๗๙. |
อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส |
พลิวทฺโทว ชีรติ |
|
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ |
ปญฺา ตสฺส น วฑฺฒติ. |
|
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ
แต่ปัญญาไม่เจริญ. |
|
(พุทฺธ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๓๕. |
|
|
|
๘๐. |
ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโ |
อปิ วิตฺตปริกฺขยา |
|
ปญฺาย จ อลาเภน |
วิตฺตวาปิ น ชีวติ. |
|
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์
ก็เป็นอยู่ไม่ได้. |
|
(มหากปฺปินเถร) |
ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๐. |
|
|
|
๘๑. |
ปญฺวา พุทฺธิสมฺปนฺโน |
วิธานวิธิโกวิโท |
|
กาลญฺู สมยญฺู จ |
ส ราชวสตึ วเส. |
|
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน
รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้. |
|
(พุทฺธ) |
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๙. |
|
|
|
๘๒. |
ปญฺา หิ เสฏฺา กุสลา วทนฺติ
นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม
อนฺวายิกา ปญฺวโต ภวนฺติ.
|
|
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ
กว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตาม
ผู้มีปัญญา. |
|
(สภงฺคโพธิสตฺต) |
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๑. |
|
|
|
๘๓. |
มตฺตาสุขปริจฺจาคา |
ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ |
|
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร |
สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ. |
|
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย. |
|
(พุทฺธ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๕๓. |
|
|
|
๘๔. |
ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ |
อนตฺถํ จรติ อตฺตโน |
|
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ |
หึสาย ปฏิปชฺชติ. |
|
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น. |
|
(หตฺถาจริย) |
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๐. |
|
|
|
๘๕. |
ยาวเทว อนตฺถาย |
ตฺตํ พาลสฺส ชายติ |
|
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ |
มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ. |
|
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมอง
ของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย. |
|
(พุทฺธ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๒๔. |
|
|
|
๘๖. |
โย จ วสฺสสตํ ชีเว |
ทุปฺปญฺโ อสมาหิโต |
|
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย |
ปญฺวนฺตสฺส ฌายิโน. |
|
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า. |
|
(พุทฺธ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. |
|
|
|