ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วัน์ ที่ ธ พ.ศ. ๒๕
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
คุณธรรมใด ใช้ควบคุมความประพฤติทางกายวาจา ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
สมาธิ
ง.
ปัญญา
๒.
อุโบสถศีล หมายถึงศีลประเภทใด ?
ก.
ศีล ๕
ข.
ศีล ๘
ค.
ศีล ๑๐
ง.
ศีล ๒๒๗
๓.
บุคคลที่อยู่ในวัยใด ควรรักษาอุโบสถศีล ?
ก.
วัยเด็ก
ข.
วัยทำงาน
ค.
วัยชรา
ง.
ทุกวัย
๔.
คำว่า ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ใครกล่าวครั้งแรก ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระอานนท์
ง.
พระอัสสชิ
๕.
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมเรียกว่าอะไร ?
ก.
ไตรรัตน์
ข.
ไตรสิกขา
ค.
ไตรลักษณ์
ง.
ไตรภูมิ
๖.
ผู้ประสงค์เข้าสู่พระพุทธศาสนา ต้องเข้าถึงทางใด ?
ก.
สิกขา ๓
ข.
รัตนะ ๓
ค.
ทวาร ๓
ง.
ภูมิ ๓
๗.
คำว่า พุทธะ แปลว่าอะไร ?
ก.
ผู้ไปดี
ข.
ผู้รู้แจ้งโลก
ค.
ผู้รู้
ง.
ผู้แจกธรรม
๘.
รัตนะใด รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในอบาย ?
ก.
พุทธรัตนะ
ข.
ธรรมรัตนะ
ค.
สังฆรัตนะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๙.
พระสงฆ์ มีความเสมอกันด้วยคุณธรรมใด ?
ก.
ศรัทธา - ปัญญา
ข.
ขันติ - โสรัจจะ
ค.
ทิฏฐิ - ศีล
ง.
หิริ - โอตตัปปะ
๑๐.
สรณะมีความหมายว่าทำลาย ได้แก่ทำลายสิ่งใด ?
ก.
สุข
ข.
ทุกข์
ค.
ศัตรู
ง.
โรค
๑๑.
บุคคลผู้ถึงสรณคมน์ มีกี่ประเภท ?
ก.
๑ ประเภท
ข.
๒ ประเภท
ค.
๓ ประเภท
ง.
๔ ประเภท
๑๒.
การขาดสรณคมน์ ย่อมมีในบุคคลประเภทใด ?
ก.
ปุถุชน
ข.
พระโสดาบัน
ค.
พระสกทาคามี
ง.
พระอนาคามี
๑๓.
สรณคมน์ของบุคคลใด มั่นคงที่สุด ?
ก.
ปุถุชน
ข.
สามัญชน
ค.
กัลยาณชน
ง.
อริยชน
๑๔.
พระเทวทัตขาดสรณคมน์เพราะเหตุใด ?
ก.
ตาย
ข.
ทำร้ายพระศาสดา
ค.
ถือศาสดาอื่น
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๕.
สรณคมน์เศร้าหมองเพราะไม่เชื่อเรื่องบุญบาปตรงกับข้อใด ?
ก.
ไม่รู้
ข.
รู้ผิด
ค.
สงสัย
ง.
ไม่เอื้อเฟื้อ
๑๖.
ผู้เข้าจำอุโบสถศีล พึงงดเว้น เรื่องใด ?
ก.
งานบ้าน
ข.
สวดมนต์
ค.
ฟังเทศน์
ง.
นั่งสมาธิ
๑๗.
จุดประสงค์การเข้าจำอุโบสถศีล เพื่อขัดเกลาอะไร ?
ก.
วัฏฏะ
ข.
กิเลส
ค.
กรรม
ง.
วิบาก
๑๘.
ปฏิชาครอุโบสถ กำหนดให้รักษาคราวละกี่วัน ?
ก.
๑ วัน
ข.
๓ วัน
ค.
๓ เดือน
ง.
๔ เดือน
๑๙.
วันจาตุททสี ในคำประกาศอุโบสถ หมายถึงวันกี่ค่ำ ?
ก.
๗ ค่ำ
ข.
๘ ค่ำ
ค.
๑๔ ค่ำ
ง.
๑๕ ค่ำ
๒๐.
อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
ก.
การเข้าจำ
ข.
การอดอาหาร
ค.
การปฏิบัติธรรม
ง.
การจำพรรษา
๒๑.
ผู้เ้ข้าจำอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนเช่นใด ?
ก.
พูดมาก
ข.
นอนมาก
ค.
กินมาก
ง.
นั่งสมาธิมาก
๒๒.
คำสั่งใด เป็นการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?
ก.
สั่งให้ฆ่่า
ข.
สั่งให้ลัก
ค.
สั่งให้ปด
ง.
สั่งให้รำ
๒๓.
องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาดตรงกับข้อใด ?
ก.
สัตว์ตาย
ข.
ลักมาได้
ค.
มีความยินดี
ง.
ดื่มล่วงลำคอ
๒๔.
อวิญญาณกทรัพย์ได้แก่ทรัพย์ประเภทใด ?
ก.
ช้างพลาย
ข.
ม้าลาย
ค.
วัวกระทิง
ง.
กบไสไม้
๒๕.
อทินนาทานา เวรมณี หมายถึงเจตนางดเว้นในเรื่องใด ?
ก.
การฆ่า
ข.
การลัก
ค.
การพูดเท็จ
ง.
การดื่มสุรา
๒๖.
องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๒ ขาด ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัตว์ตาย
ข.
ลักมาได้
ค.
