ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
คำว่า อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
ก.
การเข้าจำ
ข.
การจำพรรษา
ค.
การปฏิบัติธรรม
ง.
การอดอาหาร
๒.
อุโบสถศีล หมายถึง ศีลประเภทใด ?
ก.
ศีล ๕
ข.
ศีล ๘
ค.
ศีล ๑๐
ง.
ศีล ๒๒๗
๓.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก.
ให้ทาน
ข.
ฟังเทศน์
ค.
นั่งสมาธิ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔.
ปกติอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษาเดือนหนึ่งกี่วัน ?
ก.
๑ วัน
ข.
๓ วัน
ค.
๔ วัน
ง.
๓๐ วัน
๕.
ปฏิชาครอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
ก.
วันหนึ่งคืนหนึ่ง
ข.
คราวละ ๓ วัน
ค.
ตลอด ๓ เดือน
ง.
ตลอด ๔ เดือน
๖.
วันใด ไม่มีในการสมาทานรักษาปฏิชาครอุโบสถ ?
ก.
วันรับ
ข.
วันส่ง
ค.
วันรักษา
ง.
วันลา
๗.
ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษาต่อเนื่องนานเท่าไร ?
ก.
๑ เดือน
ข.
๒ เดือน
ค.
๓ เดือน
ง.
๔ เดือน
๘.
การสมาทานรักษาอุโบสถศีลประเภทใด มีอานิสงส์มาก ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
นิคคัณฐอุโบสถ
๙.
อุโบสถศีลประเภทใด เป็นของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
นิคคัณฐอุโบสถ
๑๐.
การสมาทานรักษาอุโบสถศีลประเภทใด มีอานิสงส์น้อย ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
นิคคัณฐอุโบสถ
๑๑.
สรณคมน์ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ถือเอาเป็นที่พึ่ง
ข.
ยึดมั่นถือมั่น
ค.
ถือเป็นอารมณ์
ง.
ถือฤกษ์ยาม
๑๒.
คำว่า ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ เป็นคำกล่าวอะไร ?
ก.
บูชาพระ
ข.
ประกาศอุโบสถ
ค.
รับสรณคมน์
ง.
อาราธนาศีล
๑๓.
ในไตรสรณคมน์ พระสงฆ์หมายถึงข้อใด ?
ก.
พระประธาน
ข.
พระประจำวัน
ค.
พระเถระ
ง.
พระอริยะ
๑๔.
การสมาทานอุโบสถศีล กำหนดให้ผู้สมาทานรักษาทำเรื่องใดก่อน ?
ก.
บูชาพระรัตนตรัย
ข.
สมาทานศีล
ค.
ประกาศอุโบสถ
ง.
เจริญภาวนา
๑๕.
ข้อใด เป็นเหตุให้ไตรสรณคมน์ขาด ?
ก.
เกิด
ข.
แก่
ค.
เจ็บ
ง.
ตาย
๑๖.
ข้อใด เป็นเหตุให้ไตรสรณคมน์เศร้าหมอง เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ?
ก.
ทำร้่ายศาสดา
ข.
ขโมยพระพุทธรูป
ค.
นับถือศาสดาอื่น
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๗.
บุคคลใด มีศรัทธามั่นคงที่สุดในพระรัตนตรัย ?
ก.
ปุถุชน
ข.
สามัญชน
ค.
โลกิยชน
ง.
อริยชน
๑๘.
สงสัยว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริงหรือ ทำให้ไตรสรณคมน์เป็นอย่างไร ?/td>
ก.
เศร้าหมอง
ข.
บกพร่อง
ค.
ด่างพร้อย
ง.
ขาดลงทันที
๑๙.
คำว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ กล่าวเพื่อระลึกถึงใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
มารดาบิดา
๒๐.
เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสรณคมนํ นิฏฺิฐิตํ ผู้สมาทานพึงรับพร้อมกันอย่างไร ?
ก.
สาธุ ภนฺเต
ข.
สาธุ สาธุ
ค.
สาธุ อนุโมทามิ
ง.
อาม ภนฺเต
๒๑.
การสมาทานรักษาอุโบสถศีลเหมาะแก่ใคร ?
ก.
คนสูงอายุ
ข.
คนทำงาน
ค.
คนวัยรุ่น
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๒.
การสมาทานรักษาอุโบสถศีล จัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุข้อใด ?
ก.
ทานมัย
ข.
สีลมัย
ค.
ภาวนามัย
ง.
อปจายนมัย
๒๓.
อุโบสถศีลข้อที่ ๑ บัญญัติขึ้นเพื่อให้งดเว้นเรื่องใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
เสพกาม
ง.
ดื่มสุราเมรัย
๒๔.
ข้อใด เป็นโทษของการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
ก.
เสียสติ
ข.
อายุสั้น
ค.
ยากจน
ง.
คนนินทา
๒๕.
อุโบสถศีลข้อใด บัญญัติขึ้นเพื่อให้เห็นความสำคัญของการมีชีวิต ?
ก.
ข้อ ๑
ข.
ข้อ ๒
ค.
ข้อ ๓
ง.
ข้อ ๔
๒๖.
ข้อใด เป็นการทำผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
ก.
ทำสัตว์ตาย
ข.
ลักทรัพย์มีเจ้าของ
ค.
เสพยาบ้า
ง.
พูดเรื่องไม่จริง
๒๗.
อาการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
เสพกาม
ง.
