ปัญหาและเฉลย
วิชาอุโบสถศีล (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สามัญชนปฏิบัติตนอย่างไร จึงชื่อว่าตามรอยพระอรหันต์ ?
ก.
รักษาศีลให้บริสุทธิ์
ข.
รักษากายให้บริสุทธิ์
ค.
รักษาใจให้บริสุทธิ์
ง.
รักษาวาจาให้บริสุทธิ์
๒.
คฤหัสถ์ปรารถนาชำระตนให้หมดจด ควรปฏิบัติอย่างไร ?
ก.
ไหว้พระ
ข.
สวดมนต์
ค.
รักษาศีล
ง.
ชำระบาป
๓.
ศีลที่ต้องรักษาตามกาลที่กำหนดไว้ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ศีล ๕
ข.
ศีล ๘
ค.
ศีล ๑๐
ง.
ศีล ๒๒๗
๔.
การรักษาศีลข้อใด เป็นความเชื่อที่ผิด ?
ก.
ได้พักการงาน
ข.
ได้ทำบุญกุศล
ค.
ได้ชำระบาป
ง.
ได้อบรมจิตใจ
๕.
การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ หมายถึงอะไร ?
ก.
การนั่งใกล้ ๆ
ข.
การขอโชคลาภ
ค.
การปรนนิบัติ
ง.
การถือเป็นที่พึ่ง
๖.
พระรัตนตรัยได้ชื่อว่าเป็นสรณะที่ปลอดภัย เพราะอะไร ?
ก.
ช่วยกำจัดทุกข์
ข.
ช่วยกำจัดภัย
ค.
ช่วยกำจัดเวร
ง.
ถูกทุกข้อ
๗.
หากเปรียบพระพุทธเจ้าดุจสารถีผู้ชาญฉลาด พระธรรมดุจวิธี
ฝึกม้า พระสงฆ์จะเปรียบเหมือนม้าเช่นไร ?
ก.
ม้ากำลังฝึกเดิน
ข.
ม้ายังมิได้ฝึกหัด
ค.
ม้ากำลังฝึกหัด
ง.
ม้าที่ฝึกหัดดีแล้ว
๘.
“
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
” กล่าวเพื่อระลึกถึงใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
บิดามารดา
๙.
ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของพระสังฆรัตนะ ?
ก.
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ข.
ช่วยกำจัดภัยให้สัตว์
ค.
เป็นนาบุญของโลก
ง.
รักษาเผยแผ่คำสอน
๑๐.
การขาดสรณคมน์ข้อใด จัดว่าไม่มีโทษ ?
ก.
การตาย
ข.
การเข้ารีต
ค.
การทำร้ายพระศาสดา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๑.
การขาดสรณคมน์ เกิดขึ้นได้แก่บุคคลใด ?
ก.
ปุถุชนทั่วไป
ข.
พระโสดาบัน
ค.
พระสกทาคามี
ง.
พระอนาคามี
๑๒.
ใครกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติอุโบสถ ?
ก.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ข.
พระเจ้าพิมพิสาร
ค.
พระเจ้าอชาตศัตรู
ง.
มหาอุบาสิกาวิสาขา
๑๓.
การสมาทานรักษาอุโบสถ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นไว้
เพื่อประโยชน์อะไร ?
ก.
เพื่อขัดเกลากิเลส
ข.
เพื่อได้ฌานสมาบัติ
ค.
เพื่อเห็นแจ้งมรรค
ง.
เพื่อบรรลุพระอรหัต
๑๔.
การสมาทานรักษาอุโบสถ จัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุข้อใด ?
ก.
ทานมัย
ข.
ศีลมัย
ค.
ภาวนามัย
ง.
อปจายนมัย
๑๕.
การสมาทานรักษาอุโบสถ ข้อใดกล่าวถูกต้อง ?
ก.
เกิดก่อนพุทธกาล
ข.
พระภิกษุถือปฏิบัติ
ค.
สำหรับบุคคลชั้นสูง
ง.
ไม่มีในศาสนาอื่นๆ
๑๖.
วิธีสมาทานอุโบสถก่อนพุทธกาล ท่านกำหนดไว้อย่างไร ?
ก.
ต้องเปล่งวาจา
ข.
อธิษฐานเอง
ค.
รับสรณคมน์
ง.
นุ่งขาวห่มขาว
๑๗.
