ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สมถกัมมัฏฐาน เป็นอุบายให้สงบอะไร ?
ก.
สงบกาย
ข.
สงบวาจา
ค.
สงบใจ
ง.
เรืองปัญญา
๒.
การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานมีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ทำให้จิตสงบ
ข.
ทำให้รู้แจ้ง
ค.
ทำให้จิตผ่องใส
ง.
ทำให้เบื่อหน่าย
๓.
ผู้ลุ่มหลงหมกมุ่นอยู่ในสิ่งอันน่าใคร่ เพราะถูกอะไรครอบงำ ?
ก.
กิเลสกาม
ข.
วัตถุกาม
ค.
กามาสวะ
ง.
กามวิตก
๔.
ปฏิบัติบูชา มีประโยชน์สูงสุดอย่างไร ?
ก.
ทำให้พ้นทุกข์
ข.
ทำให้มีบริวาร
ค.
ทำให้จิตสงบ
ง.
ทำให้คนนับถือ
๕.
ต้อนรับแบบใด จัดเป็นธัมมปฏิสันถาร ?
ก.
เลี้ยงอาหาร
ข.
สนทนาธรรม
ค.
ให้สิ่งของ
ง.
ให้หนังสือ
๖.
อะไรเป็นเจตสิกสุข คือสุขทางใจ ?
ก.
มีทรัพย์ใช้จ่าย
ข.
ไม่มีโรค
ค.
สุขภาพจิตดี
ง.
พลานามัยดี
๗.
กามวิตก เป็นเหตุให้ละเมิดศีลข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
กาเมสุ มิจฉาจาร
ง.
มุสาวาท
๘.
วิหิงสาวิตก มีอะไรเป็นมูลเหตุ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ราคะ
๙.
คิดอย่างไร จัดเป็นอพยาบาทวิตก ?
ก.
ออกจากกาม
ข.
ไม่คิดปองร้าย
ค.
ไม่ลุ่มหลง
ง.
ไม่เบียดเบียน
๑๐.
ราคะ โทสะ โมหะ เผาอะไรให้เร่าร้อน ?
ก.
โลก
ข.
กิเลส
ค.
จิตใจ
ง.
ร่างกาย
๑๑.
คนหงุดหงิดฉุนเฉียวโกรธง่าย เพราะถูกไฟใดแผดเผา ?
ก.
ไฟคือราคะ
ข.
ไฟคือโทสะ
ค.
ไฟคือโมหะ
ง.
ไฟคือตัณหา
๑๒.
อัตตาธิปเตยยะ ถืออะไรเป็นใหญ่ ?
ก.
ตนเอง
ข.
สังคม
ค.
พวกพ้อง
ง.
ความถูกต้อง
๑๓.
คนถือธรรมเป็นใหญ่ มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
เห็นแก่พวก
ข.
เห็นความถูกต้อง
ค.
เห็นประโยชน์ตน
ง.
เห็นความถูกใจ
๑๔.
ปัญญาหยั่งรู้เหตุและผลตามความเป็นจริง เรียกว่าอะไร ?
ก.
ฌาน
ข.
ญาณ
ค.
สมาธิ
ง.
วิมุตติ
๑๕.
ความอยากในข้อใด ไม่จัดเป็นกามตัณหา ?
ก.
อยากพ้นทุกข์
ข.
อยากได้คำชม
ค.
อยากเห็นคนสวย
ง.
อยากรวยทรัพย์
๑๖.
ข้อใด จัดเป็นภวตัณหา ?
ก.
อยากเป็นใหญ่
ข.
อยากได้คำชม
ค.
อยากได้ของฝาก
ง.
อยากรวยทรัพย์
๑๗.
ข้อบัญญัติเรื่องศีล จัดอยู่ในปิฎกใด ?
ก.
พระวินัย
ข.
พระสุตตันตะ
ค.
พระอภิธรรม
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๘.
ข้อใด จัดเป็นโลกัตถจริยา ?
ก.
โปรดสัตว์โลก
ข.
สงเคราะห์พระญาติ
ค.
