ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
กัมมัฏฐานข้อใด เกี่ยวกับปัญญา ?
ก.
สมถกัมมัฏฐาน
ข.
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ค.
อสุภกัมมัฏฐาน
ง.
อนุสสติกัมมัฏฐาน
๒.
เพื่อให้เกิดสมาธิในการเรียน ควรปฏิบัติตามหลักธรรมใด ?
ก.
ปัญญา
ข.
วิจารณญาณ
ค.
สมถะ
ง.
วิปัสสนา
๓.
ผู้ที่ชอบเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ชื่อว่าหลงยึดติดในอะไร ?
ก.
กิเลสกาม
ข.
วัตถุกาม
ค.
กามตัณหา
ง.
ภวตัณหา
๔.
พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการบูชาแบบใด ว่าเป็นเลิศ ?
ก.
อามิสบูชา
ข.
ปฏิบัติบูชา
ค.
สักการบูชา
ง.
พุทธบูชา
๕.
การกล่าวต้อนรับด้วยคำไพเราะ ชื่อว่าปฏิบัติตามหลักธรรมใด ?
ก.
อามิสบูชา
ข.
ปฏิบัติบูชา
ค.
อามิสปฏิสันถาร
ง.
ธัมมปฏิสันถาร
๖.
การกำหนดลมหายใจเข้าออก พร้อมกับบริกรรมว่า "พุทโธ"
จัดเป็นกรรมฐานใด ?
ก.
อานาปานสติ
ข.
พุทธานุสสติ
ค.
กายคตาสติ
ง.
ข้อ ก. ข้อ ข. ถูก
๗.
ผู้ประกอบด้วยวิหิงสาวิตก มักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
เที่ยวอาบอบนวด
ข.
เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
ค.
ชวนเพื่อนหนีเรียน
ง.
รังแกคนอื่น
๘.
ผู้ประกอบด้วยอพยาบาทวิตก มักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
หวังดีต่อเพื่อน
ข.
ให้เพื่อนลอกการบ้าน
ค.
ชวนเพื่อนไปวัด
ง.
หนีเรียนไปเฝ้าไข้นักร้องดัง
๙.
ไฟเผาใจมนุษย์ ๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ?
ก.
ราคะ ตัณหา อิจฉา
ข.
ราคะ อิจฉา โทสะ
ค.
ราคะ โทสะ โมหะ
ง.
ตัณหา อิจฉา โทสะ
๑๐.
ทำบุญเพราะอยากให้คนสรรเสริญ จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
โลกาธิปไตย
ข.
ธัมมาธิปไตย
ค.
อัตตาธิปไตย
ง.
ประชาธิปไตย
๑๑.
ข้อใดเป็นความหมายของ “ ญาณ ” ?
ก.
สมาธิชั้นสูง
ข.
ปัญญาหยั่งรู้
ค.
อิทธิฤทธิ์
ง.
การบรรลุธรรม
๑๒.
ฆ่าตัวตายเพราะอกหัก จัดเป็นคนมีตัณหาประเภทใด ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
ราคะตัณหา
๑๓.
ความอยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ เรียกว่าอะไร ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
กิเลสตัณหา
๑๔.
ข้อใด ทำให้พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ ?
ก.
โลกัตถจริยา
ข.
พุทธัตถจริยา
ค.
ญาตัตถจริยา
ง.
อัตถจริยา
๑๕.
ข้อใด กล่าวความหมายของวัฏฏะได้ถูกต้องที่สุด ?
ก.
ได้รับวิบากเพราะกิเลสเกิดขึ้น
ข.
กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม
ค.
ทำกรรมแล้วกิเลสจึงเกิด
ง.
กิเลสเกิดจึงมีวิบากตามมา
๑๖.
มนุษย์เวียนว่ายตายเกิด เพราะเหตุใด ?
ก.
เพราะมีกิเลสตัณหา
ข.
เพราะทำกรรมชั่ว
ค.
เพราะรับผลกรรม
ง.
เพราะมีกิเลส กรรมและวิบาก
๑๗.
คำว่า “ สิกขา ” ในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
เรียนหนังสือ
ข.
ฝึกหัดไตรทวาร
ค.
รักษาศีล
ง.
ฝึกสมาธิ
๑๘.
การบำเพ็ญสมถภาวนา ตรงกับสิกขาข้อใด ?
ก.
อธิสีลสิกขา
ข.
อธิจิตตสิกขา
ค.
อธิปัญญาสิกขา
ง.
