ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า สมถะ ?
  ก. อุบายเรืองปัญญา ข. อุบายสงบกาย
  ค. อุบายสงบใจ ง. อุบายสงบวาจา
 
๒. ผลของการเจริญวิปัสสนาคืออะไร ?
  ก. ความจำดี ข. เห็นแจ้งไตรลักษณ์
  ค. จิตผ่องใส ง. รู้อดีตอนาคต
 
๓. ข้อใด จัดเป็นกิเลสกาม ?
  ก. หัวดื้อ ข. งมงายไร้สาระ
  ค. ถือพรรคถือพวก ง. อิจฉาริษยา
 
๔. กามเป็นเหตุให้สัตว์หลงติดอยู่ในโลก เรียกว่าอะไร ?
  ก. กามคุณ ข. กามกิเลส
  ค. กามตัณหา ง. กามาสวะ
 
๕. ข้อใด เป็นปฏิบัติบูชา ?
  ก. ตักบาตรทุกเช้า ข. ถวายสังฆทานทุกวัน
  ค. ปล่อยนกปล่อยปลา ง. ทำความดีสม่ำเสมอ
 
๖. ปูชนียบุคคล หมายถึงบุคคลประเภทใด ?
  ก. คนร่ำรวยทรัพย์ ข. คนที่วางตนน่ายกย่อง
  ค. คนเรียนจบสูง ง. คนปฏิบัติตามกฎหมาย
 
๗. เมื่อมีผู้มาเยือน ควรต้อนรับตามหลักปฏิสันถารอย่างไร ?
  ก. แนะนำประโยชน์ให้ ข. ต้อนรับให้สมฐานะ
  ค. ถามถึงสิ่งที่ต้องการ ง. ถามถึงธุระที่มา
 
๘. ข้อใด เป็นเหตุให้เกิดสุขทางใจ ?
  ก. มีจิตเมตตา ข. มีการงานดี
  ค. มีทรัพย์มาก ง. มีตำแหน่งสูง
 
๙. ผู้ถูกวิหิงสาวิตกครอบงำ มักมีพฤติกรรมอย่างไร ?
  ก. ฝักใฝ่ในกาม ข. โลภอยากได้
  ค. ปองร้ายผู้อื่น ง. ทรมานสัตว์
 
๑๐. เมื่อถูกวิหิงสาวิตกครอบงำ จะบรรเทาได้อย่างไร ?
  ก. เจริญเมตตา ข. เจริญกรุณา
  ค. เจริญมุทิตา ง. เจริญอุเบกขา
 
๑๑. คิดอย่างไร จัดเป็นเนกขัมมวิตก ?
  ก. คิดออกบวช ข. คิดหนีปัญหา
  ค. คิดทำร้ายตัวเอง ง. คิดอยากแต่งงาน
 
๑๒. ธรรมข้อใด บรรเทาพยาบาทวิตกได้ ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๑๓. ราคะ โทสะ โมหะ เรียกว่าไฟเพราะเหตุใด ?
  ก. ทำให้กายร้อน ข. ทำให้ใจร้อน
  ค. ทำให้เกิดโรค ง. ทำให้เครียด
 
๑๔. ทำความดีเพราะอยากให้คนยกย่อง จัดเข้าในข้อใด ?
  ก. โลกาธิปเตยยะ ข. อัตตาธิปเตยยะ
  ค. ธัมมาธิปเตยยะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๕. ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า ญาณ ?
  ก. สมาธิชั้นสูง ข. ปัญญาหยั่งรู้
  ค. แสดงฤทธิ์ได้ ง. การเข้าฌาน
 
๑๖. อยากฆ่าตัวตายเพราะเกรดตก อกหัก รักคุด จัดเป็นตัณหาใด ?
  ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา
  ค. วิภวตัณหา ง. กิเลส ตัณหา
 
๑๗. อยากเป็นใหญ่ จัดเป็นตัณหาอะไร ?
  ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา
  ค. วิภวตัณหา ง. กิเลส ตัณหา
 
