ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
คำว่า
“ อุโบสถศีล ”
หมายถึงศีลอะไร ?
ก.
ศีล ๕
ข.
ศีล ๘
ค.
ศีล ๑๐
ง.
ศีล ๒๒๗
๒.
การรักษาอุโบสถศีล จัดเข้าในพิธีใด ?
ก.
บุญพิธี
ข.
กุศลพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
ปกิณกะ
๓.
ใครกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงบัญญัติอุโบสถ ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระโมคคัลลานะ
ค.
พระเจ้าพิมพิสาร
ง.
พระเจ้าอชาตศัตรู
๔.
ข้อใด กล่าวถึงพิธีรักษาอุโบสถได้ถูกต้อง ?
ก.
ประกาศอุโบสถแล้ว
อาราธนาศีล
ข.
อาราธนาศีลแล้ว
ประกาศอุโบสถ
ค.
อาราธนาศีลแล้ว
อธิษฐานอุโบสถ
ง.
อธิษฐานอุโบสถแล้ว
ประกาศอุโบสถ
๕.
อุโบสถศีล มี ๘ …… ?
ก.
ข้อ
ข.
หมวด
ค.
สิกขา
ง.
สิกขาบท
๖.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนอย่างไร ?
ก.
ให้ทาน
ข.
ฟังเทศน์
ค.
นั่งสมาธิ
ง.
ถูกทุกข้อ
๗.
ข้อใด เป็นวิธีการรักษาอุโบสถนอกพุทธกาล ?
ก.
รักษาศีล ๕
ข.
อดอาหาร
ค.
สมาทานศีล ๘
ง.
รับสรณคมน์
๘.
ข้อใด เป็นวิธีการรักษาอุโบสถสมัยพุทธกาล ?
ก.
รักษาศีล ๘
ข.
อดอาหาร
ค.
รับสรณคมน์
ง.
ถูกทุกข้อ
๙.
อาการเช่นไร เรียกว่า การรักษาศีล ?
ก.
การละเมิดข้อห้าม
ข.
การไม่พูดคุยกัน
ค.
การเว้นจากข้อห้าม
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๐.
อุโบสถใด ที่นิยมสมาทานรักษาในวันพระข้างขึ้น ข้างแรม ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
อริยอุโบสถ
ค.
นิคัณฐอุโบสถ
ง.
สังฆอุโบสถ
๑๑.
ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษาช่วงฤดูใด ?
ก.
ฤดูร้อน
ข.
ฤดูฝน
ค.
ฤดูหนาว
ง.
ฤดูใบไม้ผลิ
๑๒.
ปาฏิหาริยอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
ก.
วันหนึ่งคืนหนึ่ง
ข.
คราวละ ๓ วัน
ค.
ตลอด ๓ เดือน
ง.
ตลอด ๔ เดือน
๑๓.
ปกติอุโบสถ กำหนดให้สมาทานรักษานานเท่าไร ?
ก.
วันหนึ่งคืนหนึ่ง
ข.
คราวละ ๓ วัน
ค.
ตลอด ๓ เดือน
ง.
ตลอด ๔ เดือน
๑๔.
ข้อใด ไม่ตรงกับวันในปฏิชาครอุโบสถ ?
ก.
วันรับ
ข.
วันส่ง
ค.
วันรักษา
ง.
วันลา
๑๕.
ในปัญจุโปสถชาดก ใครรักษาอุโบสถเพื่อข่มความโกรธ ?
ก.
ฤาษี
ข.
งู
ค.
หมี
ง.
สุนัขจิ้งจอก
๑๖.
ในปัญจุโปสถชาดก ใครรักษาอุโบสถเพื่อข่มความโลภ ?
ก.
ฤาษี
ข.
นกพิราบ
ค.
หมี
ง.
สุนัขจิ้งจอก
๑๗.
เมื่อถึงวันอุโบสถ ใครสมาทานรักษาศีลอุโบสถ ?
ก.
ภิกษุ
ข.
สามเณร
ค.
อุบาสก อุบาสิกา
ง.
คนทั่วไป
๑๘.
ข้อใด ผู้สมาทานรักษาศีลอุโบสถไม่พึงกระทำ ?
ก.
นับอายุและวัย
ข.
สนทนาถึงลูกถึงคน
ค.
ฟังธรรม
ง.
เล่าเรื่องพุทธประวัติ
๑๙.
