ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลง ● ในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. คำว่า สูทั้งหลาย หมายถึงใคร ?
  ก. พุทธบริษัท ข. สัตว์โลก
  ค. คฤหัสถ์ ง. ภิกษุสงฆ์
 
๒. คำว่า คนเขลา หมายถึงใคร ?
  ก. คนไร้การศึกษา ข. คนไร้จรรยา
  ค. คนไร้มารยาท ง. คนไร้พิจารณ์
 
๓. คำว่า หมกอยู่ หมายถึงอาการเช่นใด ?
  ก. ติดในสิ่งล่อใจ ข. เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ
  ค. หลงในสิ่งอันอาจให้โทษ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔. คำว่า หาข้องอยู่ไม่ มีความหมายตรงกับอะไร ?
  ก. ไม่พัวพันในสิ่งล่อใจ ข. ไม่ปรารถนาเกิดในโลก
  ค. ไม่สนใจโลก ง. ไม่เกี่ยวข้องกับใคร
 
๕. พระพุทธเจ้า ทรงชักชวนให้พุทธบริษัทดูโลกอย่างไร ?
  ก. ดูให้เห็นคุณและโทษ ข. ดูให้เพลิดเพลิน
  ค. ดูให้สวยงาม ง. ดูให้ตระการตา
 
๖. อาการสำรวมจิตตามหลักนิพพิทา คือข้อใด ?
  ก. สำรวมอินทรีย์ ข. ปิดใจไม่รับอารมณ์
  ค. ปิดตาหูไม่ดูไม่ฟัง ง. ทำใจมิให้หลงใหล
 
๗. กิเลสกามได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุใด ?
  ก. ทำให้เศร้าหมอง ข. ทำให้หลงระเริง
  ค. เป็นเครื่องจูงใจ ง. ล้างผลาญคุณความดี
 
๘. วัตถุกามจัดเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะเหตุใด ?
  ก. เพราะทำจิตให้เศร้าหมอง ข. เพราะทำจิตให้เข้มแข็ง
  ค. เพราะทำจิตให้อ่อนแอ ง. เพราะทำจิตให้ลุ่มหลง
 
๙. เห็นสังขารว่าไม่เที่ยงแล้วเกิดความเบื่อหน่าย จัดเป็นอะไร ?
  ก. ทิฏฐิวิปัลลาส ข. สมถกัมมัฏฐาน
  ค. นิพพิทา ง. วิราคะ
 
๑๐. สังขารทั้งปวงล้วนตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใด ?
  ก. ไตรลักษณ์ ข. ไตรสิกขา
  ค. ไตรทวาร ง. ไตรรัตน์
 
๑๑. อนิจจลักษณะกำหนดรู้ได้อย่างไร ?
  ก. ตั้งอยู่ได้นาน ข. ตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ
  ค. ตั้งอยู่ในสภาพเดิม ง. ตั้งอยู่ในอำนาจ
 
๑๒. คนมองไม่เห็นอนิจจลักษณะของสังขาร เพราะอะไรปิดบังไว้ ?
  ก. ความสุข ข. ความทุกข์
  ค. ความสืบต่อ ง. โลกธรรม
 
๑๓. ทุกขตา หมายถึงอะไร ?
  ก. ความหน่ายในสังขาร ข. ความทนได้ยาก
  ค. ความทนอยู่ไม่ได้ ง. ความไม่อยู่ในอำนาจ
 
๑๔. พยาธิทุกข์ คือข้อใด ?
  ก. ความเจ็บไข้ ข. ความเศร้าโศก
  ค. ความคับแค้นใจ ง. ความหิวกระหาย
 
๑๕. ทุกข์เพราะผลกรรม จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
  ก. สภาวทุกข์ ข. ปกิณณกทุกข์
  ค. สันตาปทุกข์ ง. วิปากทุกข์
 
๑๖. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือข้อใด ?
  ก. ทุกข์เพราะเจ็บไข้ ข. ทุกข์เพราะหิวกระหาย
  ค. ทุกข์เพราะหาเลี้ยงชีวิต ง. ทุกข์เพราะทะเลาะวิวาท
 