ไตรสิกขา
๑๙.
อานิสงส์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือข้อใด ?
ก.
กำจัดกิเลส
ข.
ประหยัดอารมณ์
ค.
สะสมความสงบ
ง.
ปรารภความเพียร
๒๐.
ความหมายของข้อใด ถูกต้อง ?
ก.
ศีลกำจัดกิเลสอย่างละเอียด
ข.
ปัญญากำจัดกิเลสอย่างกลาง
ค.
ฌานกำจัดกิเลสอย่างละเอียด
ง.
สมาธิกำจัดกิเลสอย่างกลาง
๒๑.
ผู้ไม่คิดจองเวรผู้อื่น ชื่อว่าประพฤติอปัสเสนธรรมข้อใด ?
ก.
พิจารณาแล้วเสพ
ข.
พิจารณาแล้วอดกลั้น
ค.
พิจารณาแล้วเว้น
ง.
พิจารณาแล้วบรรเทา
๒๒.
ข้อใดเป็นความหมายของ “ อัปปมัญญา ” ?
ก.
ปฏิปทาของท่านผู้ใหญ่
ข.
ปฏิปทาของพระอรหันต์
ค.
มีสัตว์หาประมาณมิได้
ง.
มีสัตว์เจาะจงเป็นอารมณ์
๒๓.
โสดาบัน แปลว่าอะไร ?
ก.
ผู้ประเสริฐสูงสุด
ข.
ผู้ไกลจากกิเลส
ค.
ผู้ไม่มาสู่โลกนี้อีก
ง.
ผู้ถึงกระแสนิพพาน
๒๔.
พระอริยบุคคลระดับที่ ๓ เรียกว่าอะไร
ก.
พระอรหันต์
ข.
พระอนาคามี
ค.
พระโสดาบัน
ง.
พระสกทาคามี
๒๕.
ปริญญา เป็นกิจของอริยสัจข้อใด ?
ก.
ทุกขสัจ
ข.
สมุทัยสัจ
ค.
นิโรธสัจ
ง.
มัคคสัจ
๒๖.
สภาพที่ประกอบสัตว์ไว้ในกาม เรียกว่าอะไร ?
ก.
กามโยคะ
ข.
กาโมฆะ
ค.
กามราคะ
ง.
กามาสวะ
๒๗.
การปกป้องพระพุทธศาสนา ควรเป็นหน้าที่ของใคร ?
ก.
บริษัท ๔
ข.
พระภิกษุ
ค.
อุบาสก-อุบาสิกา
ง.
รัฐบาล
๒๘.
ข้อใด เป็นความหมายที่แท้จริงของเมตตาพรหมวิหาร ?
ก.
ความรักกัน
ข.
ความปรารถนาดีต่อกัน
ค.
การช่วยให้ผู้อื่นมีสุข
ง.
การช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๒๙.
ผู้บรรลุธรรมระดับใด ไม่มีความรักใคร่ทางกาม ?
ก.
ผู้ได้ฌานสมาบัติ
ข.
พระโสดาบัน
ค.
พระสกทาคามิมรรค
ง.
พระอนาคามิมรรค
๓๐.
ผู้บรรลุมรรคตั้งแต่ระดับใด จึงจะไม่ไปอบาย ?
ก.
อรหัตมรรค
ข.
อนาคามิมรรค
ค.
สกทาคามิมรรค
ง.
โสดาปัตติมรรค
๓๑.
คนที่ถูกไฟคือราคะเผาลนจิตใจ มักคิดเรื่องใด ?
ก.
คิดเรื่องกามารมณ์
ข.
คิดเรื่องแก้แค้น
ค.
คิดเรื่องเสน่ห์ยาแฝด
ง.
คิดเรื่องหวยใต้ดินบนดิน
๓๒.
พระธรรมเทศนาเพื่อฟอกจิตไม่ให้เป็นคนโหดร้าย ได้แก่ข้อใด ?
ก.
ทานกถา
ข.
สีลกถา
ค.
สัคคกถา
ง.
กามาทีนวกถา
๓๓.
อาวาสมัจฉริยะ คืออะไร ?
ก.
ตระหนี่สมบัติ
ข.
ตระหนี่ที่อยู่
ค.
ตระหนี่ลาภ
ง.
ตระหนี่ตระกูล
๓๔.
คนพิการทางร่างกาย คิดฆ่าตัวตาย ชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจของมารในข้อใด ?
ก.
มารคือเบญจขันธ์
ข.
มารคือกิเลส
ค.
