๔๙. อธมฺมํ  ปฏิปนฺนสฺส      โย  ธมฺมมนุสาสติ
  ตสฺส  เจ  วจนํ  กยิรา  น  โส  คจฺเฉยฺย  ทุคฺคตึ.
  ผู้ใดสอนธรรมแก่คนปฏิบัติไม่ถูก  ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น
จะไม่ไปสู่ทุคติ.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ชา  สฏฺี.  ๒๘/๓๙.
     
๕๐. อุปารมฺภจิตฺโต  ทุมฺเมโธ  สุณาติ  ชินสาสนํ
  อารกา  โหติ  สทฺธมฺมา  นภโส  ปวี  ยถา.
  ผู้มีปัญญาทราม  มีจิตใจกระด้าง  ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม    เหมือนดินกับฟ้า.
  (ยสทตฺตเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๒๓.
     
๕๑.  ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา  สุทฺทา  จณฺฑาลปุกฺกุสา
  อิธ  ธมฺมํ  จริตฺวาน   ภวนฺติ  ติทิเว  สมา.
  กษัตริย์  พราหมณ์  แพทย์  ศูทร  จัณฑาล  และคนงานชั้นต่ำ
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว  ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์
ชั้นไตรทิพย์.
    รอตรวจสอบที่มา
     
๕๒. ตณฺหาทุติโย  ปุริโส  ทีฆมทฺธาน  สํสรํ 
  อิตฺถมฺภาวญฺถาภาวํ  สํสารํ  นาติวตฺตติ. 
  คนมีตัณหาเป็นเพื่อน  ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน  ไม่ล่วงพ้นสงสาร
ที่กลับกลอกไปได้.
  (ปจฺเจกพุทฺธ)  ขุ.  จู.  ๓๐/๓๒๐.
     
๕๓.
นภญฺจ  ทูเร  เปวี  จ  ทูเร
ปารํ  สมุทฺทสฺส  ตทาหุ  ทูเร
ตโต  หเว  ทูรตรํ  วทนฺติ
สตญฺจ   ธมฺโม  อสตญฺจ  ราช.
  เขากล่าวว่า  ฟ้ากับดินไกลกัน  และฝั่งทะเลก็ไกลกัน 
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น.
  (พฺราหฺมณ) ขุ.  ชา.  อสีติ.  ๒๘/๑๔๓.
     
๕๔. นิกฺกุหา  นิลฺลปา  ธีรา อถทฺธา  สุสมาหิตา
  เต  เว ธมฺเม  วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.
  ผู้ไม่คดโกง  ไม่พูดเพ้อ  มีปรีชา  ไม่หยิ่ง   มีใจมั่นคงนั้นแล
ย่อมงดงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
  (พุทฺธ) องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๓๔.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๕๑.
     
๕๕.  ปฏิโสตคามึ  นิปุณํ   คมฺภีรํ  ทุทฺทสํ  อณุ
  ราครตฺตา  น  ทกฺขนฺติ ตโมกฺขนฺเธน  อาวุตา.
  ผู้ถูกราคะย้อม  ถูกกองมืด  (อวิชชา)  ห่อหุ้มแล้ว  ย่อมไม่เห็น   
ธรรมสำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ  ลึกซึ้ง  ซึ่งเห็นได้ยาก.
  (พุทฺธ)  ที.  มหา.  ๑๐/๔๑.
     
๕๖. ยทา  จ  พุทฺธา  โลกสฺมํ    อุปฺปชฺชนฺติ  ปภงฺกรา
  เต   อิมํ  ธมฺมํ  ปกาเสนฺติ     ทุกฺขูปสมคามินํ.
  เมื่อพระพุทธเจ้า  ผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก,  พระองค์ย่อม
ประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้.
  (สารีปุตฺต) ขุ.  ปฏิ.  ๓๑/๔๑๘.
     
๕๗. ยสฺส  สพฺรหมฺจารีสุ   คารโว  นุปลพฺภติ
  อารกา  โหติ  สทฺธมฺมา   นภํ  ปวิยา  ยถา.
  ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี,   ผู้นั้นย่อมห่างจาก
พระสัทธรรม  เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.
  (ภคุเถร) ขุ.  เถร  ๒๖/๓๑๑.
     
๕๘. เย  จ  โข  สมฺมทกฺขาเต   ธมฺเม  ธมฺมานุวตฺติโน
  เต  ชนา  ปารเมสฺสนฺติ   มจฺจุเธยฺยํ  สุทุตฺตรํ.
  ชนเหล่าใดประพฤติธรรม   ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว,
ชนเหล่านั้น  จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก.
  (พุทธ) ขุ.  ธ  ๒๕/๒๖.
     
๕๙.  โย  อิจฺเฉ   ทิพฺพโภคญฺจ ทิพฺพมายุ  ยสํ  สุขํ
  ปาปานิ  ปริวชฺเชตฺวา  ติวิธํ  ธมฺมมาจเร.
  ผู้ใด  ปรารถนาโภคทรัพย์  อายุ  ยศ  สุข  อันเป็นทิพย์,  ผู้นั้น
พึงงดเว้นบาปทั้งหลาย  แล้วประพฤติสุจริตธรรม  ๓  อย่าง.
  (ราชธีตา)  ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๐๖.
     
๖๐. โย  จ  อปฺปมฺปิ  สุตฺวาน    ธมฺมํ  กาเยน  ปสฺสติ
  ส  เว  ธมฺมธโร  โหติ   โย  ธมฺมํ  นปฺปมชฺชติ.
  ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย  ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย   ผู้ใดไม่ประมาท
ธรรม  ผู้นั้นแล   ชื่อว่าผู้ทรงธรรม.
  (พุทธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๙.
     
๖๑. โยนิโส  วิจิเน  ธมฺมํ   ปญฺายตฺถํ  วิปสฺสติ  
  ปชฺโชตสฺเสว   นิพฺพานํ  วิโมกฺโข  โหติ  เจตโส.
  ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย,  จะเห็นอรรถแจ่มแจ้งได้ด้วย
ปัญญา,  ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมี  เหมือนไฟดับ.
  (พุทฺธ) องฺ.  สตฺตก.  ๒๓/๔.
     
              

ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
พุทธศาสนสุภาษิต