ประกาศพระศาสนา
ง.
บัญญัติสิกขาบท
๑๙.
ข้อใด จัดเป็นกรรมในวัฏฏะ ?
ก.
เกิดกิเลส
ข.
ทำกรรม
ค.
รับผลกรรม
ง.
เวียนว่ายตายเกิด
๒๐.
เพราะเหตุใด มนุษย์จึงต้องเวียนว่ายตายเกิด ?
ก.
ทำกรรมชั่ว
ข.
มีโลกนี้โลกหน้า
ค.
รับผลกรรม
ง.
มีกิเลสกรรมวิบาก
๒๑.
อธิสีลสิกขา ตรงกับข้อใด ?
ก.
ฝึกกาย วาจา
ข.
รักษาจิต
ค.
อบรมปัญญา
ง.
อบรมจิต
๒๒.
ข้อใด เป็นลักษณะของอนิจจตา ?
ก.
คงทนถาวร
ข.
ไม่เที่ยงแท้
ค.
ทนได้อยาก
ง.
ไม่มีตัวตน
๒๓.
พิจารณาแล้วอดกลั้น ควรใช้เมื่อถูกอะไรครอบงำ ?
ก.
ทุกขเวทนา
ข.
กิเลส
ค.
อกุศลวิตก
ง.
พยาบาท
๒๔.
พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงบรรเทาอะไร ?
ก.
ความหิว
ข.
ทุกขเวทนา
ค.
สิ่งเสพติด
ง.
อกุศลวิตก
๒๕.
อัปปมัญญา มีอาการแผ่ไปอย่างไร ?
ก.
เจาะจง
ข.
มีขอบเขต
ค.
ไม่มีประมาณ
ง.
ไม่แน่นอน
๒๖.
ทำจิตอย่างไร จึงจะไม่เกิดความริษยา ?
ก.
ให้อภัย
ข.
เห็นอกเห็นใจ
ค.
พลอยยินดี
ง.
วางเฉย
๒๗.
ผู้กลับมาเกิดอีกชาติเดียว หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นใด ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๒๘.
การรักษากายวาจาเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ จัดเป็นสัมปทาใด ?
ก.
สัทธาสัมปทา
ข.
สีลสัมปทา
ค.
จาคสัมปทา
ง.
ปัญญาสัมปทา
๒๙.
ธรรมที่เป็นเหตุให้มีความสุขในภพหน้า ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมปรายิกัตถะ
ข.
ทิฏฐธัมมิกัตถะ
ค.
ปรมัตถะ
ง.
อธิษฐานธรรม
๓๐.
มรรคใด ละกามราคะได้เด็ดขาด ?
ก.
โสดาปัตติมรรค
ข.
สกทาคามิมรรค
ค.
อนาคามิมรรค
ง.
อรหัตตมรรค
๓๑.
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนุปุพพีกถา เพื่อประโยชน์ใด ?
ก.
ทำจิตให้หมดจด
ข.
กำจัดกิเลส
ค.
ละความตระหนี่
ง.
ไม่เห็นแก่ตัว
๓๒.
ก่อนแสดงอริยสัจ ๔ แก่คฤหัสถ์ผู้มีอุปนิสัย ทรงใช้ธรรมหมวดใด ?
ก.
อัปปมัญญา
ข.
อนุปุพพีกถา
ค.
อปัสเสนธรรม
ง.
บุญกิริยาวัตถุ
๓๓.
ผู้มีจิตใจคับแคบ เป็นคนเห็นแก่ตัว เพราะถูกอะไรครอบงำ ?
ก.
มัจฉริยะ
ข.
มาร
ค.
นิวรณ์
ง.
อกุศล
๓๔.
ความตระหนี่อะไร จัดเป็นลาภมัจฉริยะ ?
ก.
ที่อยู่
ข.
สมบัติ
ค.
ตระกูล
ง.
ความรู้
๓๕.
สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี ตรงกับข้อใด ?
ก.
มัจฉริยะ
ข.
มาร
ค.
นิวรณ์
ง.
อกุศล
๓๖.
