ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. คุณธรรมใด เป็นพื้นฐานรองรับกุศลธรรมชั้นสูง ?
  ก. ทาน ข. ศีล
  ค. สมาธิ ง. ปัญญา
 
๒. ข้อใด เป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ?
  ก. ฌาน ข. มรรค
  ค. ผล ง. นิพพาน
 
๓. การรักษาศีลเพื่อเป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ตรงกับ
ข้อใด ?
  ก. โสดาปัตติผล ข. สกทาคามิผล
  ค. อนาคามิผล ง. อรหัตตผล
 
๔. ข้อใด เป็นการรักษาศีลให้เกิดความเรียบร้อยทางกาย ?
  ก. คิดดี ข. พูดดี
  ค. ทำดี ง. ใจดี
 
๕. ข้อใด เป็นสรณะสูงสุดของพุทธบริษัท ?
  ก. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ข. พระพรหม
  ค. พระภูมิเจ้าที่ ง. พระรัตนตรัย
 
๖. ผู้รักษาอุโบสถศีล เป็นเหตุให้เกิดความบริสุทธิ์ทางใด ?
  ก. กาย วาจา ข. กาย ใจ
  ค. วาจา ใจ ง. กาย วาจา ใจ
 
๗. คำว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พระพุทธเจ้าตรัสเน้นเรื่องใด ?
  ก. การบรรพชาอุปสมบท ข. แสดงตนเป็นพุทธมามกะ
  ค. การรักษาอุโบสถศีล ง. การถึงสรณคมน์
 
๘. คำว่า พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ได้แก่รู้อะไร ?
  ก. อริยสัจ ข. อริยศีล
  ค. อริยทรัพย์ ง. อริยอุโบสถ
 
๙. พระธรรม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่เช่นใด ?
  ก. อบาย ข. มนุษยโลก
  ค. เทวโลก ง. พรหมโลก
 
๑๐. คุณธรรมใด ทำให้พระสงฆ์มีความเสมอภาคกัน ?
  ก. ทิฏฐิ ศีล ข. เมตตา กรุณา
  ค. สติ สัมปชัญญะ ง. หิริ โอตตัปปะ
 
๑๑. ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ต้องปฏิบัติตามข้อใด ?
  ก. คำสอน ข. ความเชื่อ
  ค. ค่านิยม ง. ความพึงพอใจ
 
๑๒. ข้อใด กล่าวถึงพระรัตนตรัยได้ถูกต้อง ?
  ก. เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ข. เป็นที่บันดาลทุกสิ่ง
  ค. เป็นที่ชำระบาป ง. เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
 
๑๓. วิธีใด เป็นการเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงที่สุด ?
  ก. สมาทานตนเป็นสาวก ข. มอบตนเป็นสาวก
  ค. ทุ่มเทความเลื่อมใส ง. ทำหน้าที่ชาวพุทธ
 
๑๔. คำว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส กล่าว
นอบน้อมใคร ?
  ก. พระรัตนตรัย ข. พระพุทธเจ้า
  ค. พระธรรม ง. พระสงฆ์
 
๑๕. พระสงฆ์ ได้ชื่อว่าเป็นสรณะ เพราะเหตุใด ?
  ก. กำจัดภัย ข. ไม่ให้ตกไปในอบาย
  ค. เป็นนาบุญของโลก ง. กำจัดกิเลส
 
๑๖. ข้อใด เป็นเหตุให้สรณคมน์เศร้าหมอง ?
  ก. ทำร้ายพระศาสดา ข. นับถือศาสดาอื่น
  ค. ตาย ง. ทำลายพระเจดีย์
 
๑๗. ข้อใด เป็นเหตุให้สรณคมน์ขาด ?
  ก. นับถือศาสดาอื่น ข. ขโมยพระพุทธรูป
  ค. ทำลายคัมภีร์พระธรรม ง. ให้ร้ายพระรัตนตรัย
 
๑๘. ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุทำให้สรณคมน์เศร้าหมอง ?
  ก. สงสัยในพระพุทธเจ้า ข. สงสัยในการทำดีได้ดี
  ค. สงสัยในพระสงฆ์ ง. สงสัยในพญานาค
 
