ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. สมถกัมมัฏฐาน เป็นอุบายสงบใจจากอะไร ?
  ก. นิวรณ์ ข. อุปกิเลส
  ค. วัตถุกาม ง. อกุศลกรรม
 
๒. การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานมีประโยชน์อย่างไร ?
  ก. ทำให้จิตสงบ ข. ทำให้รู้แจ้ง
  ค. ทำให้จิตผ่องใส ง. ทำให้เบื่อหน่าย
 
๓. ข้อใด เป็นโทษของกิเลสกาม ?
  ก. ไม่รู้จักพอ ข. ก่อการทะเลาะวิวาท
  ค. ไม่มีเหตุผล ง. ไม่มีคนเชื่อใจ
 
๔. ข้อใด จัดเป็นวัตถุกาม ?
  ก. รูป เสียง กลิ่ม รส ข. ตา หู จมูก ลิ้น
  ค. ผม ขน เล็บ ฟัน ง. ดิน น้ำ ลม ไฟ
 
๕. ข้อใด จัดเป็นอามิสบูชา ?
  ก. ช่วยเหลือคนเจ็บป่วย ข. ให้เงินพ่อแม่
  ค. เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ง. รักษาศีล
 
๖. ปฏิบัติบูชา มีประโยชน์สูงสุดอย่างไร ?
  ก. ทำให้พ้นทุกข์ ข. ทำให้มีบริวาร
  ค. ทำให้จิตสงบ ง. ทำให้คนนับถือ
 
๗. ข้อใด จัดเป็นธัมมปฏิสันถาร ?
  ก. ให้หนังสือธรรมะ ข. ชวนปฏิบัติธรรม
  ค. ต้อนรับด้วยสิ่งของ ง. แนะนำอาชีพ
 
๘. อะไรเป็นเหตุให้เกิดความสุขทางใจ ?
  ก. ใช้จ่ายทรัพย์ ข. ใช้ชีวิตพอเพียง
  ค. มีสุขภาพแข็งแรง ง. มีทรัพย์สมบัติ
 
๙. จะบรรเทาพยาบาทวิตกด้วยวิธีใด ?
  ก. แผ่เมตตา ข. รักษาศีล
  ค. สวดมนต์ ง. ฟังธรรม
 
๑๐. วิหิงสาวิตกมีอะไรเป็นมูลเหตุ ?
  ก. ราคะ ข. โลภะ
  ค. โทสะ ง. โมหะ
 
๑๑. ราคา โทสะ โมหะ จัดเป็นไฟเพราะเหตุใด ?
  ก. เผาโลกให้เร่าร้อน ข. เผากิเลสให้เร่าร้อน
  ค. เผาจิตใจให้เร่าร้อน ง. เผากายให้เร่าร้อน
 
๑๒. กิเลสใด ทำให้คนให้มืดบอด ?
  ก. ราคะ ข. ริษยา
  ค. โทสะ ง. โมหะ
 
๑๓. อัตตาธิปเตยยะ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ถือตนเป็นใหญ่ ข. ถือสังคมเป็นใหญ่
  ค. ถือพวกพ้องเป็นใหญ่ ง. ถือความถูกต้องเป็นใหญ่
 
๑๔. คนยึดธรรมเป็นใหญ่ มีลักษณะเช่นไร ?
  ก. เห็นแก่พวกพ้อง ข. เห็นแก่ความถูกต้อง
  ค. เห็นแก่ประโยชน์ตน ง. เห็นแก่ความถูกใจ
 
๑๕. ข้อใด จัดเป็นภวตัณหา ?
  ก. อยากเป็นใหญ่ ข. อยากได้รับคำชม
  ค. อยากได้ของฝาก ง. อยากได้รับยกย่อง
 
๑๖. ความอยากใด จัดเป็นวิภวตัณหา ?
  ก. อยากออกจากตำแหน่ง ข. อยากมียศถาบรรดาศักดิ์
  ค. อยากเป็นมหาเศรษฐี ง. อยากเกิดบนสวรรค์
 