คำประกาศอุโบสถ กำหนดให้ทำต่อจากขั้นตอนใด ?
ก.
บูชาพระรัตนตรัย
ข.
รับสรณคมน์
ค.
อาราธนาศีล
ง.
สมาทานศีล
๒๐.
คำว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เป็นคำอะไร ?
ก.
คำบูชาพระรัตนตรัย
ข.
คำประกาศอุโบสถ
ค.
คำรับสรณคมน์
ง.
คำอาราธนาศีล
๒๑.
ข้อใด ไม่มีความจำเป็นในการรักษาอุโบสถศีล ?
ก.
รับสรณคมน์
ข.
สมาทานศีล ๘
ค.
สมาทานรักษาเองก็ได้
ง.
ต้องสมาทานรักษาที่วัด
๒๒.
การแสดงธรรมกัณฑ์อุโบสถ ตรงกับการเทศน์ในข้อใด ?
ก.
เทศน์มหาชาติ
ข.
เทศน์ตามกาลนิยม
ค.
เทศน์งานมงคล
ง.
เทศน์งานอวมงคล
๒๓.
ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบทำให้ศีลข้อปาณาติบาตขาด ?
ก.
สัตว์มีชีวิต
ข.
รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
ค.
จิตคิดจะฆ่า
ง.
สัตว์ตายด้วยความคิดนั้น
๒๔.
ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบทำให้ศีลข้ออทินนาทานขาด ?
ก.
ทรัพย์มีเจ้าของ
ข.
รู้ว่าทรัพย์มีเจ้าของ
ค.
จิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
ง.
ลักมาได้เพราะคนอื่นช่วย
๒๕.
คำว่า อพรหมจรรย์ หมายถึงข้อใด ?
ก.
การเสพอสัทธรรม
ข.
การเสพยาบ้า
ค.
การเสพบัณฑิต
ง.
การเสพคนพาล
๒๖.
ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบทำให้ศีลข้อมุสาวาทขาด ?
ก.
เรื่องไม่จริง
ข.
รู้ว่าเรื่องไม่จริง
ค.
จิตคิดจะพูดให้ผิด
ง.
คนอื่นเข้าใจ
๒๗.
ข้อใด ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลบริโภคในเวลาวิกาลไม่ได้ ?
ก.
น้ำซุป
ข.
เนยข้น
ค.
น้ำผึ้ง
ง.
น้ำอ้อย
๒๘.
ข้อใด ไม่ผิดอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?
ก.
ทาน้ำหอมดับกลิ่นตัว
ข.
ทาน้ำมันให้ผมอยู่ทรง
ค.
ทาแป้งรักษาโรคคัน
ง.
ทาแป้งดับความร้อน
๒๙.
ในปัญจุโปสถชาดก ฤาษีเห็นว่า อะไรเป็นคุณใหญ่ ในโลกนี้ ?
ก.
ชาติตระกูล
ข.
ศีล
ค.
เมตตา
ง.
ขันติ
๓๐.
อัชฌาจารณียวัตถุ (วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง) เป็นองค์ของอุโบสถศีล
ข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
อพรหมจรรย์
ง.
มุสาวาท
๓๑.
ข้อใด ไม่ใช่อุโบสถศีล ?
ก.
ไม่ใช้เครื่องหอม
ข.
ไม่ดูการละเล่น
ค.
ไม่จับเงินทอง
ง.
ไม่ใช้เครื่องลาดวิจิตร
๓๒.
อุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ
ข.
นิคัณฐอุโบสถ
ค.
โคปาลกอุโบสถ
ง.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
๓๓.
อุโบสถใด ให้ผู้สมาทานรักษาได้รับผลมากที่สุด ?
ก.
โคปาลกอุโบสถ
ข.
นิคัณฐอุโบสถ
ค.
อริยอุโบสถ
ง.
ไม่มีข้อถูก
๓๔.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลเช่นไร ได้ผลน้อยที่สุด ?
ก.
ต้องการชื่อเสียง
ข.
ต้องการผลบุญ
ค.
ต้องการความสงบ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๕.
พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ในอุโบสถสูตรว่า สิ่งที่จะชำระจิตใจที่เศร้าหมอง
ด้วยอำนาจกิเลสให้บริสุทธิ์ได้นั้น คืออะไร ?
ก.
ถวายสังฆทาน
ข.
รดน้ำมนต์
ค.
ไหว้พระ ๙ วัด
ง.
