ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาท (X) ลงในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พระพุทธเจ้าทรงเชิญชวนให้มาดูโลก เพื่อประโยชน์อะไร ?
ก.
เพื่อคลายเครียด
ข.
เพื่อคลายทุกข์
ค.
เพื่อให้รู้ความจริง
ง.
เพื่อเพลิดเพลิน
๒.
คำว่า โลก ในส่วนปรมัตถปฏิปทา หมายถึงอะไร ?
ก.
แผ่นดินน้ำอากาศ
ข.
แผ่นดินและหมู่สัตว์
ค.
แผ่นดินที่อยู่อาศัย
ง.
หมู่สัตว์ผู้อยู่อาศัย
๓.
คำว่า คนเขลา หมายถึงคนเช่นไร ?
ก.
คนดื้อรั้น
ข.
คนมีความเห็นผิด
ค.
คนขาดสติ
ง.
คนไม่มีการศึกษา
๔.
คำว่า ผู้รู้ หมายถึงใคร ?
ก.
ผู้รู้ทันโลก
ข.
ผู้รู้โลกตามเป็นจริง
ค.
ผู้รู้โลกธรรม
ง.
ผู้รู้คดีโลกคดีธรรม
๕.
คำว่า ข้องอยู่ในโลก ได้แก่อาการเช่นไร ?
ก.
พัวพันอยู่ในสิ่งอันล่อใจ
ข.
มัวเมาในสิ่งที่อำนวยสุข
ค.
เพลิดเพลินในสิ่งให้โทษ
ง.
ถูกทุกข้อ
๖.
โทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน เรียกว่าอะไร ?
ก.
มาร
ข.
บ่วงมาร
ค.
เสนามาร
ง.
มัจจุมาร
๗.
คนเช่นไร สงเคราะห์เข้าในคำว่า มาร ?
ก.
คนเป็นศัตรูกัน
ข.
คนอันธพาล
ค.
คนขัดขวางการทำดี
ง.
คนหลอกลวง
๘.
คำว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงข้อใด ?
ก.
กิเลสกาม
ข.
วัตถุกาม
ค.
กามฉันท์
ง.
กามตัณหา
๙.
ทำอย่างไร จึงจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร ?
ก.
สำรวมอินทรีย์
ข.
มนสิการกัมมัฏฐาน
ค.
เจริญวิปัสสนา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๐.
เบื่อหน่ายอะไร จัดเป็นนิพพิทา ?
ก.
เบื่อหน่ายสังขาร
ข.
เบื่อหน่ายการงาน
ค.
เบื่อหน่ายการเรียน
ง.
เบื่อหน่ายสังคม
๑๑.
คนและสัตว์ จัดเป็นสังขารประเภทใด ?
ก.
วิสังขาร
ข.
ปุญญาภิสังขาร
ค.
อุปาทินนกสังขาร
ง.
อนุปาทินนกสังขาร
๑๒.
ความขาดแห่งสันตติ ทำให้เห็นอะไร ?
ก.
ความไม่เที่ยง
ข.
ความทุกข์
ค.
ความแก่
ง.
ความตาย
๑๓.
อนิจจลักษณะ ไม่ปรากฏในข้อใด ?
ก.
ร่างกาย
ข.
จิตใจ
ค.
ต้นไม้
ง.
นิพพาน
๑๔.
อนิจจตา มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
เกิดแล้วเสื่อมไป
ข.
ทนอยู่ไม่ได้
ค.
ไม่อยู่ในอำนาจ
ง.
หาเจ้าของมิได้
๑๕.
เกิด แก่ ตาย จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
ปกิณณกทุกข์
ค.
นิพัทธทุกข์
ง.
พยาธิทุกข์
๑๖.
มองไม่เห็นทุกข์ เพราะมีอะไรปิดบังไว้ ?
ก.
สันตติ
ข.
อิริยาบถ
ค.
ฆนสัญญา
ง.
สุขเวทนา
๑๗.
ปกิณณกทุกข์ ได้แก่ข้อใด ?
ก.
เศร้าโศกเสียใจ
ข.
หนาวร้อน
ค.
เจ็บไข้ได้ป่วย
ง.