มีความยินดี
ง.
ดื่มล่วงลำคอ
๒๗.
การลักลอบตัดไม้ในป่าสงวน ชื่อว่าล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อใด ?
ก.
ข้อที่ ๑
ข.
ข้อที่ ๒
ค.
ข้อที่ ๓
ง.
ข้อที่ ๔
๒๘.
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของหวงแหน เป็นกิริยาของคนเช่นใด ?
ก.
คนโหดร้าย
ข.
คนหัวขโมย
ค.
คนเจ้าชู้
ง.
คนขี้เมา
๒๙.
ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๓ พึงงดเว้น เรื่องใด ?
ก.
เสพเมถุน
ข.
พูดเท็จ
ค.
ดื่มสุรา
ง.
ฟ้อนรำ
๓๐.
อุโบสถศีลข้อที่ ๓ มุ่งขัดเกลาสิ่งใด ?
ก.
ราคะ
ข.
โลภะ
ค.
โทสะ
ง.
โมหะ
๓๑.
ข้อใด จัดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ?
ก.
คิดจะฆ่า
ข.
คิดจะลัก
ค.
คิดจะเสพ
ง.
คิดจะดื่ม
๓๒.
อุโุบสถศีลข้อว่า มุสาวาทา เวรมณี ให้เว้นจากคำพูดเช่นใด ?
ก.
คำเท็จ
ข.
คำสัตย์
ค.
คำไพเราะ
ง.
คำสุภาพ
๓๓.
ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อ ที่ ๔ พึงสำรวมระวังเรื่องใด ?
ก.
สิ่งที่ทำ
ข.
คำที่พูด
ค.
เรื่องที่คิด
ง.
จิตกำหนัด
๓๔.
ข้อใด เป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๔ ?
ก.
สัตว์มีชีวิต
ข.
จิตคิดจะลัก
ค.
เรื่องไม่จริง
ง.
สิ่งทำให้เมา
๓๕.
ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ พึงเว้น เครื่องดื่มประเภทใด ?
ก.
โซดา
ข.
กาแฟ
ค.
น้ำชา
ง.
เบียร์
๓๖.
อุโบสถศีลข้อใด ทำให้ผู้รักษามีสติรอบคอบ ?
ก.
ข้อที่ ๔
ข.
ข้อที่ ๕
ค.
ข้อที่ ๖
ง.
ข้อที่ ๗
๓๗.
วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ได้แก่อะไร ?
ก.
น้ำเมา
ข.
น้ำข้าว
ค.
น้ำผึ้ง
ง.
น้ำอ้อย
๓๘.
อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ให้ประโยชน์แก่ผู้รักษาอย่างไร ?
ก.
อายุยืน
ข.
มีทรัพย์
ค.
น่าเชื่อถือ
ง.
สุขภาพดี
๓๙.
สิ่งเป็นปฏิปักข์ต่ออุโบสถศีลข้อ ๕ คืออะไร ?
ก.
น้ำหอม
ข.
ดอกไม้
ค.
สุราเมรัย
ง.
ที่นอนสูง
๔๐.
คำว่า วิกาล ในอุโบสถศีลข้อที่ ๖ หมายถึงเวลาใด ?
ก.
เช้า
ข.
สาย
ค.
ก่อนเที่ยง
ง.
บ่าย
๔๑.
อุโบสถศีลข้อที่ ๖ บัญญัติไว้เพื่อให้ตัดความกังวลเรื่องใด ?
ก.
การพูด
ข.
การกิน
ค.
การแต่งตัว
ง.
การนอน
๔๒.
ความพยายามใด เป็นองค์แห่งอุโบสถศีลข้อที่ ๖ ?
ก.
ลัก
ข.
พูด
ค.
ดื่ม
ง.
กลืน
๔๓.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ห้ามทำเรื่องใด ?
ก.
อาบน้ำ
ข.
แปรงฟัน
ค.
ทายากันยุง
ง.
ทาน้ำหอม
๔๔.
คำว่า คีตะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ได้แก่กิริยาใด ?
ก.
ร้องทุกข์
ข.
ร้องเรียน
ค.
ร้องเพลง
ง.
ร้องไห้
๔๕.
คำว่า มัณฑนะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ได้แก่กิริยาใด ?
ก.
ฟ้อนรำ
ข.
ร้องเพลง
ค.
ตีกลอง
ง.
แต่งตัว
๔๖.
คำว่า คันธะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงสิ่งใด ?
ก.
ของหอม
ข.
ของคาว
ค.
ของหวาน
ง.
ของเคี้ยว
๔๗.
กิริยาใด ไม่เป็นข้อห้ามในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
ก.
ฟ้อนรำ
ข.
ขับร้อง
ค.
ประโคม
ง.
ฟังเทศน์
๔๘.
อุโบสถศีลข้อที่ ๘ บัญญัติไว้เพื่อตัดความกังวลในเรื่องใด ?
ก.
ที่นั่งนอน
ข.
ที่ดื่มกิน
ค.
ที่พักผ่อน
ง.
ที่พักแรม
๔๙.
ผู้เข้าจำอุโบสถศีล ควรสนทนากันในเรื่องใด ?
ก.
ครอบครัว
ข.
การงาน
ค.
เศรษฐกิจ
ง.
ศีลธรรม
๕๐.
อานิสงส์ของศีลที่เป็นโลกิยสมบัติ ตรงกับข้อใด ?
ก.
เป็นมนุษย์
ข.
เป็นโสดาบัน
ค.
เป็นสกทาคามี
ง.
เป็นอนาคามี
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๘. หน้า ๑๘๘-๑๙๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