ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ขณะบริกรรมว่า พุทฺโธ พุทฺโธ จัดเป็นกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.
สมถกัมมัฏฐาน
ข.
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ค.
มูลกัมมัฏฐาน
ง.
อสุภกัมมัฏฐาน
๒.
พิจารณาเห็นร่างกายว่าไม่เที่ยง จัดเป็นกัมมัฏฐานใด ?
ก.
อสุภกัมมัฏฐาน
ข.
อนุสสติกัมมัฏฐาน
ค.
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ง.
สมถกัมมัฏฐาน
๓.
ข้อใด จัดเป็นกิเลสกาม ?
ก.
ความโลภ
ข.
รูปงาม
ค.
เสียงดี
ง.
กลิ่นหอม
๔.
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จัดเป็นอะไร ?
ก.
วัตถุกาม
ข.
กิเลสกาม
ค.
กามฉันทะ
ง.
กามราคะ
๕.
ข้อใด จัดเป็นอามิสบูชา ?
ก.
ไหว้พระ
ข.
สวดมนต์
ค.
ตักบาตร
ง.
นั่งสมาธิ
๖.
ข้อใด จัดเป็นปฏิบัติบูชา ?
ก.
ถวายสังฆทาน
ข.
รักษาศีล
ค.
ปิดทองพระ
ง.
ปล่อยนกปล่อยปลา
๗.
มารยาทในการต้อนรับแขกที่ควรปฏิบัติคือข้อใด ?
ก.
นำน้ำมาให้ดื่ม
ข.
ต้อนรับตามฐานะ
ค.
ถามถึงธุระที่มาเยือน
ง.
ถูกทุกข้อ
๘.
ข้อใด จัดเป็นอามิสปฏิสันถาร ?
ก.
นำน้ำมาให้ดื่ม
ข.
ต้อนรับตามฐานะ
ค.
ดูแลยามเจ็บไข้
ง.
กล่าวธรรมให้ฟัง
๙.
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ จัดเข้าในสุขข้อใด ?
ก.
สุขทางกาย
ข.
สุขทางใจ
ค.
สุขอิงอามิส
ง.
สุขไม่อิงอามิส
๑๐.
เจตสิกสุข คือสุขทางใจ มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
สุขเพราะได้รับมรดก
ข.
สุขเพราะได้ลาภลอย
ค.
สุขเพราะได้เลื่อนยศ
ง.
สุขเพราะไม่ถูกกิเลสครอบงำ
๑๑.
คนถูกกามวิตกครอบงำมักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
ปองร้ายผู้อื่น
ข.
อยากได้ของคนอื่น
ค.
ทรมานสัตว์
ง.
พูดคำหยาบ
๑๒.
จะบรรเทากามวิตกนั้น ด้วยวิธีใด ?
ก.
หมั่นเข้าวัด
ข.
หมั่นฟังธรรม
ค.
หมั่นบริจาค
ง.
หมั่นแผ่เมตตา
๑๓.
คิดอย่างไร จัดเป็นพยาบาทวิตก ?
ก.
คิดค้ายาบ้า
ข.
คิดอยากได้ของคนอื่น
ค.
คิดทำลายผู้อื่น
ง.
คิดเบียดเบียนสัตว์
๑๔.
คิดอย่างไร จัดเป็นอวิหิงสาวิตก ?
ก.
คิดไม่กล่าวร้าย
ข.
คิดไม่อยากได้
ค.
คิดไม่จองเวร
ง.
คิดไม่เบียดเบียน
๑๕.
คนที่ถูกไฟคือราคะเผาลนจิตใจ มักคิดเรื่องอะไร ?
ก.
คิดเรื่องแก้แค้น
ข.
คิดเรื่องเสน่ห์ยาแฝด
ค.
คิดเรื่องอาถรรพณ์
ง.
คิดเรื่องกามารมณ์
๑๖.
ฆ่ากันตายเพราะอารมณ์โกรธ เกิดจากไฟอะไร ?
ก.
ไฟราคะ
ข.
ไฟโทสะ
ค.
ไฟโมหะ
ง.
ไฟตัณหา
๑๗.
ความเป็นใหญ่ ใคร ๆ ก็ชอบ แต่ถืออะไรเป็นใหญ่จึงจะดี ?
