ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สมถกัมมัฏฐาน เป็นอุบายสงบใจจากอะไร ?
ก.
นิวรณ์
ข.
อุปกิเลส
ค.
วัตถุกาม
ง.
อกุศลกรรม
๒.
จะรู้แจ้งสรรพสิ่งตามเป็นจริง ต้องเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
อนุสสติ
ข.
อสุภะ
ค.
สมถะ
ง.
วิปัสสนา
๓.
ข้อใด จัดเป็นอามิสบูชา ?
ก.
ช่วยเหลือคนเจ็บป่วย
ข.
ให้เงินพ่อแม่
ค.
เคารพเชื่อฟังพ่อแม่
ง.
รักษาศีล
๔.
ข้อใด จัดเป็นอามิสปฏิสันถาร ?
ก.
เลี้ยงอาหาร
ข.
ยิ้มแย้มแจ่มใส
ค.
ต้อนรับสมฐานะ
ง.
มีมิตรไมตรี
๕.
อะไรเป็นกายิกสุข คือสุขทางกาย ?
ก.
อารมณ์ดี
ข.
จิตผ่องใส
ค.
ไม่มีโรค
ง.
ไม่ซึมเศร้า
๖.
คนมีกามวิตก มักมีพฤติกรรมเช่นใด ?
ก.
ขาดเมตตา
ข.
วิตกกังวล
ค.
โกรธง่าย
ง.
เจ้าชู้
๗.
จะบรรเทาพยาบาทวิตกด้วยวิธีใด ?
ก.
แผ่เมตตา
ข.
รักษาศีล
ค.
สวดมนต์
ง.
ฟังธรรม
๘.
ความคิดในทางใด จัดเป็นเนกขัมมวิตก ?
ก.
ออกจากกาม
ข.
ไม่พยาบาท
ค.
ไม่ปองร้าย
ง.
ไม่เบียดเบียน
๙.
คิดอย่างไร จัดเป็นอวิหิงสาวิตก ?
ก.
คิดไม่เบียดเบียน
ข.
คิดแก้ปัญหา
ค.
ไม่คิดปองร้าย
ง.
คิดออกบวช
๑๐.
คนที่เชื่อง่ายไร้เหตุผล เพราะถูกไฟใดเผา ?
ก.
ไฟราคะ
ข.
ไฟโทสะ
ค.
ไฟโมหะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๑.
โลกาธิปเตยยะ มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
ไม่ฟังใคร
ข.
ไม่ตามกระแส
ค.
ถือความยุติธรรม
ง.
ถือเสียงข้างมาก
๑๒.
ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า ญาณ ?
ก.
สมาธิชั้นสูง
ข.
ปัญญาหยั่งรู้
ค.
อิทธิฤทธิ์
ง.
ฌานสมาบัติ
๑๓.
ปัญญาหยั่งรู้ว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัจจญาณ
ข.
กิจจญาณ
ค.
กตญาณ
ง.
มรรคญาณ
๑๔.
ปัญญาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เรากำหนดรู้ได้แล้ว ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัจจญาณ
ข.
กิจจญาณ
ค.
กตญาณ
ง.
มรรคญาณ
๑๕.
ความทะยานอยากในวัตถุกาม ตรงกับข้อใด ?
ก.
กามตัณหา
ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๖.
ความอยากใด จัดเป็นวิภวตัณหา ?
ก.
อยากฆ่าตัวตาย
ข.
อยากเป็นเทวดา
ค.
อยากหน้าตาดี
ง.
อยากมีเงินทอง
๑๗.
พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงในที่ต่างๆ จัดอยู่ในปิฎกใด ?
ก.
พระวินัยปิฎก
ข.
พระสุตตันตปิฎก
ค.
พระอภิธรรมปิฎก
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๘.
ข้อใด จัดเป็นพุทธัตถจริยา ?
ก.
บัญญัติสิกขาบท
ข.
สงเคราะห์ชาวโลก
ค.
โปรดพุทธบิดา
ง.
โปรดสัตว์
๑๙.
มนุษย์เวียนตายเวียนเกิดในภพภูมิต่างๆ ด้วยอำนาจอะไร ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๐.
จะตัดกรรมได้ ต้องตัดอะไรก่อน ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
บาป
๒๑.
การฝึกอบรมกายวาจาใจ เป็นความหมายของข้อใด ?
ก.
สิกขา
ข.
จริยา
ค.
ปฏิปทา
ง.
ภาวนา
๒๒.
ปัญญากำหนดรู้อาการของไตรลักษณ์ จัดเข้าในสิกขาใด ?
ก.
อธิศีลสิกขา
ข.
อธิจิตตสิกขา
ค.
อธิปัญญาสิกขา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๓.
ลักษณะที่เสมอกันแห่งสังขารทั้งปวง เรียกว่าอะไร ?
ก.
ไตรสิกขา
ข.
ไตรภูมิ
ค.
ไตรลักษณ์
ง.
ไตรวัฏฏ์
๒๔.
ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารทั้งปวง มีสภาวะเช่นไร ?
ก.
ทนได้ยาก
ข.
ไม่เที่ยง
ค.
ไม่มีตัวตน
ง.
ไม่อยู่ในอำนาจ
๒๕.
อปัสเสนธรรมข้อว่า พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงเว้นอะไร ?
ก.
อาหาร
ข.
ยารักษาโรค
ค.
เครื่องนุ่งห่ม
ง.
สิ่งเสพติด
๒๖.
ภาวะจิตที่แผ่ไปโดยไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต เรียกว่าอะไร ?
ก.
พรหมวิหาร
ข.
อัปปมัญญา
ค.
ภาวนา
ง.
