๔๒. อคฺคสฺมึ   ทานํ  ททตํ  อคฺคํ  ปุญฺํ  ปวฑฺฒติ
  อคฺคํ  อายุ  จ  วณฺโณ  จ ยโส  กิตฺติ  สุขํ  พลํ.
  เมื่อให้ท่านในวัตถุอันเลิศ   บุญอันเลิศ  อายุ  วรรณะ  ยศ
เกียรติ  สุข  และกำลังอันเลิศ  ก็เจริญ. 
  (พุทฺธ) ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๙๙.
     
๔๔. อคฺคทายี  วรทายี   เสฏฺทายี  จ  โย  นโร
  ทีฆายุ  ยสวา  โหติ  ยตฺถ  ยตฺถูปปชฺชติ.
  ผู้ให้สิ่งที่เลิศ  ให้สิ่งที่ดี  ให้สิ่งที่ประเสริฐ  ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน
มียศในภพที่ตนเกิด.
  (พุทธ) องฺ  ปญฺจก.  ๒๒/๕๖.
     
๔๕. นีหเรเถว  ทาเนน  ทินฺนํ  โหติ  สุนิพฺภตํ
  ทินฺนํ  สุขผลํ  โหติ     นาทินฺนํ  โหติ  ตํ  ตถา.
  พึงนำ  (สมบัติ)   ออกด้วยการให้,  วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอัน
นำออกดีแล้ว,  วัตถุทีให้แล้วย่อมมีสุขเป็นผล,  ส่วนวัตถุที่
ยังไม่ได้ให้ ก็ไม่เป็นอย่างนั้น.
  (เทวดา)  สํ.  ส.  ๑๕/๔๓.
     
๔๖. ปุพฺเพ   ทานาทิกํ  ทตฺวา   อิทานิ  ลภตี  สุขํ 
  มูเลว  สิญฺจิตํ  โหติ     อคฺเค  จ  ผลทายกํ. 
  ให้ทานเป็นต้นก่อน    จึงได้สุขบัดนี้  เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผล
ที่ปลาย.
    สทฺทสารตฺถชาลินี.
     
๔๗. ยถา  วาริวหา  ปูรา ปริปูเรนฺติ  สาครํ
  เอวเมว  อิโต  ทินฺนํ  เปตานํ  อุปกปฺปติ.
  ห้วงน้ำที่เต็ม  ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด,  ทานที่ให้แต่โลกนี้
ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ขุ.  ๒๕/๑๐.
     
๔๘. โส  จ  สพฺพทโท  โหติ     โย  ททาติ  อุปสฺสยํ
  อมตนฺทโท  จ  โส  โหติ โย  ธมฺมมนุสาสติ.
  ผู้ใดให้ที่พักอาศัย  ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง,  ผู้ใดสอนธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ.
  (พุทฺธ)  สํ.  ส.  ๑๕/๔๔.
     
 

ทานวรรค คือ หมวดทาน
พุทธศาสนสุภาษิต