๓๐. อนวฏฺิตจิตฺตสฺส  สทฺธมฺมํ  อวิชานโต
  ปริปฺลวปสาทสฺส     ปญฺา  น  ปริปูรติ.
  เมื่อมีจิตไม่มั่นคง  ไม่รู้พระสัทธรรม  มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย
ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.
     
๓๑. อปฺปมาณํ  หิตํ  จิตฺตํ ปริปุณฺณํ  สุภาวิตํ
  ยํ   ปมาณํ  กตํ  กมฺมํ    น  ตํ  ตตฺราวสิสฺสติ. 
  จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว  เป็นจิตหาประมาณมิได้, 
กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ  กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น.
  (อรกโพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๕๙.
     
๓๒. อานาปานสฺสติ  ยสฺส อปริปุณฺณา  อภาวิตา
  กาโยปิ  อิญฺชิโต  โหติ  จิตฺตมฺปิ  โหติ  อิญฺชิตํ.
  สติกำหนดลมหายใจเข้าออก   อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์, 
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว.
  (สารีปุตฺต)  ขุ.  ปฏฺ.  ๓๑/๒๕๐.
     
๓๓. อานาปานสฺสติ   ยสฺส  ปริปุณฺณา  สุภาวิตา
  กาโยปิ  อนิญฺชิโต  โหติ จิตฺตมฺปิ  โหติ  อนิญฺชิตํ.
  สติกำหนดลมหายใจเข้าออก  อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว, 
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว.
  (สารีปุตฺต)  ขุ.  ปฏิ.  ๓๑/๒๕๐.
     
๓๔. ทิโส  ทิสํ  ยนฺตํ  กยิรา  เวรี  วา  ปน  เวรินํ
  มิจฺฉาปณิหิตํ  จิตฺตํ  ปาปิโย  นํ  ตโต  กเร.
  โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี   พึงทำความพินาศให้แก่กัน, 
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด  พึงทำเขาให้เสียหายยิ่งกว่านั้น.
  (พุทฺธํ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.
     
๓๕. ทูรงฺคมํ  เอกจรํ  อสรีรํ  คุหาสยํ
  เย  จิตฺตํ  สญฺเมสฺสนฺติ  โมกฺขนฺติ  มารพนฺธนา.
  ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล  เที่ยวไปดวงเดียว  ไม่มีรูปร่าง  มีถ้ำ
(คือกาย)  เป็นที่อาศัย,  ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผู้ของมารได้.
ให้ตรงได้  เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙,๒๐.
     
๓๖. น  ตํ  มาตา  ปิตา  กยิรา    อญฺเ  วาปิจ  าตกา
  สมฺมาปณิหิตํ  จิตฺตํ  เสยฺยโส  นํ  ตโต  กเร.
  มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น   ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้, 
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว  พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๐.
     
๓๗. ผนฺทนํ  จปลํ  จิตฺตํ  ทุรกฺขํ  ทุนฺนิวารยํ
  อุชุ  กโรติ  เมธาวี   อุสุกาโรว  เตชนํ. 
  คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน   กวัดแกว่ง  รักษายาก  ห้ามยาก
ให้ตรงได้   เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.
     
๓๘. ยถา  อคารํ  ทุจฺฉนฺนํ  วุฏฺี  สมติวิชฺฌติ
  เอวํ  อภาวิตํ  จิตฺตํ   ราโค  สมติวิชฺฌติ.
  ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด,   ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้
อบรมฉันนั้น.
  (พุทฺธ)  ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๖.
     
๓๙. โย  จ  สทฺทปฺปริตฺตาสี  วเน  วาตมิโต  ยถา
  ลหุจิตฺโตติ  ตํ  อาหุ  นาสฺส  สมฺปชฺชเต  วตํ.
  ผู้ใด  มักหวาดสะดุ้งต่อเสียง   เหมือนเนื้อทรายในป่า, 
ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา,  พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ.
  (อญฺตฺรภิกฺขุ) สํ.  ส.  ๑๕/๒๙๖.
     
๔๐. วาริโชว  ถเล  ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺกโต
  ปริผนฺทติทํ  จิตฺตํ  มารเธยฺยํ  ปหาตเว.
  จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ  เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร 
ย่อมดิ้นรน  เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.
     
๔๑. สญฺาย  วิปรีเยสา  จิตฺตนฺเต  ปริฑยฺหติ
  นิมิตฺตํ  ปริวชฺเชหิ  สุภํ  ราคูปสญฺหิตํ.
  จิตของท่านย่อมเดือดร้อน   เพราะเข้าใจผิด,  ท่านจงเว้น
เครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก.
  (อานนฺท) สํ.  ส.  ๑๕/๒๗๗.
     
๔๒. เสโล  ยถา  เอกฆโน วาเตน  น  สมีรติ
  เอวํ  นินฺทาปสํสาสุ  น  สมิญฺชนฺติ   ปณฺฑิตา.
  ภูเขาหินแท่งทึบ  ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด,  บัณฑิตย่อม
ไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.
  (พุทฺธ)   ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๕.
     
 

จิตตวรรค คือ หมวดจิต
พุทธศาสนสุภาษิต