๑๗. ข้อใด จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริยะ ?
  ก. จูงใจคนได้ ข. ล่องหนได้
  ค. ดำดินได้ ง. ทายใจคนได้
 
๑๘. ข้อใด จัดเป็นพระวินัยปิฎก ?
  ก. คำอธิบาย ข. คำสั่ง
  ค. คำสอน ง. คำแนะนำ
 
๑๙. ข้อใด จัดเป็นโลกัตถจริยา ?
  ก. โปรดสัตว์โลก ข. สงเคราะห์พระญาติ
  ค. ประกาศพระศาสนา ง. บัญญัติสิกขาบท
 
๒๐. ข้อใด จัดเป็นพุทธัตถจริยา ?
  ก. บัญญัติสิกขาบท ข. สงเคราะห์ชาวโลก
  ค. โปรดพุทธบิดา ง. โปรดเวไนยสัตว์
 
๒๑. ข้อใด จัดเป็นกรรมในวัฏฏะ ?
  ก. เกิดกิเลส ข. ทำกรรม
  ค. รับผลกรรม ง. เวียนว่ายตายเกิด
 
๒๒. อธิสีลสิกขา คืออะไร ?
  ก. การฝึกกาย วาจา ข. การรักษาจิต
  ค. การรู้สภาวธรรม ง. การอบรมจิต
 
๒๓. อปัสเสนธรรมข้อว่า พิจารณาแล้วอดกลั้น ควรใช้เมื่อใด ?
  ก. ถูกทุกขเวทนาครอบงำ ข. ถูกกิเลสครอบงำ
  ค. ถูกความเสื่อมครอบงำ ง. ถูกพยาบาทครอบงำ
 
๒๔. อปัสเสนธรรมข้อว่า พิจารณาแล้วเว้น ตรงกับข้อใด ?
  ก. ทุกขเวทนา ข. บัณฑิต
  ค. ยารักษาโรค ง. คนพาล
 
๒๕. ข้อใด เป็นอารมณ์ของอัปปมัญญา ?
  ก. ต้นไม้ ข. ภูเขา
  ค. แม่น้ำ ง. สรรพสัตว์
 
๒๖. ข้อใด ไม่ใช่อานิสงส์ของการเจริญเมตตา ?
  ก. หลับเป็นสุข ข. ตื่นเป็นสุข
  ค. ไม่ฝันร้าย ง. ไม่มีโรคภัย
 
๒๗. สังโยชน์ข้อใดที่พระโสดาบันละไม่ได้ ?
  ก. สักกายทิฏฐิ ข. วิจิกิจฉา
  ค. สีลัพพตปรามาส ง. กามราคะ
 
๒๘. โอฆะเป็นชื่อของอะไร ?
  ก. กิเลส ข. ห้วงน้ำ
  ค. อาสวะ ง. สังโยชน์
 
๒๙. โอฆะข้อใด ทำให้เกิดความเห็นผิด ?
  ก. กาโมฆะ ข. ภโวฆะ
  ค. ทิฏโฐฆะ ง. อวิชโชฆะ
 
๓๐. ข้อใด ไม่ใช่คุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา ?
  ก. เชื่อกรรม ข. เชื่อมงคลตื่นข่าว
  ค. มีศรัทธา ง. มีศีลบริสุทธิ์
 
๓๑. เนยยะ ได้แก่บุคคลประเภทใด ?
  ก. ผู้รู้ธรรมได้ทันที ข. ผู้รู้ธรรมเมื่ออธิบายความ
  ค. ผู้พอแนะนำได้ ง. ผู้สักแต่ว่าฟัง
 
๓๒. บุคคลใด เปรียบเหมือนบัวเสมอน้ำ ?
  ก. อุคฆติตัญญู ข. วิปจิตัญญู
  ค. เนยยะ ง. ปทปรมะ
 
๓๓. ผู้บรรลุมรรคใด ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ?
  ก. โสดาปัตติมรรค ข. สกทาคามิมรรค
  ค. อนาคามิมรรค ง. อรหัตตมรรค
 
