รวมข้อสอบสนามหลวงวิชาธรรม
ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลง ● ในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบอะไรว่า ตระการดุจราชรถ ?
ก.
โลก
ข.
ชีวิต
ค.
อัตภาพ
ง.
สังขาร
๒.
นิพพิทา คือความหน่ายในอะไร ?
ก.
การศึกษา
ข.
ทุกข์
ค.
บริวาร
ง.
ชีวิต
๓.
คำว่า คนไร้พิจารณ์ หมายถึงใคร ?
ก.
คนไร้การศึกษา
ข.
คนไร้ศีลธรรม
ค.
คนขาดสติ
ง.
คนเขลา
๔.
ผู้เห็นโลกตามเป็นจริง ได้รับผลอย่างไร ?
ก.
ได้สุขบ้างทุกข์บ้าง
ข.
ได้สามิสสุข
ค.
ได้สิ่งที่ปรารถนา
ง.
ได้นิรามิสสุข
๕.
อะไร จัดเป็นบ่วงแห่งมาร ?
ก.
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ข.
โลภะ โทสะ โมหะ
ค.
ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ง.
ตัณหา ราคะ อรติ
๖.
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร ?
ก.
สำรวมกาย
ข.
สำรวมวาจา
ค.
สำรวมจิต
ง.
สำรวมในศีล
๗.
สังขารในขันธ์ 5 หมายถึงอะไร ?
ก.
สภาพที่ปรุงแต่งจิต
ข.
สภาพที่เป็นเอง
ค.
สภาพที่คงอยู่
ง.
สภาพที่เสื่อมไป
๘.
อะไรจำแนกสัตว์ให้แตกต่างกัน ?
ก.
กรรม
ข.
กิเลส
ค.
บุญ
ง.
กุศล
๙.
การเพิกสันตติได้ ทำให้เห็นอะไร ?
ก.
สามัญญลักษณะ
ข.
อนิจจลักษณะ
ค.
ทุกขลักษณะ
ง.
อนัตตลักษณะ
๑๐.
อนิจจลักษณะกำหนดรู้ในทางง่าย ด้วยอาการอย่างไร ?
ก.
เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่
ข.
เกิดขึ้นแล้วดับไป
ค.
แปรไประหว่างเกิดดับ
ง.
แปรไปชั่วขณะหนึ่ง
๑๑.
ชาติ ชรา มรณะ จัดเป็นทุกข์อะไร ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
ปกิณณกทุกข์
ค.
นิพัทธทุกข์
ง.
พยาธิทุกข์
๑๒.
กังวลใจเพราะสัตว์เลี้ยง จัดเป็นทุกข์อะไร ?
ก.
วิปากทุกข์
ข.
ปกิณณกทุกข์
ค.
สหคตทุกข์
ง.
สันตาปทุกข์
๑๓.
ข้อใด เป็นลักษณะของนิพัทธทุกข์ ?
ก.
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ข.
ไม่สบายกาย ใจ
ค.
หนาว ร้อน หิว กระหาย
ง.
ร้องไห้เสียใจ
๑๔.
ข้อใด จัดเป็นพยาธิทุกข์ ?
ก.
ความเจ็บไข้
ข.
ความเศร้าโศก
ค.
ความคับแค้นใจ
ง.
ความหิวกระหาย
๑๕.
ทุกข์เพราะถูกกิเลสเผา จัดเป็นทุกข์อะไร ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
ปกิณณกทุกข์
ค.
สันตาปทุกข์
ง.
วิปากทุกข์
๑๖.
การสู้คดีความกัน จัดเป็นทุกข์อะไร ?
ก.
อาหารปริเยฏฐิทุกข์
ข.
วิปากทุกข์
ค.
สันตาปทุกข์
ง.
วิวาทมูลกทุกข์
๑๗.
คำว่า ธรรม ในบทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา หมายถึงอะไร ?
ก.
กุศลมูล อกุศลมูล
ข.
กุศลวิตก อกุศลวิตก
ค.
สังขาร วิสังขาร
ง.
กุศลธรรม อกุศลธรรม
๑๘.
ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะของอนัตตาแห่งสังขาร ?
ก.
ไม่อยู่ในอำนาจ
ข.
แย้งต่ออัตตา
ค.
หาเจ้าของมิได้
ง.
เป็นกลุ่มก้อน
๑๙.
ข้อใด ไม่ใช่ไวพจน์ของวิราคะ ?
ก.
ความสิ้นตัณหา
ข.
ความดับ
ค.
ความเข้าไปตัดวัฏฏะ
ง.
ความหน่าย
๒๐.
ความติดพ้นห่วงใยในอารมณ์อันเป็นที่รัก เรียกว่าอะไร ?
ก.
อาสวะ
ข.
สังโยชน์
ค.
ความสิ้นตัณหา
ง.
ความหน่าย
๒๑.
วิมุตติ แปลว่าอะไร ?
ก.
ความหลุดพ้น
ข.
ความสิ้นกำหนัด
ค.
ความสิ้นตัณหา
ง.
ความหน่าย
๒๒.
เพราะสิ้นกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นจากอะไร ?
ก.
อาสวะ
ข.
ตัณหา
ค.
ราคะ
ง.
นิวรณ์
๒๓.
การบวงสรวงอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จัดเข้าในอาสวะใด ?
ก.
กามาสวะ
ข.
ภวาสวะ
ค.
อวิชชาสวะ
ง.
ผลาสวะ
๒๔.
การระงับกิเลสกามและอกุศลธรรมด้วยกำลังฌาน จัดเป็นอะไร ?
ก.
ตทังควิมุตติ
ข.
วิกขัมภนวิมุตติ
ค.
สมุจเฉทวิมุตติ
ง.
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
๒๕.
ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีใด ?
ก.
ลอยบาป
ข.
ชำระบาป
ค.
ไถ่บาป
ง.
ไม่ทำบาป
๒๖.
เล็งเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ จัดเป็นญาณอะไร ?
ก.
อุทยัพพยญาณ
ข.
ภังคญาณ
ค.
อาทีนวญาณ
ง.
นิพพิทาญาณ
๒๗.
สัมมาวายามะ ตรงกับข้อใด ?
ก.
พยายามชอบ
ข.
ตั้งใจชอบ
ค.
ระลึกชอบ
ง.
ดำริชอบ
๒๘.
อริยมรรคข้อใด จัดเข้าในสีลวิสุทธิ ?
ก.
สัมมาทิฏฐิ
ข.
สัมมาวายามะ
ค.
สัมมากัมมันตะ
ง.
สัมมาสังกัปปะ
๒๙.
อริยมรรคข้อใด จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ ?
ก.
สัมมาวาจา
ข.
สัมมาวายามะ
ค.
สัมมากัมมันตะ
ง.
สัมมาอาชีวะ
๓๐.
พิจารณาเห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ ?
ก.
เห็นไตรลักษณ์
ข.
เห็นไตรรัตน์
ค.
เห็นไตรภูมิ
ง.
เห็นไตรเพท
๓๑.
วิสุทธิใด จัดเป็นโลกุตตระ ?
ก.
จิตตวิสุทธิ
ข.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ค.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
ง.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
๓๒.
ข้อใด ทำให้เกิดสันติภายนอก ?
ก.
การรักษาศีล
ข.
การเจริญภาวนา
ค.
การปฏิบัติธรรม
ง.
การเจริญกัมมัฏฐาน
๓๓.
ผู้เพ่งความสงบพึงละโลกามิสเสีย คำว่า โลกามิส คืออะไร ?
ก.
กามกิเลส
ข.
กามคุณ
ค.
กามราคะ
ง.
กามฉันทะ
๓๔.
ข้อปฏิบัติเป็นทางไปสู่พระนิพพาน ตรงกับข้อใด ?
ก.
วิมุตติ
ข.
มรรค
ค.
นิพพิทา
ง.
วิราคะ
๓๕.
ผู้ไม่ประมาทและเห็นภัยในความประมาท จัดเป็นคนเช่นไร ?
ก.
รู้จักพระนิพพาน
ข.
ใกล้พระนิพพาน
ค.
