ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. ความหน่ายในทุกข์ ตรงกับข้อใด ?
  ก. วิราคะ ข. นิพพิทา
  ค. วิมุตติ ง. วิสุทธิ
 
๒. สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ คำว่าโลกหมายถึงอะไร ?
  ก. หมู่สัตว์ ข. แผ่นดิน
  ค. น้ำ ง. อากาศ
 
๓. คนเขลา ในคำว่า พวกคนเขลาหมกอยู่หมายถึงใคร ?
  ก. คนเห็นผิด ข. คนดื้อ
  ค. คนเสียสติ ง. คนไร้ความสามารถ
 
๔. ผู้รู้ในคำว่า ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่หมายถึงรู้อะไร ?
  ก. ข่าวสาร ข. สถานการณ์
  ค. จักรวาล ง. โลกตามเป็นจริง
 
๕. ผู้ใดระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร คำว่ามารได้แก่อะไร ?
  ก. กิเลสกาม ข. วัตถุกาม
  ค. รูปเสียง ง. กลิ่นรส
 
๖. วัตถุกาม ได้ชื่อว่าเป็นบ่วงแห่งมารเพราะเหตุใด ?
  ก. ผูกใจให้หลงติด ข. ให้ร้อนใจ
  ค. ให้หมองใจ ง. ให้เศร้าใจ
 
๗. ปฏิบัติอย่างไร จึงจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร ?
  ก. ให้ทาน ข. รักษาศีล
  ค. ฟังธรรม ง. สำรวมจิต
 
๘. อารมณ์ที่มากระทบทางกาย เรียกว่าอะไร ?
  ก. รูป ข. เสียง
  ค. รส ง. โผฏฐัพพะ
 
๙. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเรียกว่าอะไร ?
  ก. อินทรีย์ ๕ ข. กามคุณ ๕
  ค. ขันธ์ ๕ ง. พละ ๕
 
๑๐. ความเกิดขึ้นในเบื้องต้นและดับไปในที่สุดเป็นลักษณะของอะไร ?
  ก. อนิจจตา ข. ทุกขตา
  ค. อนัตตตา ง. สุญญตา
 
๑๑. ความทนได้ยาก เป็นลักษณะของอะไร ?
  ก. อนิจจตา ข. ทุกขตา
  ค. อนัตตตา ง. สุญญตา
 
๑๒. ความเกิดแก่ตาย จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
  ก. สภาวทุกข์ ข. ปกิณณกทุกข์
  ค. นิพัทธทุกข์ ง. พยาธิทุกข์
 
๑๓. หิวข้าวหิวน้ำ จัดเป็นทุกข์อะไร ?
  ก. นิพัทธทุกข์ ข. พยาธิทุกข์
  ค. สันตาปทุกข์ ง. วิปากทุกข์
 
๑๔. กระวนกระวายใจเพราะถูกไฟกิเลสแผดเผา จัดเป็นทุกข์อะไร ?
  ก. นิพัทธทุกข์ ข. พยาธิทุกข์
  ค. สันตาปทุกข์ ง. วิปากทุกข์
 
๑๕. ข้อใด จัดเป็นสหคตทุกข์ ?
  ก. ถูกจองจำ ข. หิวกระหาย
  ค. เสื่อมยศ ง. เจ็บป่วย
 
๑๖. การสู้คดีความเพราะทะเลาะกัน จัดเข้าในทุกข์ใด ?
  ก. สันตาปทุกข์ ข. วิปากทุกข์
  ค. สหคตทุกข์ ง. วิวาทมูลกทุกข์
 
๑๗. ความไม่อยู่ในอำนาจ เป็นอาการของอะไร ?
  ก. อนิจจตา ข. ทุกขตา
  ค. อนัตตตา ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๘. ความหน่ายในขันธ์ ๕ ที่เกิดด้วยปัญญาจัดเป็นอะไร ?
  ก. นิพพิทาญาณ ข. วิราคะ
  ค. วิมุตติ ง. วิสุทธิ
 