นึกถึงศีล
๓๖.
ข้อใด ไม่ใช่การรักษาอุโบสถศีลตามพระอรหันต์ ?
ก.
ละปาณาติบาต
ข.
ละอทินนาทาน
ค.
ละอพรหมจรรย์
ง.
ละทุกข์
๓๗.
พระอรหันต์ได้ชื่อว่ามีถ้อยคำมั่นคง ไม่ลวงโลก เพราะศีลข้อใด ?
ก.
เว้นอาหารในเวลาวิกาล
ข.
ประพฤติพรหมจรรย์
ค.
เว้นจากการพูดเท็จ
ง.
เว้นจากการดื่มน้ำเมา
๓๘.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล มีอาการเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค ตรงกับข้อใด ?
ก.
พูดเรื่องกิน
ข.
พูดเรื่องลูกหลาน
ค.
มีแต่ความอยากได้
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๙.
ผู้สมาทานปฏิชาครอุโบสถ ต้องรักษาศีลอะไร ?
ก.
ศีล ๕
ข.
ศีล ๘
ค.
ศีล ๑๐
ง.
ศีล ๓๑๑
๔๐.
คำว่า “
สรณคมน์
” คืออะไร ?
ก.
รัตนะ ๓
ข.
โอวาท ๓
ค.
อริยสัจ ๔
ง.
ศีล ๘
๔๑.
คำว่า “
สีเลน สุคตึ ยนฺต
ิ ” เป็นคำอะไร ?
ก.
คำอาราธนาศีล
ข.
คำลาศีล
ค.
คำสมาทานศีล
ง.
คำบอกอานิสงส์ศีล
๔๒.
เมื่อพระสงฆ์ว่า “
ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ
” ผู้สมาทานอุโบสถศีลพึงรับพร้อมกัน
ว่าอย่างไร ?
ก.
อาม ภนฺเต
ข.
สาธุ ภนฺเต
ค.
มยํ ภนฺเต
ง.
อิมานิ มยํ ภนฺเต
๔๓.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล พึงรับประทานอาหารให้เสร็จเวลาใด ?
ก.
ก่อนเพล
ข.
ก่อนเที่ยง
ค.
เที่ยงครึ่ง
ง.
ก่อนบ่ายโมง
๔๔.
คำพูดเช่นใด ห้ามผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลพูด ?
ก.
คำหยาบ
ข.
คำเพ้อเจ้อ
ค.
คำส่อเสียด
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๕.
เพราะเหตุใด ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีล จึงต้องงดดื่มสุรา ?
ก.
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ข.
เพราะเป็นข้าศึกแห่งพรหมจรรย์
ค.
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความกังวล
ง.
เพราะเป็นเหตุให้คนอื่นไม่เชื่อถือ
๔๖.
เพราะเหตุใด ผู้รักษาอุโบสถศีล จึงต้องงดการประดับร่างกาย ?
ก.
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ข.
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความกังวล
ค.
เพราะเป็นข้าศึกแก่กุศล
ง.
เพราะเป็นข้าศึกแก่อกุศล
๔๗.
คำว่า “
วางทอนไม้
” ในอุโบสถสูตร มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
งดฆ่าสัตว์
ข.
งดลักทรัพย์
ค.
งดจี้ปล้น
ง.
งดคบคนพาล
๔๘.
ผู้รักษาอุโบสถศีลไม่รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ดื่มเข้าไป ศีลขาดหรือไม่ ?
ก.
ขาด เพราะสัตว์มีชีวิต
ข.
ขาด เพราะสัตว์ตาย
ค.
ไม่ขาด เพราะไม่รู้ว่ามีตัวสัตว์
ง.
ไม่ขาด เพราะต้องรักษาชีวิต
๔๙.
เมื่อรักษาอุโบสถศีลครบวันหนึ่งคืนหนึ่งแล้ว พึงปฏิบัติอย่างไร ?
ก.
กล่าวคำลาพระรัตนตรัย
ข.
กล่าวคำลาศีล
ค.
กล่าวคำลาสิกขา
ง.
การสมาทานสิ้นสุดเอง
๕๐.
การรักษาอุโบสถศีล มีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ละความชั่วได้
ข.
เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ
ค.
เป็นที่ตั้งแห่งปัญญา
ง.
ถูกทุกข้อ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๖. หน้า ๑๗๗-๑๘๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