ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาท (X) ลงในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. คำว่า  “จงมาดูโลกนี้”  พระองค์ตรัสไว้เพื่อพระประสงค์ใด ?
  ก. เพื่อให้เพลิดเพลิน ข. เพื่อมิให้หลงชม
  ค. เพื่อให้สลดใจ ง. เพื่อให้เห็นโลก
 
๒. คำว่า  “พวกคนเขลา”  หมายถึงบุคคลในข้อใด ?
  ก. คนอันธพาล ข. คนสมองไม่ดี
  ค. คนเสียสติ ง. คนผู้ไร้วิจารณญาณ
 
๓. คำว่า “พวกผู้รู้”  หมายถึงใคร ?
  ก. ผู้รู้โลกธรรม ข. ผู้รู้โลกตามเป็นจริง
  ค. ผู้รู้ค่าของความงาม ง. ผู้รู้ทันเหตุการณ์
 
๔. คำว่า “หาข้องอยู่ไม่”  มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ไม่พัวพันในสิ่งล่อใจ ข. ไม่เกี่ยวข้องกับใครๆ
  ค. ไม่ให้ความสนใจโลก ง. ไม่ปรารถนาเกิดในโลก
 
๕. ในเรื่องนิพพิทา อาการเช่นไร เรียกว่า สำรวมจิต ?
  ก. ปิดใจไม่รับอารมณ์ ข. ปิดตาหูไม่ดูไม่ฟัง
  ค. มนสิการกัมมัฏฐาน ง. ทำใจมิให้ขัดเคือง
 
๖. กิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ได้ชื่อว่า มาร
เพราะเหตุใด ?
  ก. เพราะเป็นเครื่องผูกใจ ข. เพราะเป็นคุณเศร้าหมอง
  ค. เพราะล่อใจให้หลงระเริง ง. เพราะล้างผลาญคุณ
ความดี
 
๗. วัตถุกามเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติดอยู่ เรียกว่าอะไร ?
  ก. ขันธมาร ข. บ่วงมาร
  ค. มาร ง. มัจจุมาร
 
๘. การพิจารณาสังขารในข้อใด ไม่ใช่ปฏิปทาแห่งนิพพิทา ?
  ก. ไม่เที่ยง ข. เป็นทุกข์
  ค. ไม่แย้งอัตตา ง. ไม่อยู่ในอำนาจ
 
๙. ความหน่ายในขันธ์ ๕ เกิดขึ้นด้วยปัญญา จัดเป็นญาณอะไร ?
  ก. ภังคญาณ ข. วิปากญาณ
  ค. อาทีนวญาณ ง. นิพพิทาญาณ
 
๑๐. เบญจขันธ์ที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปในระหว่าง เรียกอะไร ?
  ก. ทุกขลักษณะ ข. อนิจจลักษณะ
  ค. อนัตตลักษณะ ง. ชราลักษณะ
 
๑๑. เบญจขันธ์ที่ถูกเบียดเบียนบีบคั้นจากผัสสะต่างๆ เรียกอะไร ?
  ก. ทุกขลักษณะ ข. อนิจจลักษณะ
  ค. อนัตตลักษณะ ง. ชราลักษณะ
 
๑๒. ข้อใด ไม่จัดเป็นสังขารในเรื่องนิพพิทา ?
  ก. อารมณ์ ข. นิพพาน
  ค. ร่างกาย ง. วิญญาณ
 
๑๓. คำว่า “อนัตตา”  กล่าวหมายเอาข้อใด ?
  ก. ธรรมทั้งปวง ข. สังขารทั้งปวง
  ค. เวทนาทั้งปวง ง. ทุกข์ทั้งปวง
 
๑๔. นิพัทธทุกข์ ได้แก่ข้อใด ?
  ก. การเกิด ข. การแก่
  ค. ความหิว ง. การตาย
 
๑๕. อวัยวะของมนุษย์ไม่ทำหน้าที่ตามปกติ จนเกิดความทุกข์ขึ้น
จัดเป็นทุกข์ในข้อใด ?
  ก. สภาวทุกข์ ข. สันตาปทุกข์
  ค. วิปากทุกข์ ง. พยาธิทุกข์
 
๑๖. สภาวทุกข์ ได้แก่ข้อใด ?
  ก. ความหิว ข. การเกิด
  ค. ความเสียใจ ง. ถูกกิเลสเผาใจ
 
๑๗. ความทุกข์เพราะถูกไฟโทสะเผา จัดเป็นทุกข์ชนิดใด ?
  ก. นิพัทธทุกข์ ข. สหคตทุกข์
  ค. วิปากทุกข์ ง. สันตาปทุกข์
 
