ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สมถกัมมัฏฐาน เป็นอุบายให้เกิดสิ่งใด ?
ก.
อุบายสงบกาย
ข.
อุบายสงบวาจา
ค.
อุบายสงบใจ
ง.
อุบายให้เกิดปัญญา
๒.
ปัญญาสิกขา จัดเข้าในกัมมัฏฐานข้อใด ?
ก.
สมถกัมมัฏฐาน
ข.
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ค.
มูลกัมมัฏฐาน
ง.
อารมณ์กับกัมมัฏฐาน
๓.
สิ่งใดคือผลโดยตรงที่เกิดจากการเจริญกัมมัฏฐาน ?
ก.
ทำงานเก่ง
ข.
ร่างกายสดชื่น
ค.
ความจำดี
ง.
จิตใจมั่นคง
๔.
เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติกัมมัฏฐาน ควรทำในที่ใด ?
ก.
ที่เงียบสงบ
ข.
ที่บ้าน
ค.
ที่วัด
ง.
ที่ป่าช้า
๕.
ก่อนปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐาน ควรนั่งกายตรง...?
ก.
ภาวนาพุทโธ
ข.
นับลมหายใจ
ค.
ดำรงสติให้มั่น
ง.
เพ่งมองสิ่งเดียว
๖.
กามคณ ๕ จัดเป็นกามประเภทใด ?
ก.
กิเลสกาม
ข.
วัตถุกาม
ค.
กามราคะ
ง.
กามตัณหา
๗.
เด็กติดเกมส์จนเสียการเรียน จัดว่าหลงในกามข้อใด ?
ก.
วัตถุกาม
ข.
กิเลสกาม
ค.
กามตัณหา
ง.
ภวตัณหา
๘.
กาม ให้โทษเสียหายอย่างไรบ้าง ?
ก.
ทะเลาะเบาะแว้ง
ข.
ชิงดีชิงเด่นกัน
ค.
ติดข้องอยู่ในโลก
ง.
ทำให้เห็นแก่ตัว
๙.
ปูชนียบุคคล หมายถึงบุคคลเช่นใด ?
ก.
คนที่น่าเคารพบูชา
ข.
คนที่เป็นใหญ่ในตำแหน่ง
ค.
คนที่มีจิตใจเบิกบาน
ง.
คนที่ริเริ่มสร้างสรรค์
๑๐.
การบูชาเช่นไร ที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่ายอดเยี่ยม ?
ก.
พุทธบูชา
ข.
ธรรมบูชา
ค.
สังฆบูชา
ง.
ปฏิบัติบูชา
๑๑.
ข้อใดจัดเป็นปฏิบัติบูชาที่ถูกต้องในครูอาจารย์ ?
ก.
ไปไหว้ขอพรทุกปี
ข.
มอบของขวัญให้
ค.
ดูแลยามเจ็บไข้
ง.
ปฏิบัติตามคำสอน
๑๒.
มารยาทในการต้อนรับแขกที่ควรปฏิบัติคือ ?
ก.
สังคหวัตถุ
ข.
ฆราวาสธรรม
ค.
ปฏิสันถาร
ง.
บูชา
๑๓.
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ จัดเข้าในสุขข้อใด ?
ก.
กายิกสุข
ข.
เจตสิกสุข
ค.
สามิสสุข
ง.
นิรามิสสุข
๑๔.
ข้อใดเป็นเหตุให้เกิดความสุขทางใจ ?
ก.
มีทรัพย์มากมาย
ข.
มียศถาบรรดาศักดิ์
ค.
มีลูกหลานเรียนจบสูง
ง.
ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
๑๕.
อาการเช่นใดเรียกว่าวิหิงสาวิตกครอบงำ ?
ก.
ทรมานสัตว์
ข.
ปองร้ายผู้อื่น
ค.
แย่งชิงของผู้อื่น
ง.
ฝักใฝ่ในกาม
๑๖.
เมื่อถูกวิหิงสาวิตกครองงำแล้วจะแก้ด้วยวิธีใด ?
ก.
เจริญเมตตา
ข.
เจริญกรุณา
ค.
เจริญมุทิตา
ง.
เจริญอุเบกขา
๑๗.
ความเบื่อหน่ายออกจากกาม จัดเป็นวิตกอะไร ?
ก.
กามวิตก
ข.
เนกขัมมวิตก
ค.
อัพยาบาทวิตก
ง.
อวิหิงสาวิตก
๑๘.