ก.
ถือตนเองเป็นใหญ่
ข.
ถือประชาชนเป็นใหญ่
ค.
ถือธรรมเป็นใหญ่
ง.
ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่
๑๘.
ประชาธิปไตยที่แท้จริง มุ่งประโยชน์ของใคร ?
ก.
ชาติ
ข.
สังคม
ค.
ประชาชน
ง.
พรรคการเมือง
๑๙.
ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า ญาณ ?
ก.
การเข้าฌาน
ข.
สมาธิชั้นสูง
ค.
มีอิทธิฤทธิ์
ง.
ปัญญาหยั่งรู้
๒๐.
ข้อใด ไม่จัดเป็นตัณหา ?
ก.
อยากมีบ้านหลังแรก
ข.
อยากมีรถคันแรก
ค.
อยากอยู่คนเดียว
ง.
อยากช่วยผู้ประสบภัย
๒๑.
ข้อใด เป็นผลของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ?
ก.
ล่องหนได้
ข.
ทายใจคนได้
ค.
สอนผู้อื่นได้
ง.
ละชั่วประพฤติดี
๒๒.
อานิสงส์ของการปฏิบัติไตรสิกขา คือข้อใด ?
ก.
กำจัดโศก
ข.
กำจัดโรค
ค.
กำจัดภัย
ง.
กำจัดกิเลส
๒๓.
พุทธจริยาข้อใด ทรงประพฤติให้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลก ?
ก.
เทศน์โปรดพระญาติ
ข.
ประกาศคำสอน
ค.
บัญญัติสิกขาบท
ง.
ช่วยคนให้พ้นทุกข์
๒๔.
ข้อใด ไม่ใช่พุทธัตถจริยา ?
ก.
บัญญัติสิกขาบท
ข.
ประกาศคำสอน
ค.
โปรดพุทธบิดา
ง.
ตั้งพระศาสนา
๒๕.
วัฏฏะ แปลว่า วนหรือหมุน หมายเอาอาการเช่นไร ?
ก.
การหมุนของโลก
ข.
การหมุนไปแห่งธรรม
ค.
การเวียนว่ายตายเกิด
ง.
การแก่ เจ็บ ตาย
๒๖.
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ตัณหา
ข.
กิเลส
ค.
กรรม
ง.
วิบาก
๒๗.
ข้อใด จัดเป็นอธิปัญญาสิกขา ?
ก.
การรักษาจิตให้อยู่ในอำนาจ
ข.
การรักษาใจไม่ให้เศร้าหมอง
ค.
การรักษามารยาททางกาย
ง.
การรอบรู้สภาวธรรมทั้งปวง
๒๘.
ผู้ปฏิบัติตามไตรสิกขา มีผลอย่างไร ?
ก.
โลกสงบร่มเย็น
ข.
โลกเจริญก้าวหน้า
ค.
ทำให้โลกพัฒนา
ง.
เป็นมนุษย์สมบูรณ์
๒๙.
คนที่ลอบทำโจรกรรมยามค่ำคืน เปรียบได้กับข้อใด ?
ก.
เปรต
ข.
อสุรกาย
ค.
สัตว์นรก
ง.
สัตว์เดรัจฉาน
๓๐.
อาหารของสัตว์นรก ตรงกับข้อใด ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
ผลทาน
๓๑.
เมื่อถูกคนอื่นกล่าวถ้อยคำเสียดแทง ควรใช้อปัสเสนธรรมข้อใด ?
ก.
พิจารณาแล้วเสพ
ข.
พิจารณาแล้วอดกลั้น
ค.
พิจารณาแล้วเว้น
ง.
พิจารณาแล้วบรรเทา
๓๒.
ถูกชักชวนให้เสพสิ่งเสพติด ควรใช้อปัสเสนธรรมข้อใด ?
ก.
พิจารณาแล้วเสพ
ข.
พิจารณาแล้วอดกลั้น
ค.
พิจารณาแล้วเว้น
ง.
พิจารณาแล้วบรรเทา
๓๓.
ข้อใด กล่าวความหมายของอัปปมัญญาได้ถูกต้อง ?
ก.
แผ่เจาะจงบุคคล
ข.
แผ่เจาะจงสัตว์
ค.