๑๘. ทุกขขันธ์ หรือทุกข์รวบยอด เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด ?
  ก. เสื่อมลาภ ข. ถูกลงโทษ
  ค. บริหารขันธ์ ง. การหากิน
 
๑๙. ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไร ?
  ก. นั่นว่างเปล่า ข. นั่นของเรา
  ค. นั่นเป็นเรา ง. นั่นตัวเรา
 
๒๐. เมื่อรู้ว่า “สังขารเป็นไปตามเหตุปัจจัย”  พึงปฏิบัติอย่างไร ?
  ก. มีสุขทุกเมื่อ ข. มีอคติทุกเมื่อ
  ค. มีสติทุกเมื่อ ง. วางเฉยทุกเมื่อ
 
๒๑. การเห็นสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์แล้วเบื่อหน่าย เรียกว่าอะไร ?
  ก. วิราคะ ข. นิพพิทา
  ค. วิมุตติ ง. นิพพาน
 
๒๒. ความหน่ายในสังขาร เป็นเหตุให้อะไรเกิดขึ้น ?
  ก. ความหลุดพ้น ข. ความท้อแท้
  ค. ความฟุ้งซ่าน ง. ความสิ้นกำหนัด
 
๒๓. ความติดพันห่วงใยในอารมณ์อันเป็นที่รัก เรียกว่าอะไร ?
  ก. ความเมา ข. ความระหาย
  ค. อาลัย ง. ตัณหา
 
๒๔. ความเวียนเกิดด้วยอำนาจกิเลส กรรม วิบาก เรียกว่าอะไร ?
  ก. วัฏฏะ ข. อาลัย
  ค. ตัณหา ง. วิบาก
 
๒๕. ข้อใด ไม่ใช่อารมณ์ยั่วยวนให้เกิดความเมา ในเรื่องวิราคะ ?
  ก. สุข ข. ทุกข์
  ค. บริวาร ง. ชีวิต
 
๒๖. การถือความศักดิ์สิทธิ์อันเนื่องมาจากเทพเจ้า มีการบวงสรวง
ขอพรจากพระอินทร์เป็นต้น สงเคราะห์เข้าในอาสวะข้อใด ?
  ก. กามาสวะ ข. ภวาสวะ
  ค. อวิชชาสวะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๗. วิกขัมภนวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งอะไร ?
  ก. ฌาน ข. ปัญญา
  ค. ญาณ ง. สัทธา
 
๒๘. ในเรื่องวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ภายใน ย่อมมีได้ด้วยอะไร ?
  ก. ศีล ข. สมาธิ
  ค. ปัญญา ง. ลอยบาป
 
๒๙. การพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค ละกิเลสได้เด็ดขาด
จัดเป็นผลของวิมุตติข้อใด ?
  ก. ตทังควิมุตติ ข. สมุจเฉทวิมุตติ
  ค. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ง. นิสสรณวิมุตติ
 
๓๐. พิจารณาเห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นอุทยัพพยญาณ ?
  ก. เห็นว่าไม่เที่ยง ข. เห็นว่าเป็นทุกข์
  ค. เห็นว่าเป็นอนัตตา ง. เห็นว่าว่างเปล่า
 
๓๑. พิจารณาเห็นสังขารอย่างไร จัดเป็นภยตูปัฏฐานญาณ ?
  ก. เห็นเป็นของหนัก ข. เห็นเป็นของย่อยยับ
  ค. เห็นความเกิดดับ ง. เห็นเป็นของน่ากลัว
 
๓๒. ข้อใด เป็นทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันประเสริฐที่สุด ?
  ก. อริยทรัพย์ ๗ ข. มรรคมีองค์ ๘
  ค. บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ง. โลกธรรม ๘
 
๓๓. การเลี้ยงชีพโดยงดเว้นทุจริตประกอบสุจริต จัดเป็นวิสุทธิใด ?
  ก. จิตตวิสุทธิ ข. ทิฏฐิวิสุทธิ
  ค. กังขาวิตรณวิสุทธิ ง. สีลวิสุทธิ
 
๓๔. ธรรมที่ส่งผลต่อกันโดยลำดับจนถึงนิพพาน เหมือนการเดิน
ทางด้วยรถ ๗ ผลัด ตรงกับข้อใด ?
  ก. วิสุทธิ ๗ ข. อริยทรัพย์ ๗
  ค. สัปปุริสธรรม ๗ ง. โพชฌงค์ ๗
 
๓๕. ผู้มีความสงบในการทำ การพูด การคิด เว้นจากการทำร้ายกัน
ชื่อว่ามีธรรมใดอยู่ภายใน ?
  ก. วิสุทธิ ข. วิมุตติ
  ค. สันติ ง. วิราคะ
 