๑๘. ในเรื่องปาฏิหาริย์ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องข้อใด ?
  ก. อิทธิปาฏิหาริย์ ข. อาเทสนาปาฏิหาริย์
  ค. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ง. ยมกปาฏิหาริย์
 
๑๙. โลกัตถจริยา ตรงกับข้อใด ?
  ก. ช่วยคนให้พ้นทุกข์ ข. ประกาศคำสอน
  ค. บัญญัติสิกขาบท ง. เทศน์โปรดพระญาติ
 
๒๐. ข้อใด กล่าวความหมายของวัฏฏะได้ถูกต้องที่สุด ?
  ก. ทำกรรมแล้วกิเลสจึงเกิด ข. กิเลสเกิดแล้วจึงมีวิบาก
  ค. วิบากเกิดจึงมีกรรม ง. กิเลสเกิดแล้วให้ทำกรรม
 
๒๑. กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตามสนอง ตรงกับข้อใด ?
  ก. กิเลส ข. กรรม
  ค. วิบาก ง. สงสาร
 
๒๒. อานิสงส์ของการปฏิบัติไตรสิกขา คือข้อใด ?
  ก. กำจัดทุกข์ ข. กำจัดโศก
  ค. กำจัดภัย ง. กำจัดกิเลส
 
๒๓. ผู้ไม่คิดจองเวรผู้อื่น ชื่อว่าประพฤติอปัสเสนธรรมข้อใด ?
  ก. พิจารณาแล้วเว้น ข. พิจารณาแล้วบรรเทา
  ค. พิจารณาแล้วเสพ ง. พิจารณาแล้วอดกลั้น
 
๒๔. ยาบ้าและสิ่งเสพติด พิจารณาแล้วควรทำอย่างไร ?
  ก. เสพ ข. อดกลั้น
  ค. เว้น ง. บรรเทา
 
๒๕. ทำอย่างไร จึงจะไม่ริษยาผู้อื่น ?
  ก. หมั่นเจริญเมตตา ข. หมั่นเจริญกรุณา
  ค. หมั่นเจริญมุทิตา ง. หมั่นเจริญอุเบกขา
 
๒๖. อัปปมัญญาข้อใด เป็นคุณให้เกิดความเที่ยงธรรม ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๒๗. คำว่า พระสกทาคามี แปลว่าอะไร ?
  ก. ผู้เกิดอีกครั้งเดียว ข. ผู้ไม่เกิดอีก
  ค. ผู้เวียนว่ายตายเกิด ง. ผู้ไม่มาสู่ภพนี้อีก
 
๒๘. พรหมโลกชั้นสุทธาวาส เป็นที่บังเกิดของพระอริยบุคคลชั้นใด ?
  ก. พระโสดาบัน ข. พระอนาคามี
  ค. พระสกทาคามี ง. พระอรหันต์
 
๒๙. กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา เรียกว่าโยคะ เพราะเหตุใด ?
  ก. เผาใจให้ร้อนรุ่ม ข. หมักดองในสันดาน
  ค. ผูกสัตว์ไว้ในโลก ง. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
 
๓๐. โอฆะข้อใด ทำให้เกิดความมืดบอดทางปัญญา ?
  ก. กาโมฆะ ข. ทิฏโฐฆะ
  ค. อวิชโชฆะ ง. ภโวฆะ
 
๓๑. บุคคลเช่นใด เรียกว่าอุบาสกอุบาสิกา ?
  ก. ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ข. ผู้ศึกษาพระรัตนตรัย
  ค. ผู้ไหว้พระรัตนตรัย ง. ผู้อาศัยพระรัตนตรัย
 
๓๒. ผู้อาจรู้ธรรมเมื่อท่านอธิบายความแห่งข้อนั้น ตรงกับข้อใด ?
  ก. อุคฆฏิตัญญู ข. วิปจิตัญญู
  ค. เนยยะ ง. ปทปรมะ
 
๓๓. ผู้พอจะแนะนำได้ เปรียบได้กับบัวชนิดใด ?
  ก. บัวพ้นน้ำ ข. บัวเสมอน้ำ
  ค. บัวจะพ้นน้ำวันต่อไป ง. บัวจมอยู่ในโคลนตม
 