๑๗. ถูกปลดจากตำแหน่ง จัดเป็นทุกข์ประเภทใด ?
  ก. สันตาปทุกข์ ข. วิปากทุกข์
  ค. สหคตทุกข์ ง. วิวาทมูลกทุกข์
 
๑๘. ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไร ?
  ก. เป็นสภาพว่างเปล่า ข. เป็นของๆ เรา
  ค. เป็นตัวของเรา ง. เป็นกลุ่มก้อน
 
๑๙. เพราะอะไรปิดบังไว้ จึงไม่เห็นสังขารเป็นอนัตตา ?
  ก. สันตติ ข. อิริยาบถ
  ค. ฆนสัญญา ง. อนิจจสัญญา
 
๒๐. ความเห็นสังขารเป็นอนัตตา มีประโยชน์อย่างไร ?
  ก. ละความเห็นแก่ตัว ข. ละความทุกข์
  ค. ละความกำหนัด ง. ละความถือมั่น
 
๒๑. การเห็นอนัตตาต้องมีอะไรกำกับ จึงจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
  ก. สติ สัมปชัญญะ ข. อนิจจสัญญา
  ค. โยนิโสมนสิการ ง. นิพพิทาญาณ
 
๒๒. เมื่อเกิดความหน่ายในสังขาร มีผลอย่างไร ?
  ก. ทำให้สงบ ข. ทำให้หลุดพ้น
  ค. ทำให้ท้อแท้ ง. ทำให้สิ้นกำหนัด
 
๒๓. ความติดพันห่วงใยในอารมณ์อันเป็นที่รัก เรียกว่าอะไร ?
  ก. ความอาลัย ข. ความอยาก
  ค. ความเมา ง. ความระหาย
 
๒๔. ข้อว่า ธรรมยังความเมาให้สร่าง นั้น ได้แก่เมาอะไร ?
  ก. เมาอายุ วัย ยศ ข. เมากิเลส ตัณหา ราคะ
  ค. เมาสุราเมรัย ง. เมาสิ่งเสพติดให้โทษ
 
๒๕. ข้อว่า นำเสียซึ่งความระหาย หมายความว่าอย่างไร ?
  ก. กำจัดความหิวได้ ข. กำจัดตัณหาเสียได้
  ค. กำจัดความยากจนได้ ง. กำจัดความทุกข์ร้อนได้
 
๒๖. เพราะสิ้นกำหนัดแล้ว จิตย่อมหลุดพ้นจากอะไร ?
  ก. ราคะ ข. ตัณหา
  ค. อาสวะ ง. อุปาทาน
 
๒๗. อวิชชาสวะ ได้แก่ข้อใด ?
  ก. ราคะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. โลภะ
 
๒๘. ถือความศักดิ์สิทธิ์ไหว้จิ้งจกสามหาง สงเคราะห์เข้าในอาสวะใด ?
  ก. กามาสวะ ข. ภวาสวะ
  ค. อวิชชาสวะ ง. ผลาสวะ
 
๒๙. จิตหลุดพ้นจากกามตัณหา ชื่อว่าหลุดพ้นจากอาสวะใด ?
  ก. กามาสวะ ข. ภวาสวะ
  ค. อวิชชาสวะ ง. ผลาสวะ
 
๓๐. วิสุทธิคือความหมดจด ใครบันดาลให้ได้ ?
  ก. พระเจ้า ข. เทพเจ้า
  ค. ตนเอง ง. โหราจารย์
 
๓๑. เล็งเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ จัดเป็นญาณอะไร ?
  ก. อุทยัพพยญาณ ข. ภังคญาณ
  ค. อาทีนวญาณ ง. นิพพิทาญาณ
 
๓๒. ข้อใด จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ ?
  ก. เจรจาชอบ ข. พยายามชอบ
  ค. การงานชอบ ง. เลี้ยงชีวิตชอบ
 
๓๓. ข้อใด จัดเป็นสีลวิสุทธิ ?
  ก. ดำริชอบ ข. พยายามชอบ
  ค. การงานชอบ ง. ระลึกชอบ
 