มุสาวาท
๒๘.
ข้อใด เป็นองค์ประกอบของการทำผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๒ ?
ก.
คิดจะฆ่า
ข.
คิดจะลัก
ค.
คิดจะเสพ
ง.
คิดจะพูด
๒๙.
อาการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ลักทรัพย์
ข.
เสพเมถุน
ค.
พูดเท็จ
ง.
ดื่มเหล้า
๓๐.
อุโบสถศีลข้อใด กำหนดให้ถือปฏิบัติต่างจากศีล ๕ ของคนทั่วไป ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
ถือพรหมจรรย์
ง.
ดื่มน้ำเมา
๓๑.
ข้อใด คนรักษาศีล ๕ และอุโบสถศีล ต้องงดเว้นเหมือนกัน ?
ก.
ถือพรหมจรรย์
ข.
พูดเท็จ
ค.
ฟ้อนรำ
ง.
ขับร้อง
๓๒.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อ ๓ ต้องงดเว้นเรื่องใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
เสพกาม
ง.
ดื่มสุรา
๓๓.
การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๔ เกิดขึ้นได้ทางใด ?
ก.
กายกับวาจา
ข.
กายกับใจ
ค.
วาจากับใจ
ง.
กายวาจาและใจ
๓๔.
องค์ประกอบใด ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๔ ขาด ?
ก.
เรื่องไม่จริง
ข.
คนอื่นเข้าใจ
ค.
พยายามพูด
ง.
คิดจะพูดให้ผิด
๓๕.
อุโบสถศีลข้อที่ ๔ บัญญัติขึ้นเพื่อให้สำรวมระวังเรื่องใด ?
ก.
การพูด
ข.
การกิน
ค.
การนอน
ง.
การคิด
๓๖.
ข้อใด เป็นเหตุแห่งความประมาทในการรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
พูดปด
ง.
ดื่มน้ำเมา
๓๗.
องค์ประกอบใด ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ขาด ?
ก.
ดื่มให้ล่วงลำคอ
ข.
จิตคิดจะดื่ม
ค.
พยายามดื่ม
ง.
มองคนดื่ม
๓๘.
การสมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ มุ่งถึงความมีคุณธรรมใด ?
ก.
ความมีเมตตา
ข.
ความซื่อสัตย์
ค.
ความไม่ประมาท
ง.
ความสามัคคี
๓๙.
เครื่องดื่มชนิดใด เป็นข้อห้ามสำหรับผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล ?
ก.
น้ำผึ้ง
ข.
น้ำชา
ค.
น้ำจัณฑ์
ง.
น้ำอ้อย
๔๐.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงรับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเวลาใด ?
ก.
เที่ยงวัน
ข.
บ่ายโมง
ค.
ย่ำค่ำ
ง.
เที่ยงคืน
๔๑.
ข้อใด เป็นองค์ประกอบการทำผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๖ ?
ก.
พยายามฆ่า
ข.
พยายามลัก
ค.
พยายามกลืนกิน
ง.
พยายามเสพ
๔๒.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ต้องงดเว้นเรื่องใด ?
ก.
อาหารค่ำ
ข.
พูดคำหยาบ
ค.
ร้องเพลง
ง.
สูบบุหรี่
๔๓.
การดูเช่นไร ไม่เป็นข้าศึกต่อกุศล ?
ก.
คอนเสิร์ต
ข.
ดวงชะตา
ค.
มหรสพ
ง.
อาการ ๓๒
๔๔.
อุโบสถศีลข้อที่ ๗ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้สมาทานรักษาตัดกังวลเรื่องใด ?
ก.
การกินอาหาร
ข.
การแต่งตัว
ค.
การนอน
ง.
การเมาสุรา
๔๕.
ข้อใด ไม่ใช่ข้อห้ามในการรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
ก.
ฟ้อนรำ
ข.
ขับร้อง
ค.
อาหาร
ง.
แต่งตัว
๔๖.
คำว่า เป็นข้าศึกต่อกุศล ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงข้อใด ?
ก.
การฟ้อนรำ
ข.
การขับร้อง
ค.
การแต่งตัว
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๗.
ที่นอนประเภทใด ที่ทรงอนุญาตให้ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลนอนได้ ?
ก.
ที่นอนสูงใหญ่
ข.
ที่นอนยัดนุ่น
ค.
ที่นอนยัดสำลี
ง.
ที่นอนยัดผ้า
๔๘.
อุโบสถศีลข้อที่ ๘ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้สมาทานรักษาตัดกังวลเรื่องใด ?
ก.
เรื่องกิน
ข.
เรื่องนอน
ค.
เรื่องเที่ยว
ง.
เรื่องแต่งตัว
๔๙.
การสมาทานรักษาอุโบสถศีลจะได้รับผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไร ?
ก.
การกระทำ
ข.
บุญบารมี
ค.
โชควาสนา
ง.
ชะตากรรม
๕๐.
คำว่า สีเลน โภคสมฺปทา เป็นคำกล่าวอะไร ?
ก.
ประกาศอุโบสถศีล
ข.
อาราธนาศีล
ค.
สมาทานศีล
ง.
บอกอานิสงส์ศีล
เอกสารอ้างอิง
สนามหลวงแผนกธรรม ปัญหาและเฉลยข้อสอบ พ.ศ.๒๕๖๐. หน้า
สำเนาข้อสอบจริง สอบวันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