๑๙. ไม่เรียนพระธรรมแต่นำไปสอนอย่างผิด ๆ เป็นความเศร้าหมอง
ของสรณคมน์ เรื่องใด ?
  ก. ความไม่รู้ ข. ความรู้ผิด
  ค. ความสงสัย ง. ความไม่เอื้อเฟื้อ
 
๒๐. การเข้าถึงสรณคมน์ของบุคคลใด มีความมั่นคงน้อยที่สุด ?
  ก. ปุถุชน ข. พระโสดาบัน
  ค. พระสกทาคามี ง. พระอรหันต์
 
๒๑. พระสงฆ์ในข้อใด เปรียบเหมือนคนเดินทางถึงที่หมายแล้ว ?
  ก. สมมติสงฆ์ ข. สาวกสงฆ์
  ค. อริยสงฆ์ ง. ภิกษุสงฆ์
 
๒๒. ศีลขั้นสูงสำหรับคฤหัสถ์ เรียกว่าอะไร ?
  ก. นิจศีล ข. อุโบสถศีล
  ค. จุลศีล ง. ปาติโมกขสังวรศีล
 
๒๓. อุโบสถ แปลว่าอะไร ?
  ก. การเข้าจำ ข. การอดอาหาร
  ค. การปฏิบัติธรรม ง. การจำพรรษา
 
๒๔. อุโบสถศีล มีทั้งหมดกี่สิกขาบท ?
  ก. ๕ สิกขาบท ข. ๘ สิกขาบท
  ค. ๑๐ สิกขาบท ง. ๒๒๗ สิกขาบท
 
๒๕. ข้อใด เกี่ยวข้องกับอุโบสถนอกพระพุทธศาสนา ?
  ก. การอดอาหาร ข. การถึงสรณคมน์
  ค. การรักษาศีล ง. การสมาทานองค์อุโบสถ
 
๒๖. ข้อใด เป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ?
  ก. แรม ๑ ค่ำ ข. แรม ๗ ค่ำ
  ค. แรม ๑๕ ค่ำ ง. แรม ๙ ค่ำ
 
๒๗. ปฏิชาครอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
  ก. คราวละ ๑ วัน ข. คราวละ ๓ วัน
  ค. คราวละ ๓ เดือน ง. คราวละ ๔ เดือน
 
๒๘. ปกติอุโบสถกับปฏิชาครอุโบสถ มีความต่างกันในเรื่องใด ?
  ก. วันเวลาที่รักษา ข. วิธีรักษา
  ค. คำประกาศ ง. คำอาราธนา
 
๒๙. ในปัญจอุโบสถชาดก ฤาษีรักษาอุโบสถเพื่อข่มอะไร ?
  ก. ตัณหา ข. มานะ
  ค. ทิฏฐิ ง. อิสสา
 
๓๐. ในปัญจอุโบสถชาดกกล่าวว่า ทุกข์ภัยอันตรายที่เกิดแก่มนุษย์
เพราะขาดอะไร ?
  ก. ศีลธรรม ข. ครุธรรม
  ค. วุฑฒิธรรม ง. โลกธรรม
 
๓๑. องค์แห่งอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาด เพราะความพยายามใด ?
  ก. พยายามฆ่า ข. พยายามลัก
  ค. พยายามเสพ ง. พยายามดื่ม
 
๓๒. อุโบสถศีลข้อใด ขาดเพราะมีเจตนาล่วงละเมิดด้วยตนเองและ
ใช้ผู้อื่น ?
  ก. อทินนาทาน ข. อพรหมจรรย์
  ค. มุสาวาท ง. สุราเมรัย
 
๓๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๓ บัญญัติขึ้นเพื่อระงับกิเลสใด ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ราคะ
 
๓๔. อุโบสถศีลข้อที่ ๓ เป็นข้อห้ามเกี่ยวข้องกับทวารใด ?
  ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
  ค. มโนทวาร ง. ไตรทวาร
 
๓๕. สร้างเรื่องให้คนอื่นเข้าใจผิด ชื่อว่าล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อใด ?
  ก. ปาณาติบาต ข. อพรหมจรรย์
  ค. มุสาวาท ง. วิกาลโภชนา
 