ไฟชนิดใดเป็นเหตุให้ลุ่มหลงไม่เข้าใจในเหตุและผลที่ถูกต้อง ?
ก.
ไฟคือราคะ
ข.
ไฟคือโทสะ
ค.
ไฟคือโมหะ
ง.
ไฟคือพยาบาท
๑๙.
เมื่อไฟคือโทสะเกิดขึ้น จะระงับด้วยวิธีใด ?
ก.
เจริญเมตตา
ข.
เจริญอสุภะ
ค.
เจริญปัญญา
ง.
เจริญอุเบกขา
๒๐.
ราคัคคิ ไฟคือราคะ ดับด้วยธรรมอะไร ?
ก.
อสุภสัญญา
ข.
เมตตา
ค.
ปัญญา
ง.
อุเบกขา
๒๑.
ลักษณะใด จัดเป็นโลกาธิปเตยยะ ?
ก.
คล้อยตามโลก
ข.
คล้อยตามกระแสนิยม
ค.
คล้อยตามความเชื่อ
ง.
คล้อยตามผู้นำโลก
๒๒.
ความเป็นใหญ่ชนิดใด เป็นสิ่งที่ควรยึดถือ ?
ก.
ความเห็นตนเป็นใหญ่
ข.
เสียงข้างมากเป็นใหญ่
ค.
ความถูกต้องเป็นใหญ่
ง.
ประชาชนเป็นใหญ่
๒๓.
ปัญญาหยั่งรู้ว่าการเกิดเป็นทุกข์ จัดเป็นญาณอะไร ?
ก.
สัจจญาณ
ข.
กิจจญาณ
ค.
กตญาณ
ง.
มรรคญาณ
๒๔.
ความมัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จัดเป็นอะไร ?
ก.
กิเลสตัณหา
ข.
กามตัณหา
ค.
ภวตัณหา
ง.
วิภวตัณหา
๒๕.
คนเบื่อชีวิตคิดอยากฆ่าตัวตาย จัดว่าเป็นตัณหาชนิดใด ?
ก.
กามตัณหา
ข.
กิเลสตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
ภวตัณหา
๒๖.
การทายใจทราบความคิดของคนอื่นได้ จัดเป็น...?
ก.
อิทธิปาฏิหาริยะ
ข.
อาเทสนาปาฏิหาริยะ
ค.
อนุสาสนีปาฏิหาริยะ
ง.
ยมกปาฏิหาริยะ
๒๗.
เรื่องทศชาติ ถูกบันทึกไว้ในปิฎกใด ?
ก.
พระวินัยปิฎก
ข.
พระสุตตันตปิฎก
ค.
พระธรรมปิฎก
ง.
พระอภิธรรมปิฎก
๒๘.
ศีลของพระภิกษุ ปรากฏอยู่ในปิฎกใด ?
ก.
พระวินัยปิฎก
ข.
พระสุตตันตปิฎก
ค.
พระธรรมปิฎก
ง.
พระอภิธรรมปิฎก
๒๙.
จริยาข้อใด ทำให้ความเป็นพุทธสมบูรณ์ ?
ก.
พุทธัตถจริยา
ข.
โลกัตถจริยา
ค.
ญาตัตถจริยา
ง.
อัตตทัตถจริยา
๓๐.
การสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ จัดเป็นพุทธจริยาข้อใด ?
ก.
พุทธัตถจริยา
ข.
โลกัตถจริยา
ค.
ญาตัตถจริยา
ง.
อัตตทัตถจริยา
๓๑.
มนุษย์เวียนว่ายตายเกิด เพราะเหตุใด ?
ก.
เพราะยังมีความชั่ว
ข.
เพราะยังมีกิเลสตัณหา
ค.
เพราะต้องรับผลกรรม
ง.
เพราะมีกิเลส กรรม วิบาก
๓๒.
คำว่า "
สิกขา
" ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
ศึกษาพระปริยัติธรรม
ข.
ท่องจำบทสวดมนต์
ค.
ฝึกหัดกาย วาจา ใจ
ง.
ควบคุมความประพฤติ
๓๓.
การไม่ทำความผิดทางกาย วาจา จัดเข้าในสิกขาข้อใด ?
ก.
อธิสีลสิกขา
ข.
อธิจิตตสิกขา
ค.
อธิปัญญาสิกขา
ง.
ไตรสิกขา
๓๔.
การสวดมนต์ก่อนนอน จัดเข้าในสิกขาข้อใด ?
ก.
อธิสีลสิกขา
ข.
อธิจิตตสิกขา
ค.