การถืออุโบสถก่อนพุทธกาลกับสมัยพุทธกาล ตรงกันในข้อใด ?
ก.
ถือศีล ๘
ข.
อดอาหาร
ค.
สรณคมน์
ง.
พระรัตนตรัย
๑๘.
อุโบสถใด ไม่นับเนื่องเข้าในคำสอนของพระพุทธเจ้า ?
ก.
ปกติอุโบสถ
ข.
ปฏิชาครอุโบสถ
ค.
นิคคัณฐอุโบสถ
ง.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
๑๙.
อุโบสถใด กำหนดให้รักษาตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ
ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๐.
อุโบสถที่บุคคลตั้งใจรักษาแล้วได้รับอานิสงส์มาก ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ
ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง.
อริยอุโบสถ
๒๑.
อุโบสถที่ผู้รักษามักไม่ค่อยสำรวมระวังในข้องดเว้น จึงทำให้
ได้รับอานิสงส์น้อย ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ
ข.
โคปาลกอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง.
ปกติอุโบสถ
๒๒.
อุโบสถใด กำหนดให้สมาทานรักษาได้เฉพาะในฤดูฝน ?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ
ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๓.
อุโบสถที่ท่านกำหนดให้สมาทานรักษาคราวละ ๓ วัน คือ วันรับ
วันรักษาและวันส่ง ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปฏิชาครอุโบสถ
ข.
ปกติอุโบสถ
ค.
ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
ผู้ต้องการจะรักษาอุโบสถ ควรเตรียมความพร้อมเรื่องใด ?
ก.
อาหาร
ข.
เสื้อผ้า
ค.
ค่ารถ
ง.
จิตใจ
๒๕.
ขั้นตอนใด กำหนดให้ทำก่อนสมาทานศีล ?
ก.
บูชาพระรัตนตรัย
ข.
อาราธนาศีล
ค.
ประกาศอุโบสถ
ง.
รับสรณคมน์
๒๖.
การสมาทานอุโบสถนั้น ใครเป็นผู้สมาทาน ?
ก.
ภิกษุ
ข.
สามเณร
ค.
อุบาสก อุบาสิกา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๗.
การสมาทานอุโบสถนั้น กำหนดให้สมาทานที่ไหน ?
ก.
พระวิหาร
ข.
พระอุโบสถ
ค.
ศาลาการเปรียญ
ง.
ที่ไหนก็ได้
๒๘.
พระให้ศีล ๘ แต่ผู้สมาทานรับเพียง ๕ ข้อ จะวินิจฉัยอย่างไร ?
ก.
รับศีล ๕
ข.
รับศีล ๘
ค.
ถือเป็นโมฆะ
ง.
ไม่ถือโมฆะ
๒๙.
พระสรุปอานิสงส์ศีลว่า “
สีเลน โภคสมฺปทา
” หมายถึงข้อใด ?
ก.
ศีลส่งทำให้สูง
ข.
ศีลปรุงทำให้สวย
ค.
ศีลนำทำให้รวย
ง.
ศีลช่วยทำให้รอด
๓๐.
บุญกุศลแห่งการรักษาอุโบสถ เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างไร ?
ก.
การงดเว้น
ข.
การได้พักผ่อน
ค.
การพูดคุย
ง.
การกินมังสวิรัติ
๓๑.
การรักษาอุโบสถของบุคคล จะไม่บกพร่องด้วยอาการอย่างไร ?
ก.
หมั่นสำรวมระวัง
ข.
หมั่นชำระบาป
ค.
หมั่นอาบน้ำมนต์
ง.
หมั่นบวงสรวง
๓๒.
ขณะรักษาอุโบสถอยู่นั้น ควรใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ฟังธรรม
ข.
สนทนาธรรม
ค.
เจริญภาวนา
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๓.
เรื่องใด ไม่ควรนำมาพูดในขณะรักษาอุโบสถ ?
ก.
เรื่องศีล
ข.
เรื่องสมาธิ
ค.
เรื่องดวง
ง.
เรื่องชาดก
๓๔.
อาหารที่ห้ามรับประทานในศีลข้อวิกาลโภชนา ได้แก่อะไร ?
ก.
นม
ข.
ขนม
ค.
กาแฟ
ง.
โกโก้
๓๕.
ข้อใด คนทั่วไปและคนถืออุโบสถต้องงดเว้นเหมือนกัน ?
ก.
อพรหมจรรย์
ข.