หิวกระหาย
๑๘.
ข้อใด จัดเป็นนิพัทธทุกข์ ?
ก.
เสียใจ
ข.
เจ็บป่วย
ค.
เกิด แก่ ตาย
ง.
หนาวร้อน
๑๙.
ลาภ ยศ สรรเสริญ จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
ก.
สภาวทุกข์
ข.
ปกิณณกทุกข์
ค.
นิพัทธทุกข์
ง.
สหคตทุกข์
๒๐.
ความไม่อยู่ในอำนาจ จัดเป็นอาการของอะไร ?
ก.
อนิจจตา
ข.
ทุกขตา
ค.
อนัตตตา
ง.
สามัญญตา
๒๑.
ทุกสิ่งมีสภาพสูญ หมายถึงข้อใด ?
ก.
ควบคุมไม่ได้
ข.
ค้นหาไม่พบ
ค.
ไม่เที่ยงแท้
ง.
มีความแปรปรวน
๒๒.
ข้อใด เป็นความหมายของวิราคะ ?
ก.
สิ้นอาลัย
ข.
สิ้นกำหนัด
ค.
สิ้นวัฏฏะ
ง.
สิ้นตัณหา
๒๓.
วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้นั้น คือข่มอะไร ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
นิวรณ์
ง.
ตัณหา
๒๔.
การหลุดพ้นด้วยวิธีใด เรียกว่าปัญญาวิมุตติ ?
ก.
เจริญสมถะอย่างเดียว
ข.
เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว
ค.
เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๕.
วิสุทธิ ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ในพระพุทธศาสนากล่าว
เรื่องนี้ไว้อย่างไร ?
ก.
สัตว์บริสุทธิ์ได้ด้วยลอยบาป
ข.
สัตว์บริสุทธิ์ได้ด้วยชำระบาป
ค.
สัตว์บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
ง.
สัตว์บริสุทธิ์ได้ด้วยเทพเจ้า
๒๖.
ข้อใด ไม่จัดเข้าในสีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล ?
ก.
สัมมาวาจา
ข.
สัมมากัมมันตะ
ค.
สัมมาอาชีวะ
ง.
สัมมาสมาธิ
๒๗.
วิสุทธิ เป็นจุดหมายปลายทางของอะไร ?
ก.
นิพพิทา
ข.
วิราคะ
ค.
นิพพาน
ง.
วิมุตติ
๒๘.
ข้อใด เป็นทางแห่งสันติภาพแท้ ?
ก.
ทำตามกฎหมาย
ข.
เชื่อฟังผู้ใหญ่
ค.
เคารพสิทธิผู้อื่น
ง.
มีกายวาจาใจสงบ
๒๙.
ผู้เพ่งความสงบพึงละโลกามิส คำว่า โลกามิส คืออะไร ?
ก.
กามคุณ
ข.
กามฉันท์
ค.
กามกิเลส
ง.
กามราคะ
๓๐.
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าใกล้พระนิพพาน ?
ก.
ฝึกสมาธิเป็นนิตย์
ข.
เห็นภัยในความประมาท
ค.
ฟังธรรมสม่ำเสมอ
ง.
รักษาศีลเป็นประจำ
๓๑.
อุปมาว่า ไฟสิ้นเชื้อแล้วย่อมดับไปเอง กล่าวถึงเรื่องใด ?
ก.
ฌาน
ข.
สมาบัติ
ค.
อภิญญา
ง.
นิพพาน
๓๒.
ข้อใด กล่าวถึงสอุปาทิเสสนิพพานได้ถูกต้อง ?
ก.
ปฏิบัติเพื่อละกิเลส
ข.
สิ้นกิเลส มีชีวิตอยู่
ค.
สิ้นกิเลส สิ้นชีวิต
ง.
สิ้นชีวิต มีกิเลสอยู่
๓๓.
จิตที่เป็นสมาธิ มีลักษณะอย่างไร ?
ก.
มีอารมณ์เดียว
ข.
ปราศจากนิวรณ์
ค.
มีสมาธิตั้งมั่น
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๔.
