๑๘๓. อาทิ  สีลํ  ปติฏฺา  จ  กลฺยาณานญฺจ  มาตุกํ
  ปมุขํ  สพฺพธมฺมานํ  ตสฺมา  สีลํ  วิโสธเย.
  ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น   เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง  เพราะฉะนั้น  ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์.
  (สีลวเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.
     
๑๘๔. อวณฺณจ  อกิตฺติญฺจ ทุสฺสีโล  ลภเต   นโร 
  วณฺณํ  กิตฺตึ  ปสํสญฺจ  สทา  ลภติ  สีลวา.
  คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียนและความเสียชื่อเสียง  ส่วนผู้มี
ศีล  ย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ.
  (สีลวเถร) ขุ.  เถร. ๒๖/๓๕๗.
     
๑๘๕. อิเธว  กิตฺตึ  ลภติ  เปจฺจ  สคฺเค  จ  สุมโน
  สพฺพตฺถ  สุมโน  ธีโร  สีเลสุ  สุสมาหิโต.
  ผู้มีปรีชา  มั่งคงดีแล้วในศีล  ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้  ละไป
แล้ว  ย่อมดีใจในสวรรค์  ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง.
  (สีลวเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.
     
๑๘๖. อิเธว  นินฺทํ  ลภติ  เปจฺจาปาเย  จ  ทุมฺมโน
  สพฺพตฺถ  ทุมฺมโน  พาโล สีเลสุ  อสมาหิโต.
  คนเขลา  ไม่มั่นคงในศีล  ถูกติเตียนในโลกนี้  และละไปแล้ว
ย่อมเสียใจในอบาย  ชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง.
  (สีลวเถร)  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๘.
     
๑๘๗.
กาเยน  วาจาย  จ  โยธ  สญฺโต       
มนสา  จ  กิญฺจิ  น  กโรติ  ปาปํ 
น  อตฺตเหตุ  อลิกํ  ภณาติ
ตถาวิธํ   สีลวนฺตํ  วทนฺติ.
  ผู้ใดในโลกนี้  สำรวมทางกายวาจาและใจ  ไม่ทำบาปอะไร ๆ
และไม่พูดพล่อย  เพราะเหตุแห่งตน,  ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า
ผู้มีศีล.
  (สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ.  ชา. จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๐.
     
๑๘๘.
ตสฺมา  หิ  นารี  จ  นโร  สีลวา
อฏฺงฺคุเปตํ  อุปวสฺสุโปสถํ
ปุญฺานิ  กตาน  สุขุทฺริยานิ
อนินฺทิตา  สคฺคมุเปนฺติ  านํ.
  เพราะฉะนั้น  หญิงและชายผู้มีศีล  รักษาอุโบสถประกอบด้วย
องค์  ๘  ทำบุญอันมีสุขเป็นกำหร  จึงไม่ถูกติเตียน  ย่อมเข้าถึง
สถานสวรรค์.
  (พุทฺธ)  องฺ.  ติก.  ๒๐/๒๗๖.
     
๑๘๙.  น  เวทา  สมฺปรายาย  น  ชาติ  นปิ  พนฺธวา  
  สกญฺจ  สีลสํสุทธํ  สมฺปรายสุขาวหํ.
  เวทมนตร์  ชาติกำเนิด   พวกพ้อง  นำสุขมาให้ในสัมปรายภพ
ไม่ได้,  ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว  จึงนำสุขมาใน
สัมปรายภพได้.
  โพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  ปญฺจก.  ๒๗/๑๗๕.
     
๑๙๐. พหุสฺสุโตปิ  เจ  โหติ   สีเลสุ  สุสมาหิโต
  อุภเยน  นํ  ปสํสนฺติ  สีลโต  จ  สุเตน  จ.
  ถ้าเป็นพหุสูต  มั่นคงดีในศีล  บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาด้วยคุณ
๒  ประการ  คือด้วยศีลและด้วยสุตะ.
  (พุทฺธ)  องฺ.  จตุกฺก. ๒๑/๙.
     
๑๙๑. โย  จ  วสฺสสตํ  ชีเว  ทุสฺสีโล  อสมาหิโต
  เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย   สีลวนฺตสฺส  ฌายิโน.
  ผู้ไม่มีศีล  ไม่มั่นคง  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,  ส่วนผู้มีศีล
เพ่งพินิจ  มีชีวิตอยู่วันเดียว  ประเสริฐกว่า.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๙.
     
๑๙๒. สีลเมวิธ  สิกฺเขถ  อสฺมึ  โลเก  สุสิกฺขิตํ  
  สีลํ  หิ  สพฺพสมฺปตฺตึ  อุปนาเมติ  เสวิตํ. 
  พึงศึกษาศีลในโลกนี้  เพราะศีลที่ศึกษาดีแล้วเสพแล้วในโลกนี้
ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง.
  (สีลวเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.
     
๑๙๓. สีลํ  รกฺเขยฺย  เมธาวี  ปตฺถยาโน  ตโย  สุเข
  ปสํสํ  วิตฺติลาภญฺจ เปจฺจ  สคฺเค  ปโมทนํ.
  ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุข  ๓  อย่าง  คือ  ความสรรเสริญ
ความได้ทรัพย์  และความละไปบันเทิงในสวรรค์  ก็พึงรักษาศีล.
  (สีลวเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.
     
๑๙๔. สีลวา  หิ  พหู  มิตฺเต สญฺเมนาธิคจฺฉติ
  ทุสฺสีโล  ปน  มิตฺเตหิ ธํสเต  ปาปมาจรํ.
  ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมากด้วยความสำรวม  ส่วนผู้ไม่มีศีล 
ประพฤติชั่ว  ย่อมแตกจากมิตร.
  (สีลวเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๗.
     
                   

สีลวรรค คือ หมวดศีล
พุทธศาสนสุภาษิต