มารใด ตัดโอกาสของบุคคลที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดี ?
ก.
ขันธมาร
ข.
อภิสังขารมาร
ค.
มัจจุมาร
ง.
เทวปุตตมาร
๓๗.
กิเลสที่ปิดกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี ตรงกับข้อใด ?
ก.
มัจฉริยะ
ข.
กิเลสกาม
ค.
นิวรณ์
ง.
อกุศล
๓๘.
ผู้ที่มีจิตเดือดดาล มืดมัว มองไม่เห็นบุญบาป เพราะถูกกิเลสใดครอบงำ ?
ก.
กามฉันท์
ข.
พยาบาท
ค.
ถีนมิทธะ
ง.
วิจิกิจฉา
๓๙.
สังขารในขันธ์ ๕ ตรงกับข้อใด ?
ก.
สิ่งที่ได้เห็น
ข.
สิ่งที่มากระทบ
ค.
สิ่งที่สัมผัสได้
ง.
สิ่งที่ปรุงแต่งจิต
๔๐.
ความรู้แจ้งอารมณ์ ในเวลาที่รูปมากระทบตาเป็นต้น เรียกว่าอะไร ?
ก.
เวทนา
ข.
สัญญา
ค.
สังขาร
ง.
วิญญาณ
๔๑.
โทมนัสในเวทนา ๕ หมายถึงข้อใด ?
ก.
ทุกข์กาย
ข.
ทุกข์ใจ
ค.
สุขกาย
ง.
สุขใจ
๔๒.
คนราคจริต ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
อสุภะ
ข.
พรหมวิหาร
ค.
อนุสสติ
ง.
อานาปานัสสติ
๔๓.
คุณของพระธรรม ข้อว่า เอหิปสฺสิโก ตรงกับข้อใด ?
ก.
เห็นได้ด้วยตนเอง
ข.
ไม่จำกัดกาล
ค.
ควรเรียกให้มาดู
ง.
ควรน้อมเข้ามา
๔๔.
ธรรมที่ให้ก่อให้เกิดความสามัคคี ตรงกับข้อใด ?
ก.
อปัสเสนธรรม
ข.
อปริหานิยธรรม
ค.
สัปปุริสธรรม
ง.
สาราณิยธรรม
๔๕.
ข้อปฏิบัติอันพอดี ที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตรงกับข้อใด ?
ก.
มัชฌิมาปฏิปทา
ข.
บุญกิริยาวัตถุ
ค.
ทสบารมี
ง.
วิสุทธิ
๔๖.
ผู้ไกลจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ตรงกับพุทธคุณข้อใด ?
ก.
อรหํ
ข.
สุคโต
ค.
พุทฺโธ
ง.
ภควา
๔๗.
พระสงฆ์ได้ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติเช่นไร ?
ก.
ปฏิบัติดี
ข.
ปฏิบัติตรง
ค.
ปฏิบัติเป็นธรรม
ง.
ปฏิบัติสมควร
๔๘.
เป็นผู้ควรของทำบุญ ตรงกับสังฆคุณข้อใด ?
ก.
อาหุเนยฺโย
ข.
ปาหุเนยฺโย
ค.
ทกฺขิเณยฺโย
ง.
อญฺชลิกรณีโย
๔๙.
การศึกษาธรรมเพื่อให้เกิดความรู้ จัดว่าบำเพ็ญบารมีใด ?
ก.
ปัญญาบารมี
ข.
วิริยบารมี
ค.
ขันติบารมี
ง.
สัจจบารมี
๕๐.
บุญที่เกิดจากการปรับความเห็นให้ตรงและถูกต้อง ตรงกับข้อใด ?
ก.
อปจายนมัย
ข.
เวยยาวัจจมัย
ค.
ปัตติทานมัย
ง.
ทิฏฐุชุกัมม์
เอกสารอ้างอิง
สนามหลวงแผนกธรรม ปัญหาและเฉลยข้อสอบ พ.ศ.๒๕๖๐. หน้า
สำเนาข้อสอบจริง สอบวันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