๓๖. องค์แห่งมุสาวาทข้อใด เป็นเหตุให้อุโบสถศีลขาด ?
  ก. เรื่องไม่จริง ข. จิตคิดจะพูดให้ผิด
  ค. พยายามพูด ง. คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
 
๓๗. ข้อใด เป็นองค์แห่งอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ?
  ก. จิตคิดจะฆ่า ข. จิตคิดจะลัก
  ค. จิตคิดจะพูดให้ผิด ง. จิตคิดจะดื่ม
 
๓๘. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ ต้องเว้นเครื่องดื่มชนิดใด ?
  ก. เบียร์ ข. น้ำอัดลม
  ค. น้ำชา ง. กาแฟ
 
๓๙. สิกขาบทที่ ๖ แห่งอุโบสถศีล มีคำกล่าวอย่างไร ?
  ก. ปาณาติปาตา เวรมณี ข. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี
  ค. มุสาวาทา เวรมณี ง. วิกาลโภชนา เวรมณี
 
๔๐. อุโบสถศีลข้อที่ ๗ กำหนดให้ผู้สมาทานรักษา ต้องเว้นเรื่องใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. แต่งตัว ง. ดื่มสุรา
 
๔๑. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ มีความเกี่ยวข้องกับอิริยาบถใด ?
  ก. ยืน เดิน ข. เดิน นั่ง
  ค. นั่ง นอน ง. นอน ยืน
 
๔๒. ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๘ ไม่ควรทำกิริยาใด ?
  ก. ยืนบนที่นอนใหญ่ ข. เดินบนตั่งมีเท้าสูง
  ค. นั่งบนผ้าขาว ง. นอนบนเครื่องลาดอันวิจิตร
 
๔๓. พิธีรักษาอุโบสถศีล ผู้สมาทานควรทำสิ่งใดก่อน ?
  ก. กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ข. ประกาศอุโบสถ
  ค. กล่าวคำอาราธนาศีล ง. รับไตรสรณคมน์
 
๔๔. ผู้รักษาอุโบสถศีล ควรระลึกถึงสิ่งใด ?
  ก. พระรัตนตรัย ข. ลูกหลาน
  ค. หน้าที่การงาน ง. ทรัพย์สมบัติ
 
๔๕. การรักษาอุโบสถศีลจะมีอานิสงส์มาก เพราะอาศัยคุณธรรมใด ?
  ก. อิทธิบาท ๔ ข. ฆราวาสธรรม ๔
  ค. อริยสัจ ๔ ง. จักร ๔
 
๔๖.

คำสรุปศีลที่ว่า สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ แสดงถึงอานิสงส์ที่ให้
สมบัติใด ?

  ก. มนุษย์สมบัติ ข. สวรรค์สมบัติ
  ค. นิพพานสมบัติ ง. ทรัพย์สมบัติ
 
๔๗. การรักษาศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคสมบัติ ตรงกับข้อใด ?
  ก. สีเลน สุคตึ ยนฺติ ข. สีเลน โภคสมฺปทา
  ค. สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ง. ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
 
๔๘. เหตุใด ผู้รักษาอุโบสถศีลจึงปรารถนานิพพานสมบัติ ?
  ก. เป็นเป้าหมายสูงสุดใน
พระพุทธศาสนา
ข. เป็นสมบัติที่ทุกคนอยากเห็น
  ค. เป็นอานิสงส์ของอุโบสถศีล ง. เป็นความนิยมของชาวพุทธ
 
๔๙. เมื่อสิ้นสุดการรักษาอุโบสถศีลแล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
  ก. สมาทานรักษาศีล ๕ ข. พักผ่อนตามอัธยาศัย
  ค. จัดแจงการงานให้ดี ง. ดำเนินชีวิตตามปกติ
 
๕๐. ผู้รักษาอุโบสถศีล ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ?
  ก. บังเกิดในสวรรค์ ข. มีความสุข
  ค. ปลอดภัยในชีวิต ง. ถูกทุกข้อ
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๔. หน้า ๒๖๗-๒๗๗.
         

ข้อสอบสนามหลวง