การพูดเท็จ
ค.
การฟ้อนรำ
ง.
การขับร้อง
๓๖.
ข้อใด กำหนดให้ถือปฏิบัติต่างจากศีล ๕ ของคนทั่วไป ?
ก.
การฆ่าสัตว์
ข.
การลักทรัพย์
ค.
อพรหมจรรย์
ง.
การดื่มน้ำเมา
๓๗.
คำว่า “
เวลาวิกาล
” หมายเอาเวลาไหน ?
ก.
เวลาพระฉันเช้า
ข.
เวลาพระฉันเพล
ค.
เวลาเที่ยงตรง
ง.
เวลาเที่ยงวันแล้ว
๓๘.
อุโบสถศีลข้อที่ ๗ ผู้สมาทานรักษาต้องงดเว้นการกระทำใด ?
ก.
ดูการเล่น
ข.
ออกกำลังกาย
ค.
ทานเนื้อสัตว์
ง.
ห้ามพูดคุยกัน
๓๙.
คำว่า “
ข้าศึกต่อกุศล
” ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงอะไร ?
ก.
ฟ้อนรำ
ข.
ขับร้อง
ค.
ดีดสีตีเป่า
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๐.
เครื่องลูบไล้ชนิดใด ผู้รักษาอุโบสถศีลสามารถใช้ทาตัวได้ ?
ก.
แป้ง
ข.
น้ำหอม
ค.
ยาหม่อง
ง.
ลิปสติก
๔๑.
ผู้สมาทานรักษาอุโบสถ พึงหลีกเว้นที่นอนประเภทใด ?
ก.
ที่นอนสูงใหญ่
ข.
ที่นอนยัดนุ่น
ค.
ที่นอนยัดสำลี
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๒.
เครื่องปูลาดชนิดใด ห้ามผู้สมาทานรักษาอุโบสถนั่งหรือนอน ?
ก.
เครื่องลาดอันสะอาด
ข.
เครื่องลาดอันวิจิตร
ค.
เครื่องลาดหมองคล้ำ
ง.
เครื่องลาดทรงกลม
๔๓.
ในปัญจอุโปสถชาดก ใครมีความถือตัวว่าเด่นกว่าคนอื่น
จึงรักษาอุโบสถ เพื่อข่มมานะของตน ?
ก.
ฤษี
ข.
หมี
ค.
พระปัจเจกพุทธเจ้า
ง.
โคอุสภะ
๔๔.
คำว่า “
วางศัสตรา
” ในอุโบสถสูตร หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
เว้นฆ่าสัตว์
ข.
เว้นลักทรัพย์
ค.
เว้นพูดเท็จ
ง.
เว้นดื่มน้ำเมา
๔๕.
คำว่า “
ไม่ลวงโลก
” ในอุโบสถสูตร หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
เว้นฆ่าสัตว์
ข.
เว้นลักทรัพย์
ค.
เว้นพูดเท็จ
ง.
เว้นดื่มน้ำเมา
๔๖.
“
อุโบสถกึ่งเดียว
” หมายถึงอะไร ?
ก.
รักษาศีลครึ่งวัน
ข.
รักษาศีลวันกับคืนหนึ่ง
ค.
รักษาศีล ๓ วัน
ง.
รักษาศีลครบ ๔ เดือน
๔๗.
รักษาอุโบสถเหมือนกัน แต่ได้บุญกุศลไม่เท่ากัน เพราะเหตุใด ?
ก.
ไม่มีเวลา
ข.
ไม่มีพวกคุย
ค.
ไม่ตั้งใจ
ง.
ไม่มีกำลังใจ
๔๘.
การรักษาอุโบสถศีล จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ?
ก.
ตอนพระบิณฑบาต
ข.
หลังเที่ยงวันแล้ว
ค.
ก่อนพระอาทิตย์ตก
ง.
ครบกำหนดเวลา
๔๙.
ศีลสร้างความเสมอภาคแก่มนุษย์ หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
ทุกคนรักษาได้
ข.
ทุกวัยรักษาได้
ค.
ได้บุญทุกคน
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
อะไรเป็นเป้าหมายสูงสุดในการถืออุโบสถศีล ?
ก.
มนุษยสมบัติ
ข.
จักรพรรดิสมบัติ
ค.
สวรรคสมบัติ
ง.
นิพพานสมบัติ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๙. หน้า ๒๒๘-๒๓๘.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