แผ่ไม่เจาะจงสัตว์บุคคล
ง.
แผ่เจาะจงบุคคลและสัตว์
๓๔.
เห็นผู้ประสบภัย ควรเจริญอัปปมัญญาข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๕.
ผู้ใด อุปมาเหมือนดอกบัวพ้นน้ำ ?
ก.
ผู้รู้ธรรมพอยกหัวข้อแสดง
ข.
ผู้รู้ธรรมเมื่ออธิบายความ
ค.
ผู้พอแนะนำได้
ง.
ผู้ได้แต่ฟัง
๓๖.
ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้เด็ดขาด เรียกว่าอะไร ?
ก.
มรรค
ข.
ผล
ค.
นิพพาน
ง.
สมาบัติ
๓๗.
สัคคกถา มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด ?
ก.
ฟอกจิตให้สงบ
ข.
สยบความตระหนี่
ค.
หลีกหนีกามารมณ์
ง.
รื่นรมย์ในสวรรค์
๓๘.
ข้อใด จัดเป็นวัณณมัจฉริยะ ?
ก.
เห็นแก่ตัว
ข.
กลัวศิษย์จะรู้ทัน
ค.
กลัวคนอื่นจะดีกว่า
ง.
หวงทรัพย์สินทางปัญญา
๓๙.
ปัญจะขันธ์ได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุใด ?
ก.
ทำความลำบากให้
ข.
ทำให้เสียคน
ค.
ทำให้พิการ
ง.
ทำลายล้าง
๔๐.
โทมนัส ในเวทนา ๕ ตรงกับข้อใด ?
ก.
สุขใจ
ข.
สุขกาย
ค.
ทุกข์ใจ
ง.
ทุกข์กาย
๔๑.
คนมีปกติโกรธง่าย จะแก้ด้วยวิธีใด ?
ก.
เพ่งกสิณ
ข.
เจริญเมตตา
ค.
สนทนาธรรม
ง.
เจริญอสุภะ
๔๒.
คำว่า อกาลิโก มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
รู้เองเห็นเอง
ข.
รู้เฉพาะตน
ค.
ไม่จำกัดกาล
ง.
ขึ้นอยู่กับกาลเวลา
๔๓.
พิจารณาเห็นนามรูปโดยสามัญญลักษณะ จัดเป็นวิสุทธิใด ?
ก.
สีลวิสุทธิ
ข.
จิตตวิสุทธิ
ค.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ง.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
๔๔.
คำว่า สุคโต มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ปฏิบัติดีแล้ว
ข.
เสด็จไปดีแล้ว
ค.
ผู้ไม่ทำบาป
ง.
ผู้ไกลจากกิเลส
๔๕.
พุทธคุณข้อว่า ผู้ไกลจากกิเลส ตรงกับข้อใด ?
ก.
อรหํ
ข.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ค.
พุทฺโธ
ง.
ภควา
๔๖.
พระสงฆ์ในสังฆคุณ หมายถึงใคร ?
ก.
ผู้อยู่เป็นหมู่
ข.
ผู้บรรลุธรรมวิเศษ
ค.
ผู้สืบทอดพระศาสนา
ง.
ผู้ได้รับการอุปสมบท
๔๗.
คำว่า ญายปฏิปนฺโน มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ปฏิบัติดี
ข.
ปฏิบัติตรง
ค.
ปฏิบัติเพื่อรู้
ง.
ปฏิบัติสมควร
๔๘.
บริจาคอะไร จัดเป็นทานอุปบารมี ?
ก.
บริจาคทรัพย์
ข.
บริจาคโลหิต
ค.
บริจาคชีวิต
ง.
บริจาคถุงยังชีพ
๔๙.
กรรมใด ให้ผลในชาตินี้ ?
ก.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
ข.
อุปปัชชเวทนียกรรม
ค.
อปราปรเวทนียกรรม
ง.
อโหสิกรรม
๕๐.
ชนกกรรม ทำหน้าที่อย่างไร ?
ก.
กรรมแต่งให้เกิด
ข.
กรรมสนับสนุน
ค.
กรรมบีบคั้น
ง.
กรรมตัดรอน
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๔. หน้า ๒๔๓-๒๕๓.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