๑๙. ธรรมเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง ได้แก่ข้อใด ?
  ก. วิราคะ ข. วิมุตติ
  ค. วิสุทธิ ง. สันติ
 
๒๐. ความนำเสียซึ่งความระหาย ตรงกับไวพจน์ของวิราคะข้อใด ?
  ก. มทนิมมทโน ข. ปิปาสวินโย
  ค. วัฏฏูปัจเฉโท ง. ตัณหักขโย
 
๒๑. การตัดขาดกิเลสกรรมวิบากตรงกับไวพจน์ของวิราคะข้อใด ?
  ก. มทนิมมทโน ข. ปิปาสวินโย
  ค. อาลยสมุคฆาโต ง. วัฏฺฏูปัจเฉโท
 
๒๒. การอ้อนวอนบวงสรวง สงเคราะห์เข้าในอาสวะใด ?
  ก. กามาสวะ ข. ภวาสวะ
  ค. ทิฏฐาสวะ ง. อวิชชาสวะ
 
๒๓. การระงับอกุศลเจตสิกได้เป็นครั้งคราว จัดเป็นวิมุตติใด ?
  ก. ตทังควิมุตติ ข. สมุจเฉทวิมุตติ
  ค. วิกขัมภนวิมุตติ ง. นิสสรณวิมุตติ
 
๒๔. ความหลุดพ้นเพราะข่มไว้ด้วยกำลังฌาน จัดเป็นวิมุตติใด ?
  ก. ตทังควิมุตติ ข. สมุจเฉทวิมุตติ
  ค. วิกขัมภนวิมุตติ ง. นิสสรณวิมุตติ
 
๒๕. ความหลุดพ้นดว้ยความสงบราบ จัดเป็นวิมุตติใด ?
  ก. ตทังควิมุตติ ข. สมุจเฉทวิมุตติ
  ค. วิกขัมภนวิมุตติ ง. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
 
๒๖. ความบริสุทธ์ิหมดจดจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ย่อมมีได้ด้วยอะไร ?
  ก. ทาน ข. ศีล
  ค. สมาธิ ง. ปัญญา
 
๒๗. สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ ข. บุญบาปไม่มี
  ค. เทพบันดาล ง. พรหมลิขิต
 
๒๘. พิจารณาเห็นสังขารว่าไม่เที่ยง จัดเป็นญาณใด ?
  ก. อุทยัพพยญาณ ข. ภังคญาณ
  ค. อาทีนวญาณ ง. นิพพิทาญาณ
 
๒๙. พิจารณาเห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นภังคญาณ ?
  ก. เห็นว่าไม่เที่ยง ข. เห็นว่าย่อยยับ
  ค. เห็นว่าเกิดดับ ง. เห็นว่าน่ากลัว
 
๓๐. พิจารณาเห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นอาทีนวญาณ ?
  ก. เห็นว่าเป็นทุกข์ ข. เห็นว่าย่อยยับ
  ค. เห็นว่าเกิดดับ ง. เห็นว่าน่ากลัว
 
๓๑. สัมมาสติ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ จัดเข้าในวิสุทธิใด ?
  ก. สีลวิสุทธิ ข. จิตตวิสุทธิ
  ค. ทิฏฐิวิสุทธิ ง. ญาณทัสสนวิสุทธิ
 
๓๒. เห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วจัดเข้าในอริยมรรคข้อใด ?
  ก. สัมมาทิฏฐิ ข. สัมมาสังกัปปะ
  ค. สัมมาสติ ง. สัมมาสมาธิ
 
๓๓. ทาง ในคำว่า จงพูนทางแห่งสันติ หมายถึงอะไร ?
  ก. ทวาร ๓ ข. วิชชา ๓
  ค. สุจริต ๓ ง. กุศลมูล ๓
 
๓๔. ผู้เพ่งความสงบพึงละโลกามิสเสีย โลกามิสได้แก่อะไร ?
  ก. กามคุณ ข. ตัณหา
  ค. กิเลสกาม ง. นิวรณ์
 