กายคตาสติกัมมัฏฐาน กำหนดอะไรเป็นอารมณ์ ?
ก.
ผมขนเล็บฟันหนัง
ข.
ซากศพ
ค.
ลมหายใจ
ง.
ความตาย
๓๕.
ผู้เจริญกายคตาสติ ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ?
ก.
ไม่กลัวความตาย
ข.
มีผิวพรรณผ่องใส
ค.
มีจิตใจเบิกบาน
ง.
ไม่ยึดติดกายตนคนอื่น
๓๖.
กายคตาสติ เป็นคู่ปรับนิวรณ์ใด ?
ก.
กามฉันท์
ข.
พยาบาท
ค.
ถีนมิทธะ
ง.
วิจิกิจฉา
๓๗.
ผู้เจริญเมตตา พึงแผ่ไปในใครก่อน ?
ก.
ตนเอง
ข.
บิดามารดา
ค.
คนทั่วไป
ง.
คนเป็นศัตรู
๓๘.
ผู้เจริญพุทธานุสสติ ควรระลึกถึงอะไร ?
ก.
พุทธประวัติ
ข.
พุทธโอวาท
ค.
พระพุทธรูป
ง.
พระพุทธคุณ
๓๙.
การเจริญกสิณ เพื่อข่มนิวรณ์ใด ?
ก.
พยาบาท
ข.
วิจิกิจฉา
ค.
อุทธัจจกุกกุจจะ
ง.
ถีนมิทธะ
๔๐.
การกำหนดรูปกายโดยความเป็นธาตุ ๔ หมายถึงข้อใด ?
ก.
จตุธาตุววัตถาน
ข.
อสุภกัมมัฏฐาน
ค.
กายคตาสติ
ง.
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
๔๑.
ประโยชน์ของการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน คือข้อใด ?
ก.
คลายสงสัย
ข.
คลายกำหนัด
ค.
ตัดกิเลส
ง.
ให้เกิดเมตตา
๔๒.
การเจริญมรณสติ มีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ทำให้ไม่ประมาท
ข.
ทำให้กล้าหาญ
ค.
ทำให้อดทน
ง.
ทำให้วางเฉย
๔๓.
คนโทสจริต มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
เจ้าระเบียบ
ข.
โกรธง่าย
ค.
เชื่อคนง่าย
ง.
ลืมง่าย
๔๔.
คนโทสจริต ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
เมตตา
ข.
จาคานุสสติ
ค.
อสุภะ
ง.
มรณานุสสติ
๔๕.
คนมีสติไม่มั่นคง หลงๆ ลืมๆ ตรงกับจริตใด ?
ก.
วิตักกจริต
ข.
พุทธิจริต
ค.
โมหจริต
ง.
สัทธาจริต
๔๖.
คนมีสติไม่มั่นคง ควรแก้ด้วยวิธีใด ?
ก.
พิจารณาความตาย
ข.
กำหนดลมหายใจ
ค.
พิจารณาอสุภะ
ง.
กำหนดธาตุ ๔
๔๗.
การแสดงธรรมโปรดสัตว์ จัดเป็นพุทธคุณข้อใด ?
ก.
พระปัญญาคุณ
ข.
พระวิสุทธิคุณ
ค.
พระกรุณาคุณ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๘.
จตุธาตุววัตถาน ท่านให้กำหนดพิจารณากายให้เห็นว่า... ?
ก.
เป็นเพียงสมมติว่าธาตุ ๔
ข.
เป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมกัน
ค.
ธาตุ ๔ เป็นนิพพานบัญญัติ
ง.
ธาตุ ๔ เป็นปรมัตถบัญญัติ
๔๙.
บุคคลเช่นไร เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานไม่ได้ผล ?
ก.
มีจิตฟุ้งซ่าน
ข.
มีศีลไม่บริสุทธิ์
ค.
ไม่รู้วิปัสสนาภูมิ
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
ประโยชน์สูงสุดของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คืออะไร ?
ก.
พ้นจากสังสารทุกข์
ข.
ระงับนิวรณ์
ค.
กำจัดความสงสัย
ง.
พ้นจากอบาย
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๐. หน้า ๒๑๓-๒๒๒.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