๑๖. กามา  กฏุกา อาสีวิสูปมา    เยสุ  มุจฺฉิตา  พาลา
  เต  ทีฆรตฺตํ  นิรเย  สมปฺปิตา  หญฺนฺเต  ทุกฺขิตา.
  กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน  เหมือนงูพิษ  เป็นที่คนโง่หมกมุ่น
เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาลนาน.
  (สุเมธาเถรี) ขุ.  เถรี.  ๒๖/๔๙๙.
     
๑๗. กุหา  ถทฺธา  ลปา  สิงฺคี    อุนฺนฬา  จาสมาหิตา
  น   เต  ธมฺเม  วิรูหนฺติ    สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.
  คนหลอกลวง  เย่อหยิ่ง  เพ้อเจ้อ  ขี้โอ่   อวดดี  และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
  (พุทฺธ)  องฺ.  จตุตฺก.  ๒๑/๓๔.
     
๑๘. โกธสฺส  วิสมูลสฺส     มธุรคฺคสฺส   พฺราหฺมณ
  วธํ  อริยา  ปสํสนฺติ     ตญฺหิ  เฉตฺวา  น  โสจติ.
  พราหมณ์ !    พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ   ซึ่งมี
โคนเป็นพิษ   ปลายหวาน,  เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศก.
  (พุทฺธ) สํ.  ส.  ๑๕/๒๓๖.
     
๑๙. นิทฺทํ  น  พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ  ภเชยฺย  อาตาปี
  ตนฺทึ  มายํ  หสฺสํ  ขิฑฺฑํ  เมถุนํ  วิปฺปชเห  สวิภูสํ.
  ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก  พึงเสพธรรมเครื่องตื่น   พึงละ
ความเกียจคร้าน  มายา  ความร่าเริง  การเล่น  และเมถุน
พร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย.
  (พุทฺธ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๕.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๕๗,๔๖๐.
     
๒๐.  ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส  นิจฺจํ  อุชฺฌานสญฺิโน
  อาสวา  ตสฺส  วฑฺฒนฺติ    อารา  โส  อาสวกฺขยา.
  คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น  คอยแต่เพ่งโทษนั้น  อาสวะก็เพิ่มพูน
เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๙.
     
๒๑. ยทา  ทฺวเยสุ  ธมฺเมสุ   ปารคู  โหติ  พฺราหฺมโณ
  อถสฺส   สพฺเพ  สํโยคา อตฺถํ   คจฺฉนฺติ  ชานโต. 
  เมื่อใด   พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม  ๒  อย่าง  เมื่อนั้นกิเลส
เครื่องตรึงทั้งปวงของพราหมณ์ผู้รู้นั้น  ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๗.
     
๒๒. ยา  กาจิมา  ทุคฺคติโย อสฺมํ  โลเก  ปรมฺหิ  จ
  อวิชฺชามูลกา  สพฺพา อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา.
  ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า   ล้วนมีอวิชชาเป็นราก  มีอิจฉาและ
โลภเป็นลำต้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๕๖.
     
๒๓. เยน  สลฺเลน  โอติณฺโณ ทิสา  สพฺพา  วิธาวติ
  ตเมว  สลฺลํ  อพฺพุยฺห    น  ธาวติ  น  สีทติ.
  บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ  ถอนลูกศรนั้น
แล้ว  ย่อมไม่แล่นและไม่จม.
  (พุทธ)   ขุ.  ส.  ๒๕/๕๑๘. ขุ.  มหา.  ๑๙/๕๐๑.
     
๒๔. โลโภ  โทโส  จ  โมโห  จ ปุริสํ  ปาปเจตสํ
  หึสนฺติ   อตฺตสมฺภูตา ตจสารํว  สมฺผลํ.
  โลภะ  โทสะ  โมหะ  เกิดจากตัวเอง  ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว
ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๖๔.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๘.
     
 

กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
พุทธศาสนสุภาษิต