เข้าสู่พระนิพพาน
ง.
ถึงพระนิพพาน
๓๖.
ข้อใด กล่าวถึงสอุปาทิเสสนิพพานได้ถูกต้อง ?
ก.
สิ้นชีวิตมีกิเลสอยู่
ข.
สิ้นชีวิตสิ้นกิเลส
ค.
สิ้นกิเลสมีชีวิตอยู่
ง.
สิ้นกิเลสสิ้นตัณหา
๓๗.
เพราะละอะไรได้ ท่านจึงกล่าวว่านิพพาน ?
ก.
ความโกรธ
ข.
ความหลง
ค.
นิวรณ์
ง.
ตัณหา
๓๘.
อุปมาว่า ไฟสิ้นเชื้อแล้วย่อมดับไปเอง กล่าวถึงเรื่องใด ?
ก.
ฌาน
ข.
สมาบัติ
ค.
อภิญญา
ง.
นิพพาน
๓๙.
สมถกัมมัฏฐาน ตรงกับข้อใด ?
ก.
การรู้แจ้งเห็นจริง
ข.
การกำจัดกิเลส
ค.
การทำใจให้สงบ
ง.
การละสังโยชน์
๔๐.
บุคคลเช่นไร เจริญกัมมัฏฐานได้ผลดี ?
ก.
มีความกังวล
ข.
มีความฟุ้งซ่าน
ค.
มีความเบื่อหน่าย
ง.
มีสติสัมปชัญญะ
๔๑.
การเจริญสมถกัมมัฏฐาน เพื่อจุดประสงค์ใด ?
ก.
สงบจากนิวรณ์
ข.
เห็นแจ้งกองสังขาร
ค.
เห็นแจ้งไตรลักษณ์
ง.
หลุดพ้นจากกิเลส
๔๒.
ประโยชน์ของการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน คือข้อใด ?
ก.
เพื่อรู้แจ้งเห็นจริง
ข.
เพื่อคลายกำหนัด
ค.
เพื่อให้เกิดเมตตา
ง.
เพื่อกำจัดความโกรธ
๔๓.
คนโทสจริต มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
เชื่อง่าย
ข.
โมโหง่าย
ค.
รักง่าย
ง.
หลงง่าย
๔๔.
คนมักโกรธ ควรแก้ด้วยการเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
กายคตาสติ
ข.
อสุภกัมมัฏฐาน
ค.
เมตตาพรหมวิหาร
ง.
กสิณ
๔๕.
การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อจุดประสงค์ใด ?
ก.
สงบกาย
ข.
สงบวาจา
ค.
สงบใจ
ง.
รู้แจ้งเห็นจริง
๔๖.
คำว่า วิปัสสนา มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
เห็นแจ้งรูปนาม
ข.
เห็นแจ้งอวิชชา
ค.
เห็นแจ้งสังขาร
ง.
เห็นแจ้งพระนิพพาน
๔๗.
ข้อใด เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ?
ก.
พรหมวิหาร
ข.
กสิณ
ค.
อสุภะ
ง.
รูปนาม
๔๘.
ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ควรทำกิจใดก่อน ?
ก.
ทำจิตให้เป็นสมาธิ
ข.
ชำระศีลให้บริสุทธิ์
ค.
ชำระจิตใจบริสุทธิ์
ง.
ทำความเห็นให้ตรง
๔๙.
พิจารณากายอย่างไร จึงจัดเป็นวิปัสสนา ?
ก.
ปฏิกูลน่าเกลียด
ข.
ไม่งามน่ารังเกียจ
ค.
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด
ง.
ไม่เที่ยงต้องแตกสลาย
๕๐.
กัมมัฏฐานเบื้องต้นที่พระอุปัชฌาย์สอนนาคผู้ขอบวช คือข้อใด ?
ก.
ศีล สมาธิ ปัญญา
ข.
ทาน ศีล ภาวนา
ค.
ผม ขน เล็บ ฟัง หนัง
ง.
ปฐวี อาโป เตโช วาโย
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๕. หน้า ๒๗๓-๒๘๓.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