชน ?
ก.
สมุทเฉทวิมุตติ
ข.
วิกขัมภนวิมุตติ
ค.
นิสสรณวิมุตติ
ง.
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
๒๔.
วิมุตติข้อใด จัดเป็นโลกิยะ ?
ก.
สมุจเฉทวิมุตติ
ข.
ตทังควิมุตติ
ค.
นิสสรณวิมุตติ
ง.
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
๒๕.
วิกขัมภนวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งอะไร ?
ก.
ฌาน
ข.
ญาณ
ค.
ปัญญา
ง.
สัทธา
๒๖.
ข้อใด จัดเป็นทางแห่งวิสุทธิ ?
ก.
วิมุตติ
ข.
นิพพิทา
ค.
วิราคะ
ง.
นิพพาน
๒๗.
ความบริสุทธิ์ภายใน ย่อมมีด้วยอะไร ?
ก.
สมถะ
ข.
สมาธิ
ค.
ฌาน
ง.
ปัญญา
๒๘.
ทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเองย่อมหมดจดเอง
ตรงกับข้อใด ?
ก.
บุญบาปไม่มี
ข.
บุญบาปเกิดจากตนเอง
ค.
บุญบาปเกิดเอง
ง.
บุญบาปเกิดจากเทพเจ้า
๒๙.
จุติอย่างไร จึงจะไปเกิดในภพที่ดี ?
ก.
นึกถึงพระอรหันต์
ข.
อธิษฐานจิตไปสวรรค์
ค.
เจริญเทวตานุสสติ
ง.
ทำจิตไม่ให้เศร้าหมอง
๓๐.
ข้อใด ไม่ใช่สัมมาวายามะ ?
ก.
พยายามระงับปัญหา
ข.
พยายามป้องกันปัญหา
ค.
พยายามหนีปัญหา
ง.
พยายามพัฒนาสิ่งดีงาม
๓๑.
จงพอกพูนทางแห่งความสงบ อะไรเรียกว่า ทาง ?
ก.
ไตรทวาร
ข.
วิสุทธิ ๗
ค.
ไตรสิกขา
ง.
มรรค ๘
๓๒.
โลกามิส เป็นอุปสรรคของธรรมใด ?
ก.
วิสุทธิ
ข.
วิมุตติ
ค.
วิราคะ
ง.
สันติ
๓๓.
ข้อใด เป็นทางสันติภาพแท้ ตามวิถีพุทธ ?
ก.
เคารพสิทธิมนุษยชน
ข.
ทำกาย วาจา ใจ ให้สงบ
ค.
เคารพกฎหมายบ้านเมือง
ง.
พยายามปรับปรุงตัวเอง
๓๔.
อนฺโต ทุกฺขสฺส ที่สุดแห่งทุกข์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ฌาน
ข.
มรรค
ค.
นิพพาน
ง.
วิมุตติ
๓๕.
ข้อใด ไม่ใช่วิธีปลูกฉันทะในนิพพาน ?
ก.
ทำกิจที่ควรทำ
ข.
ทำทุกรกิริยา
ค.
ไม่เป็นผู้อยู่เปล่า
ง.
อยู่ด้วยความไม่มีภัย
๓๖.
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าใกล้พระนิพพาน ?
ก.
รักษาศีลเป็นประจำ
ข.
ฝึกสมาธิเป็นนิตย์
ค.
ฟังธรรมสม่ำเสมอ
ง.
เห็นภัยในความประมาท
๓๗.
ข้อใด กล่าวถึงสอุปาทิเสสนิพพานได้ถูกต้อง ?
ก.
สิ้นกิเลส มีชีวิตอยู่
ข.
ปฏิบัติเพื่อละกิเลส
ค.
สิ้นกิเลส สิ้นชีวิต
ง.
สิ้นชีวิต มีกิเลสอยู่
๓๘.
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสมาธิ คือข้อใด ?
ก.
นิวรณ์
ข.
กามคุณ
ค.
วิปลาส
ง.
อุปกิเลส
๓๙.
คนมักง่วงนอน ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
กสิณ
ข.
มูลกัมมัฏฐาน
ค.
พรหมวิหาร
ง.
พุทธานุสสติ
๔๐.
อิริยาบถใด ไม่เหมาะแก่ผู้เริ่มเจริญกัมมัฏฐาน ?
ก.
ยืน
ข.
เดิน
ค.
นั่ง
ง.
นอน
๔๑.
มูลกัมมัฏฐาน ตรงกับข้อใด ?
ก.
เบญจขันธ์
ข.
อายตนภายใน
ค.
ตจปัญจกะ
ง.
อายตนภายนอก
๔๒.
การเจริญกายคตาสติ มีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ละความเห็นผิด
ข.
ละความเห็นแก่ตัว
ค.
ละความโกรธ
ง.
ละความพอใจในกาม
๔๓.
คนหลงในรูปตนและคนอื่น ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
เมตตา
ข.
พุทธานุสสติ
ค.
กายคตาสติ
ง.
จตุธาตุววัตถาน
๔๔.
การแผ่เมตตา ควรแผ่ไปในใครก่อน ?
ก.
ตนเอง
ข.
มารดาบิดา
ค.
มิตรสหาย
ง.
สัตว์ทั้งปวง
๔๕.
ข้อใด เป็นอานิสงส์ของการเจริญเมตตา ?
ก.
ไม่มีอคติ
ข.
ไม่มีภัยเวร
ค.
ไม่ประมาท
ง.
มีคนนับถือ
๔๖.
ข้อใด เป็นอานิสงส์ของการเจริญพุทธานุสสติ ?
ก.
ได้รู้พุทธประวัติ
ข.
ให้เกิดปัญญา
ค.
ให้มีความอดทน
ง.
ให้มีความอุตสาหะ
๔๗.
คนมีใจฟุ้งซ่านและรำคาญ ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
กสิณ
ข.
กายคตาสติ
ค.
พุทธานุสสติ
ง.
จตุธาตุววัตถาน
๔๘.
ผู้จะเจริญวิปัสสนา ควรทำกิจใดก่อน ?
ก.
ทำจิตใจให้สงบ
ข.
ชำระศีลให้บริสุทธิ์
ค.
ชำระจิตให้บริสุทธิ์
ง.
ทำความเห็นให้ตรง
๔๙.
กิจของวิปัสสนา ได้แก่ข้อใด ?
ก.
กำจัดกิเลส
ข.
กำจัดโทสะ
ค.
กำจัดโมหะ
ง.
กำจัดนิวรณ์
๕๐.
ผลของวิปัสสนา คือข้อใด ?
ก.
มีจิตตั้งมั่น
ข.
เห็นนิพพานตามจริง
ค.
เห็นโลกตามจริง
ง.
เห็นสังขารตามจริง
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๓. หน้า ๒๕๘-๒๖๘.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