มารคือมรณะ
ง.
มารคือเทวบุตร
๓๕.
ความมีเมตตา ช่วยแก้ไขคนที่มีจริตเช่นไร ?
ก.
ราคจริต
ข.
โทสจริต
ค.
โมหจริต
ง.
วิตักกจริต
๓๖.
ผู้ที่เชื่อง่ายโดยขาดเหตุผล เพราะมีจริตอะไร ?
ก.
ราคจริต
ข.
สัทธาจริต
ค.
พุทธิจริต
ง.
วิตักกจริต
๓๗.
คำว่า “ สันทิฏฐิโก ” ตรงกับข้อใด ?
ก.
ผู้บรรลุเห็นได้ด้วยตนเอง
ข.
ไม่ประกอบด้วยกาล
ค.
ควรเรียกให้มาดู
ง.
ควรน้อมเข้ามาใส่ตน
๓๘.
คำสอนในพระพุทธศาสนาทันสมัยตลอดกาล หมายถึงข้อใด ?
ก.
สันทิฏฐิโก
ข.
อกาลิโก
ค.
เอหิปัสสิโก
ง.
โอปนยิโก
๓๙.
ผู้มีสมาธิในการเรียนหนังสือ เทียบได้กับวิสุทธิข้อไหน ?
ก.
สีลวิสุทธิ
ข.
จิตตวิสุทธิ
ค.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ง.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
๔๐.
ผู้ไม่มีความสงสัยในบทเรียนต่าง ๆ เทียบได้กับวิสุทธิข้อไหน ?
ก.
จิตตวิสุทธิ
ข.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
ค.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ง.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
๔๑.
บุคคลใด ไม่เข้าลักษณะของผู้มีอวิชชา ?
ก.
ผู้ไม่รู้จักทุกข์
ข.
ผู้ไม่รู้จักอดีต
ค.
ผู้ไม่รู้จักกัน
ง.
ผู้ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท
๔๒.
ความไม่รู้จักสภาวะต่าง ๆ โดยความเป็นเหตุผลของกันและกัน จัดเป็นอวิชชาข้อใด ?
ก.
ไม่รู้จักทุกข์
ข.
ไม่รู้จักอนาคต
ค.
ไม่รู้จักปัจจุบัน
ง.
ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท
๔๓.
ข้อใดไม่ใช่ความหมายของพระพุทธคุณ บทว่า “ อรหํ ” ?
ก.
ผู้รู้
ข.
ผู้เว้นไกล
ค.
ผู้ควร
ง.
ผู้ไม่มีความลับ
๔๔.
สังฆคุณ บทว่า “ ปาหุเนยฺโย ” มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
เป็นผู้ควรของคำนับ
ข.
เป็นผู้ควรของต้อนรับ
ค.
เป็นผู้ควรของทำบุญ
ง.
เป็นผู้ควรทำอัญชลี
๔๕.
พระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีข้อใดเป็นพิเศษ ?
ก.
ทานบารมี
ข.
ศีลบารมี
ค.
สัจจบารมี
ง.
อธิษฐานบารมี
๔๖.
พระมหาชนก ได้บำเพ็ญบารมีข้อใดเป็นพิเศษ ?
ก.
ขันติบารมี
ข.
วิริยบารมี
ค.
เมตตาบารมี
ง.
ปัญญาบารมี
๔๗.
คนร้ายถูกตัดสินประหารชีวิต ชื่อว่าเป็นผู้ได้รับผลกรรมใด ?
ก.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
ข.
อุปปัชชเวทนียกรรม
ค.
อปราปรเวทนียกรรม
ง.
อโหสิกรรม
๔๘.
ชนกกรรม ส่งผลอย่างไร ?
ก.
ให้ผลในภพนี้
ข.
ให้ผลสำเร็จแล้ว
ค.
แต่งให้เกิด
ง.
สนับสนุนกรรมอื่น
๔๙.
คนฆ่าสุกร ก่อนตายส่งเสียงร้องเหมือนสุกรเพราะผลกรรมใด ?
ก.
ชนกกรรม
ข.
อุปฆาตกกรรม
ค.
พหุลกรรม
ง.
กตัตตากรรม
๕๐.
คนเดินเหยียบมดตายโดยไม่ตั้งใจ จัดเป็นกรรมใด ?
ก.
ครุกรรม
ข.
อุปฆาตกกรรม
ค.
พหุลกรรม
ง.
กตัตตากรรม
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๖. หน้า ๑๕๓-๑๖๓.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