อธิปัญญาสิกขา
ง.
ไตรสิกขา
๓๕.
คนทนต่อทุกขเวทนาเพื่อเลิกยาเสพติด ตรงกับข้อใด ?
ก.
พิจารณาแล้วเสพ
ข.
พิจารณาแล้วอดกลั้น
ค.
พิจารณาแล้วเว้น
ง.
พิจารณาแล้วบรรเทา
๓๖.
อยากเห็นประชาชนเข้มแข็ง อยู่ดีกินดี จัดเข้าในอัปปมัญญา
ข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๗.
โครงการฝนหลวง จัดเข้าในอัปปมัญญาข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๘.
"
บัวเสมอน้ำจักบานในวันพรุ่ง
" อุปมาเหมือนบุคคลเช่นใด ?
ก.
ผู้จำได้เฉพาะบท
ข.
ผู้พอแนะนำสั่งสอนได้
ค.
ผู้รู้ธรรมเมื่ออธิบายความ
ง.
ผู้รู้ธรรมพอยกหัวข้อแสดง
๓๙.
พระโสดาบัน หมายถึงท่านผู้ใด ?
ก.
ผู้ห่างไกลจากกิเลส
ข.
ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก
ค.
ผู้ไม่กลับมาโลกนี้อีก
ง.
ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน
๔๐.
โอฆะ หมายถึงอะไร ?
ก.
กิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในโลก
ข.
กิเลสที่ทำให้จมอยู่ใน
วัฏฏทุกข์
ค.
กิเลสที่หมักดองในสันดาน
ง.
กิเลสที่เผาใจให้ร้อนรุ่ม
๔๑.
เทศนาที่แสดงโดยลำดับ เรียกว่าอะไร ?
ก.
อริยสัจ ๔
ข.
พรหมวิหารธรรม
ค.
อนุปุพพีกถา
ง.
ทศพิธราชธรรม
๔๒.
สีลกถา มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด ?
ก.
ฟอกจิตไม่ให้เป็นคนดุร้าย
ข.
ปฏิบัติฝึกหัดจิตใจสงบ
ค.
ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ง.
ทำจิตให้ผ่องแผ้ว
๔๓.
ครูที่ไม่ยอมสอนความรู้ทุกอย่าง เพราะกลัวศิษย์รู้ทัน จัดเป็น ?
ก.
กุลมัจฉริยะ
ข.
ลาภมัจฉริยะ
ค.
วัณณมัจฉริยะ
ง.
ธัมมมัจฉริยะ
๔๔.
ความเจ็บไข้ได้ป่วย จัดเป็นมารชนิดใด ?
ก.
ขันธมาร
ข.
กิเลสมาร
ค.
มัจจุมาร
ง.
เทวปุตตมาร
๔๕.
มารที่ผูกมัดใจให้มืดมนคือ...?
ก.
ขันธมาร
ข.
กิเลสมาร
ค.
มัจจุมาร
ง.
เทวปุตตมาร
๔๖.
ข้อใด เป็นลักษณะของคนมีราคะจริต ?
ก.
เชื่อคนง่าย
ข.
ชอบแต่งตัว
ค.
ชอบเล่นกีฬา
ง.
ชอบอ่านหนังสือ
๔๗.
"
วิชาเป็นอำนาจ มารยาทเป็นเสน่ห์
" สงเคราะห์เข้าใน
พุทธคุณข้อใด ?
ก.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ข.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ค.
ปุริสทมฺมสารถิ
ง.
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
๔๘.
สังฆคุณข้อว่า "
อญฺชลิกรณีโย
" หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
เป็นผู้ควรของคำนับ
ข.
เป็นผู้ควรของต้อนรับ
ค.
เป็นผู้ควบของทำบุญ
ง.
เป็นผู้ควรกราบไหว้
๔๙.
เรื่อง "
พระมหาชนก
" เป็นแบบอย่างของผู้บำเพ็ญบารมีใด ?
ก.
ทานบารมี
ข.
สัจจบารมี
ค.
วิริยะบารมี
ง.
ขันติบารมี
๕๐.
ข้อใดความหมายตรงกับคำว่า "
บารมี
" ในทางพระพุทธศาสนา ?
ก.
ผู้มีอำนาจวาสนา
ข.
ผู้บำเพ็ญคุณธรรมยวดยิ่ง
ค.
ผู้พร้อมด้วยบุญญาธิการ
ง.
ผู้มีบริวารคอยดูแลรับใช้
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๒. หน้า
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