๓๕. ข้อใด เป็นวิธีปฏิบัติทำให้เกิดสันติภายใน ?
  ก. เว้นกายทุจริต ข. เว้นวจีทุจริต
  ค. เจริญภาวนา ง. รักษาศีล
 
๓๖. คำว่า พึงรีบรัดชำระทางไปนิพพาน อะไรจัดเป็นทาง ?
  ก. โพชฌงค์ ๗ ข. อริยทรัพย์ ๗
  ค. อริยมรรค ๘ ง. สมาบัติ ๘
 
๓๗. ข้อใด กล่าวถึงอนุปาทิเสสนิพพานได้ถูกต้อง ?
  ก. สิ้นกิเลส ข. สิ้นกิเลสสิ้นชีวิต
  ค. สิ้นกิเลสมีชีวิต ง. มีกิเลสมีชีวิต
 
๓๘. การทำจิตให้สงบจากนิวรณ์ตรงกับกัมมัฏฐานใด ?
  ก. สมถกัมมัฏฐาน ข. วิปัสสนา
  ค. กายานุปัสสนา ง. จิตตานุปัสสนา
 
๓๙. จิตที่เป็นสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว เป็นพื้นฐานของกัมมัฏฐานใด ?
  ก. วิปัสสนากัมมัฏฐาน ข. กสิณ
  ค. อสุภะ ง. กายคตาสติ
 
๔๐. การเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน เพื่อใช้แก้นิวรณ์ใด ?
  ก. กามฉันท์ ข. พยาบาท
  ค. ถีนมิทธะ ง. วิจิกิจฉา
 
๔๑. กายคตาสติกัมมัฏฐานมีอะไรเป็นอารมณ์ ?
  ก. ธาตุ ๔ ข. อาการ ๓๒
  ค. ซากศพ ง. ลมหายใจ
 
๔๒. คนคิดลังเลสงสัยตัดสินใจไม่ได้ควรเจริญกัมมัฏฐานใด ?
  ก. กายคตาสติ ข. พุทธานุสสติ
  ค. กสิณ ง. จตุธาตุววัตถาน
 
๔๓. คนคิดฟุ้งซ่านหงุดหงิดง่าย ควรเจริญกัมมัฏฐานใด ?
  ก. กายคตาสติ ข. เมตตา
  ค. พุทธานุสสติ ง. กสิณ
 
๔๔. ข้อใด เป็นลักษณะของคนโทสจริต ?
  ก. โกรธง่าย ข. หลงลืม
  ค. เจ้าระเบียบ ง. เชื่อง่าย
 
๔๕. คนโทสจริตควรเจริญกัมมัฏฐานใด ?
  ก. อสุภะ ข. อนุสสติ
  ค. พรหมวิหาร ง. มรณัสสติ
 
๔๖. ข้อใด เป็นลักษณะของคนโมหจริต ?
  ก. หลงลืมง่าย ข. เชื่อง่าย
  ค. ลังเลสงสัย ง. โกรธง่าย
 
๔๗. คำว่า วิปัสสนา มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. จิตสงบ ข. จิตแน่วแน่
  ค. จิตเป็นสมาธิ ง. ปัญญาเห็นแจ้ง
 
๔๘. การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อประโยชน์อะไร ?
  ก. สงบกาย ข. สงบใจ
  ค. ถอนความถือมั่น ง. ระงับนิวรณ์
 
๔๙. ความกำจัดโมหะ เป็นอะไรของวิปัสสนา ?
  ก. ลักษณะ ข. กิจ
  ค. ผล ง. เหตุ
 
๕๐. การเห็นสังขารตามความเป็นจริง เป็นอะไรของวิปัสสนา ?
  ก. ลักษณะ ข. กิจ
  ค. ผล ง. เหตุ
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๘. หน้า ๑๙๙-๒๐๘.
สำเนาข้อสอบจริง ปี ๒๕๕๘.
 
 

ข้อสอบสนามหลวง