๓๔. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอนุปุพพีกถา เพื่อประโยชน์ใด ?
  ก. ฟอกอัธยาศัยให้หมดจด ข. กำจัดกิเลส
  ค. ขจัดความตระหนี่ ง. ละความเห็นแก่ตัว
 
๓๕. ข้อใด ไม่ใช่อานิสงส์การบริจาคทาน ?
  ก. มีฐานะร่ำรวย ข. เป็นที่รักของมหาชน
  ค. มีชื่อเสียง ง. มีคนอยากคบหา
 
๓๖. ข้อใด จัดเป็นความหมายของอาวาสมัจฉริยะ ?
  ก. หวงที่อยู่อาศัย ข. หวงเงินทอง
  ค. หวงวิชาความรู้ ง. หวงวงศ์สกุล
 
๓๗. เวทนาเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยอะไร ?
  ก. สัมผัส ข. กิเลส
  ค. กรรม ง. ตัณหา
 
๓๘. คนราคจริต มีลักษณะอย่างไร ?
  ก. อวดดี ข. ชอบโอ้อวด
  ค. ข่มคนอื่น ง. โมโหร้าย
 
๓๙. คนราคจริต ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
  ก. อสุภะ ข. พรหมวิหาร
  ค. อานาปานสติ ง. อนุสสติ
 
๔๐. เอหิปสฺสิโก มีความหมายอย่างไร ?
  ก. เห็นได้ด้วยตนเอง ข. ไม่จำกัดกาล
  ค. ควรเรียกให้มาดู ง. ควรน้อมเข้ามา
 
๔๑. ญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย จัดเป็นวิสุทธิอะไร ?
  ก. จิตตวิสุทธิ ข. ญาณทัสสนวิสุทธิ
  ค. ทิฏฐิวิสุทธิ ง. กังขาวิตรณวิสุทธิ
 
๔๒. เหตุเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่อะไร ?
  ก. ตัณหา ข. อวิชชา
  ค. อาสวะ ง. อุปาทาน
 
๔๓. ทางถึงความดับทุกข์ ได้แก่อะไร ?
  ก. ไตรสิกขา ข. มรรค
  ค. นิโรธ ง. ปฏิจจสมุปบาท
 
๔๔. ทรงหยั่งรู้ความเป็นไปของสรรพสิ่ง จัดเป็นพุทธคุณข้อใด ?
  ก. สุคโต ข. โลกวิทู
  ค. พุทฺโธ ง. ภควา
 
๔๕. พุทธคุณข้อใด เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลาย ?
  ก. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
  ค. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ง. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
 
๔๖. พระสงฆ์ได้ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติเช่นไร ?
  ก. ปฏิบัติดี ข. ปฏิบัติตรง
  ค. ปฏิบัติเป็นธรรม ง. ปฏิบัติสมควร
 
๔๗. เป็นผู้ควรของทำบุญ ตรงกับสังฆคุณข้อใด ?
  ก. อาหุเนยฺโย ข. ปานุเนยฺโย
  ค. ทกฺขิเณยฺโย ง. อญฺชลิกรณิโย
 
๔๘. บริจาคไตให้โรงพยาบาล จัดเป็นบารมีอะไร ?
  ก. ทานบารมี ข. ทานอุปบารมี
  ค. ทานปรมัตถบารมี ง. มหาบารมี
 
๔๙. การศึกษาธรรมเพื่อให้เกิดความรู้ จัดว่าบำเพ็ยบารมีใด ?
  ก. ปัญญาบารมี ข. วิริยบารมี
  ค. ขันติบารมี ง. สัจจบารมี
 
๕๐. อาสันนกรรมมีแก่ใคร ?
  ก. คนป่วยไข้ ข. คนใกล้ตาย
  ค. คนถูกจองจำ ง. คนตายแล้ว
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๕. หน้า ๒๓๕-๒๔๕.
         

ข้อสอบสนามหลวง