๓๔. ข้อใด จัดเป็นสัมมากัมมันตะ ?
  ก. ค้ามนุษย์ ข. ค้าประเวณี
  ค. ขายประกัน ง. ขายของมึนเมา
 
๓๕. ข้อใด จัดเป็นสันติภายใน ?
  ก. สงบกาย ข. สงบวาจา
  ค. สงบใจ ง. สงบสุข
 
๓๖. อะไรจัดเป็นโลกามิส ในเรื่องสันติ ?
  ก. ขันธ์ ๕ ข. กามคุณ ๕
  ค. กิเลสกาม ง. กามฉันทะ
 
๓๗. เมื่อหน่ายสังขาร ย่อมเกิดอะไรขึ้น ?
  ก. ไม่หลง ข. สิ้นกำหนัด
  ค. ไม่ฟุ้งซ่าน ง. สิ้นกิเลส
 
๓๘. นิพพาน แปลว่าอะไร ?
  ก. ดับ ข. ปฏิสนธิ
  ค. จุติ ง. อันตรธาน
 
๓๙. คำว่า มีลูกศรอันถอนแล้ว เป็นคุณบทของใคร ?
  ก. พระโสดาบัน ข. พระสกทาคามี
  ค. พระอนาคามี ง. พระอรหันต์
 
๔๐. คำว่า ดุจไฟสิ้นเชื่อแล้วย่อมดับไปเอง กล่าวถึงเรื่องใด ?
  ก. ฌาน ข. สมาบัติ
  ค. อภิญญา ง. นิพพาน
 
๔๑. ผู้เห็นภัยในความประมาท ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่ออะไร ?
  ก. สวรรค์ ข. พรหมโลก
  ค. นิพพาน ง. เทวโลก
 
๔๒. การบรรลุนิพพาน มีผลอย่างไร ?
  ก. เป็นสุขอย่างยิ่ง ข. รื่นรมย์อย่างยิ่ง
  ค. เพลิดเพลินอย่างยิ่ง ง. ยินดีอย่างยิ่ง
 
๔๓. ข้อใด เป็นความหมายของสมถกัมมัฏฐาน ?
  ก. วิธีทำให้รู้แจ้ง ข. วิธีตัดกิเลส
  ค. วิธีทำใจให้สงบ ง. วิธีกำจัดความมืด
 
๔๔. จิตที่เป็นสมาธิ มีลักษณะอย่างไร ?
  ก. มีอารมณ์เดียว ข. ปราศจากความรู้สึก
  ค. ปราศจากกิเลส ง. มีความเห็นแจ้ง
 
๔๕. ผู้เจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน ควรกำหนดอะไรเป็นอารมณ์ ?
  ก. ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ข. รูป เวทนา สัญญา สังขาร
  ค. กาย เวทนา จิต ธรรม ง. ดิน น้ำ ลม ไฟ
 
๔๖. เมตตากัมมัฏฐานเหมาะแก่ใคร ?
  ก. คนมักโกรธ ข. คนรักสวยรักงาม
  ค. คนมักสงสัย ง. คนมักง่วงนอน
 
๔๗. การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน เพื่อประโยชน์อย่างไร ?
  ก. ไม่หลงติด ข. ไม่มีเวรภัย
  ค. ไม่ทุจริต ง. มีความอดทน
 
๔๘. ปัญญาที่เห็นแจ้งชัดในอารมณ์ เรียกว่าอะไร ?
  ก. สมถะ ข. วิปัสสนูปกิเลส
  ค. วิปัสสนา ง. วิปัลลาส
 
๔๙. อะไรเป็นผลของการปฏิบัติวิปัสสนา ?
  ก. ความบริสุทธิ์แห่งจิต ข. ความบริสุทธิ์ของความเห็น
  ค. ความบริสุทธิ์ของปัญญา ง. ถูกทุกข้อ
 
๕๐. ประโยชน์สูงสุดของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คืออะไร ?
  ก. พ้นจากสังสารทุกข์ ข. กำจัดพยาบาท
  ค. กำจัดความสงสัย ง. กำจัดกามฉันทะ
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๔. หน้า ๒๘๐-๒๙๐.
         

ข้อสอบสนามหลวง