๓๖. กามคุณ ๕ มีรูปเป็นต้น ได้ชื่อว่าโลกามิส เพราะเหตุใด ?
  ก. เพราะเป็นสิ่งน่าปรารถนา ข. เพราะเป็นเหยื่อตกปลา
  ค. เพราะทำให้เกิดในโลกนี้ ง. เพราะล่อใจให้ติดในโลก
 
๓๗. คนที่ไม่ประมาทและเห็นภัยในความประมาท จัดเป็นคน
เช่นไร ?
  ก. รู้จักพระนิพพาน ข. ใกล้พระนิพพาน
  ค. เข้าสู่พระนิพพาน ง. ถึงพระนิพพาน
 
๓๘. พระดำรัสว่า “ภิกษุเธอจงวิดเรือนี้”  เรือในที่นี้ คืออะไร ?
  ก. อัตภาพ ข. กามภพ
  ค. รูปภพ ง. อรูปภพ
 
๓๙. ข้อว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีในนิพพานนั้น ส่องความว่าอะไร ?
  ก. นิพพานเป็นโลกหนึ่ง ข. นิพพานเป็นนามขันธ์
  ค. นิพพานมิใช่รูปขันธ์ ง. นิพพานมิใช่เบญจขันธ์
 
๔๐. ท่านสอนตจปัญจกกัมมัฏฐานก่อนกัมมัฏฐานอื่น เพื่ออะไร ?
  ก. เพื่อต่อสู้กับกามฉันท์ ข. เพื่อมิให้ง่วงนอน
  ค. เพื่อปฏิบัติได้สะดวก ง. เพื่อให้บรรลุฌาน
 
๔๑. กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ หากปล่อยใจให้หลงระเริง
ไม่ฝึกอบรมจิต เป็นเหตุเสียหายอย่างไร ?
  ก. ชักจูงให้ประพฤติชั่ว
ทางกาย
ข. ชักจูงให้ประพฤติชั่ว
ทางวาจา
  ค. ชักจูงให้อยู่ในความ
ประมาท
ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๒. พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยอาการอย่างไร จึงจัดเป็น
กายคตาสติ ?
  ก. โดยเป็นของปฏิกูล ข. โดยเป็นของน่ารักษา
  ค. โดยเป็นของงดงาม ง. โดยเป็นของมีสีน่ารัก
 
๔๓. ผู้เจริญเมตตาพึงน้อมนึกถึงคนที่ตนไม่ชอบ ด้วยอาการ
อย่างไร จึงจะหายเกลียดชัง ?
  ก. อย่านึกถึงเขาเลยดีกว่า ข. อย่าคบค้าสมาคมด้วย
  ค. นึกถึงความดีที่เขามีอยู่ ง. หลีกหนีเสียให้ห่างไกล
 
๔๔. ผู้เจริญเมตตา เมื่อจะแผ่โดยเจาะจง พึงน้อมใจนึกถึงใครก่อน ?
  ก. บิดา มารดา ข. ครู อาจารย์
  ค. สามี ภรรยา ง. บุตร ธิดา
 
๔๕. ผู้เจริญกรุณา พึงกำหนดสัตว์ชนิดใดเป็นอารมณ์ ?
  ก. สัตว์เลี้ยง ข. สัตว์บาดเจ็บ
  ค. สัตว์น่ารัก ง. สัตว์ทุกจำพวก
 
๔๖. ผู้เจริญกรุณาอยู่เนืองๆ ย่อมกำจัดอะไรได้ ?
  ก. พยาบาท ข. อภิชฌา
  ค. กามราคะ ง. วิหิงสา
 
๔๗. การบริกรรมนึกว่า “สัตว์ทั้งหลาย จงอย่าเสื่อมวิบัติไปจากสุข
สมบัติที่ตนได้แล้วเลย
”  เป็นลักษณะแห่งพรหมวิหารข้อใด ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๔๘. ผู้เจริญพุทธานุสสติ ควรระลึกถึงอะไร ?
  ก. ประวัติของพระพุทธเจ้า ข. คำสอนของพระพุทธเจ้า
  ค. พระรูปของพระพุทธเจ้า ง. พระคุณของพระพุทธเจ้า
 
๔๙. ข้อใด ไม่ใช่หัวข้อของสติปัฏฐาน ๔ ?
  ก. กาย ข. สัญญา
  ค. จิต ง. ธรรม
 
๕๐. ผู้เจริญกัมมัฏฐานไม่ได้ผลตามที่ต้องการ เพราะสาเหตุใด ?
  ก. มีเรื่องกังวลใจ ข. มีทรัพย์สมบัติมาก
  ค. ไม่อยู่ในป่าช้า ง. เป็นคนเจ้าอารมณ์
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๗. หน้า ๑๘๑-๑๘๙.
         

ข้อสอบสนามหลวง