๓๔. คนที่มีใจตระหนี่ ควรฟังอนุปุพพีกถาข้อใด ?
  ก. ทานกถา ข. สีลกถา
  ค. สัคคกถา ง. กามาทีนวกถา
 
๓๕. อนุปุพพีกถาข้อใด สนับสนุนส่งเสริมการไม่เบียดเบียนกัน ?
  ก. ทานกถา ข. สีลกถา
  ค. สัคคกถา ง. กามาทีนวกถา
 
๓๖. ครูไม่สอนวิชาทั้งหมดแก่ศิษย์ เพราะกลัวรู้ทัน จัดเป็นมัจฉริยะ
ข้อใด ?
  ก. กุลมัจฉริยะ ข. ลาภมัจฉริยะ
  ค. วัณณมัจฉริยะ ง. ธัมมมัจฉริยะ
 
๓๗. ความตระหนี่หวงแหน มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. มานะ
 
๓๘. คนทุจริตคิดมิชอบ เพราะถูกมารประเภทใดครอบงำ ?
  ก. กิเลสมาร ข. เทวปุตตมาร
  ค. ขันธมาร ง. อภิสังขารมาร
 
๓๙. มารข้อใด ตัดโอกาสทำความดีได้เด็ดขาด ?
  ก. กิเลสมาร ข. มัจจุมาร
  ค. ขันธมาร ง. อภิสังขารมาร
 
๔๐. ความทุกข์ทางใจ จัดเป็นเวทนาอะไร ?
  ก. สุข ข. ทุกข์
  ค. โสมนัส ง. โทมนัส
 
๔๑. ความมีเมตตา ช่วยแก้ไขคนที่มีจริตเช่นไร ?
  ก. ราคจริต ข. โทสจริต
  ค. โมหจริต ง. วิตักกจริต
 
๔๒. เชื่อคนง่าย เป็นผู้มีจริตใด ?
  ก. สัทธาจริต ข. พุทธิจริต
  ค. ราคจริต ง. วิตักกจริต
 
๔๓. บทสวดใด จัดเป็นธรรมคุณ ?
  ก. อิติปิ โส ภควา ข. สฺวากฺขาโต
  ค. สุปฏิปนฺโน ง. มยํ ภนฺเต
 
๔๔. ธรรมที่ควรน้อมเข้ามาสู่ตน ตรงกับข้อใด ?
  ก. ไตรรัตน์ ข. ไตรลักษณ์
  ค. ไตรสิกขา ง. ไตรทวาร
 
๔๕. ผู้มีสมาธิในการเรียน เทียบได้กับวิสุทธิข้อใด ?
  ก. สีลวิสุทธิ ข. จิตตวิสุทธิ
  ค. ทิฏฐิวิสุทธิ ง. ญาณทัสสนวิสุทธิ
 
๔๖. ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงกับพุทธคุณข้อใด ?
  ก. อรหํ ข. พุทฺโธ
  ค. โลกวิทู ง. ภควา
 
๔๗. ความรู้คู่คุณธรรม อนุโลมตามพุทธคุณข้อใด ?
  ก. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
  ค. สุคโต โลกวิทู ง. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
 
๔๘. ผู้ควรรับของทำบุญ ตรงกับสังฆคุณข้อใด ?
  ก. อาหุเนยฺโย ข. ปาหุเนยฺโย
  ค. ทกฺขิเณยฺโย ง. อญฺชลิกรณีโย
 
๔๙. ข้อใด เป็นผลของทานบารมี ?
  ก. มีรูปงาม ข. มีปัญญามาก
  ค. มีอายุยืน ง. มีทรัพย์มาก
 
๕๐. กรรมที่ให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งหมด ได้แก่ข้อใด ?
  ก. ชนกกรรม ข. ครุกรรม
  ค. พหุลกรรม ง. กตัตตากรรม
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๓. หน้า ๒๒๑-๒๓๑.
         

ข้อสอบสนามหลวง