กรรมฐาน
๒๗.
การเจริญเมตตาอัปปมัญญา ควรเริ่มที่ใครก่อน ?
ก.
ตนเอง
ข.
มิตร
ค.
ศัตรู
ง.
สัตว์โลก
๒๘.
มีจิตริษยาเมื่อเห็นคนอื่นได้ดี ชื่อว่าไม่มีอัปปมัญญาข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๒๙.
ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นใด ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๓๐.
พระอนาคามี ละสังโยชน์ชนิดใดได้เด็ดขาด ?
ก.
สักกายทิฏฐิ
ข.
รูปราคะ
ค.
อรูปราคะ
ง.
มานะ
๓๑.
ศรัทธาในสัมปรายิกัตถประโยชน์ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
ข.
เชื่อพ่อแม่
ค.
เชื่อตำรา
ง.
เชื่อพระ
๓๒.
ผู้รู้จักบาปบุญคุณโทษ จัดเป็นสัมปทาใด ?
ก.
สัทธาสัมปทา
ข.
สีลสัมปทา
ค.
จาคสัมปทา
ง.
ปัญญาสัมปทา
๓๓.
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องทาน เพื่อประโยชน์อะไร ?
ก.
ละความตระหนี่
ข.
ไม่เบียดเบียน
ค.
ไม่พยาบาท
ง.
ไปสวรรค์
๓๔.
สัคคกถา มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด ?
ก.
ฟอกจิตให้สงบ
ข.
ลดตระหนี่
ค.
หนีกามารมณ์
ง.
มุ่งตรงสวรรค์
๓๕.
ความตระหนี่อะไร จัดเป็นอาวาสมัจฉริยะ ?
ก.
ที่อยู่
ข.
สมบัติ
ค.
ความรู้
ง.
ตระกูล
๓๖.
คนที่ไม่รู้จักแบ่งปัน หวงไว้บริโภคคนเดียว เพราะตระหนี่อะไร ?
ก.
ตระกูล
ข.
ลาภ
ค.
วรรณะ
ง.
ที่อยู่
๓๗.
คนทุจริต คิดมิชอบ เพราะถูกมารประเภทใดครอบงำ ?
ก.
กิเลสมาร
ข.
อภิสังขารมาร
ค.
มัจจุมาร
ง.
เทวปุตตมาร
๓๘.
คำว่ามาร เป็นโทษที่ล้างผลาญอะไร ?
ก.
ความดี
ข.
ความชั่ว
ค.
ความเศร้าหมอง
ง.
ความทุกข์
๓๙.
ขณะเจริญพระกัมมัฏฐาน มักง่วงนอนเพราะถูกนิวรณ์ใดครอบงำ ?
ก.
กามฉันท์
ข.
พยาบาท
ค.
ถีนมิทธะ
ง.
วิจิกิจฉา
๔๐.
อาฆาตมาดร้ายจองเวรผู้อื่น เพราะถูกนิวรณ์ใดครอบงำ ?
ก.
กามฉันท์
ข.
พยาบาท
ค.
ถีนมิทธะ
ง.
วิจิกิจฉา
๔๑.
วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเลสงสัยในเรื่องใด ?
ก.
บาปบุญ
ข.
พระรัตนตรัย
ค.
นรกสวรรค์
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๒.
ความรู้สึกสุขทุกข์ เฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
รูป
ข.
เวทนา
ค.
สัญญา
ง.
สังขาร
๔๓.
โสมนัส ในเวทนา ๕ หมายถึงข้อใด ?
ก.
ทุกข์กาย
ข.
ทุกข์ใจ
ค.
สุขกาย
ง.
สุขใจ
๔๔.
คนถือมงคลตื่นข่าว ชอบเชื่อข่าวลือ จัดเป็นคนมีจริตใด ?
ก.
ราคจริต
ข.
โทสจริต
ค.
โมหจริต
ง.
สัทธาจริต
๔๕.
คุณของพระธรรมข้อว่า สนฺทิฏฺฐิโก ตรงกับข้อใด ?
ก.
เห็นได้ด้วยตน
ข.
ไม่จำกัดกาล
ค.
รู้เฉพาะตน
ง.
เรียกให้มาดู
๔๖.
อปริหานิยธรรม ส่งเสริมสนับสนุนเรื่องใด ?
ก.
ความสามัคคี
ข.
ความขยัน
ค.
ความอดทน
ง.
ความพอเพียง
๔๗.
การประกอบอาชีพในทางสุจริต จัดเข้าในมรรคใด
ก.
สัมมาทิฏฐิ
ข.
สัมมาสังกัปปะ
ค.
สัมมากัมมันตะ
ง.
สัมมาอาชีวะ
๔๘.
พุทธคุณบทว่า โลกวิทู ตรงกับข้อใด ?
ก.
ผู้ตรัสรู้เอง
ข.
ผู้รู้แจ้งโลก
ค.
ผู้เสด็จไปดีแล้ว
ง.
ผู้มีโชค
๔๙.
สังฆคุณบทว่า ทกฺขิเณยฺโย หมายถึงบุคคลในข้อใด ?
ก.
ปุถุชน
ข.
กัลยาณชน
ค.
สาธุชน
ง.
อริยบุคคล
๕๐.
พระมหาชนก เป็นแบบอย่างของผู้บำเพ็ญบารมีธรรมใด ?
ก.
ทานบารมี
ข.
สีลบารมี
ค.
วิริยบารมี
ง.
สัจจบารมี
เอกสารอ้างอิง
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชั้นโท-เอก และธรรมศึกษาตรี-โท-เอก พ.ศ.๒๕๕๙. หน้า ๖๙-๗๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