ปัญหาและเฉลย
วิชาพุทธานุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
ระบายใน
กระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางทิศใดของประเทศไทย ?
ก.
ทิศปัจฉิม
ข.
ทิศพายัพ
ค.
ทิศอาคเนย์
ง.
ทิศบูรพา
๒.
ข้อใด แสดงถึงความมีมานะกล้าของชาวชมพูทวีป ?
ก.
ตายแล้วสูญ
ข.
ตายแล้วเกิด
ค.
ถือชั้นวรรณะ
ง.
นับถือพระพรหม
๓.
ก่อนจุติลงสู่พระครรภ์มารดา พระโพธิสัตว์ประทับอยู่สวรรค์ชั้นใด ?
ก.
ดาวดึงส์
ข.
ยามา
ค.
ดุสิต
ง.
นิมมานรดี
๔.
ในปัญจมหาวิโลกนะ พระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
เฉพาะในทวีปใด ?
ก.
อมรโคยานทวีป
ข.
อุตตรกุรุทวีป
ค.
ปุพพวิเทหทวีป
ง.
ชมพูทวีป
๕.
หลังจากพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาปัญจมหาวิโลกนะ เกิดโกลาหลอะไร ?
ก.
พุทธโกลาหล
ข.
กัปปโกลาหล
ค.
มงคลโกลาหล
ง.
โมเนยยโกลาหล
๖.
กษัตริย์ต้นวงศ์ศากยะ มีพระนามว่าอะไร ?
ก.
สีหหนุ
ข.
โอกกากราช
ค.
ชัยเสนะ
ง.
อัญชนะ
๗.
ใครเป็นพระอัยยกา (ปู่) ของเจ้าชายสิทธัตถะ ?
ก.
สีหหนุ
ข.
โอกกากราช
ค.
ชัยเสนะ
ง.
อัญชนะ
๘.
พระมหาบุรุษ ประสูติ ณ ที่ใด ?
ก.
ริมแม่น้ำ
ข.
ใต้ต้นโพธิ์
ค.
พระราชวัง
ง.
ใต้ต้นสาละ
๙.
พระมหาบุรุษ ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะกี่ประการ ?
ก.
๒๕
ข.
๓๐
ค.
๓๒
ง.
๘๐
๑๐.
ใครเปล่งอาสภิวาจาในคราวประสูติ ?
ก.
สิทธัตถกุมาร
ข.
นันทกุมาร
ค.
ราหุลกุมาร
ง.
เทวทัตตกุมาร
๑๑.
ใครทำนายพระลักษณะของพระมหาบุรุษเป็นคนแรก ?
ก.
อุทกดาบส
ข.
อาฬารดาบส
ค.
อสิตดาบส
ง.
กบิลดาบส
๑๒.
ใครทำนายลักษณะพระมหาบุรุษว่ามีคติเพียงสถานเดียว ?
ก.
รามพราหมณ์
ข.
ธุรพราหมณ์
ค.
สยามพราหมณ์
ง.
โกณฑัญญพราหมณ์
๑๓.
พระสิทธัตถกุมารประสูติได้กี่วัน พระมารดาทิวงคต ?
ก.
๓ วัน
ข.
๕ วัน
ค.
๗ วัน
ง.
๙ วัน
๑๔.
เจ้าชายสิทธัตถะ สำเร็จปฐมฌานในคราวประกอบพิธีใด ?
ก.
ขนานพระนาม
ข.
ทำนายลักษณะ
ค.
วัปปมงคล
ง.
อภิเษกสมรส
๑๕.
เมื่อทรงทราบข่าวการประสูติของพระโอรส เจ้าชายสิทธัตถะทรงอุทาน
คำใด ?
ก.
อโห สุขํ
ข.
ราหุลํ ชาตํ
ค.
อคฺโคหมสฺมิ
ง.
เชฏฺโฐหมสฺมิ
๑๖.
เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชริมฝั่งแม่น้ำใด ?
ก.
อโนมานที
ข.
เนรัญชรา
ค.
คงคา
ง.
ยมุนา
๑๗.
ใครนำอัฏฐบริขารมาถวายในวันเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (ออกบวช) ?
ก.
ฆฏิการพรหม
ข.
สหัมบดีพรหม
ค.
มหาพรหม
ง.
พกาพรหม
๑๘.
เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงผนวชด้วยวิธีใด ?
ก.
รับสรณคมน์
ข.
เอหิภิกขุ
ค.
รับโอวาท
ง.
อธิษฐานเพศบรรพชิต
๑๙.
การบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระมหาบุรุษในวาระที่ ๑ คือข้อใด ?
ก.
อดพระกระยาหาร
ข.
กลั้นลมหายใจ
ค.
กดพระทนต์
ง.
เดินลุยไฟ
๒๐.
การบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระมหาบุรุษในวาระที่ ๓ คือข้อใด ?
ก.
อดพระกระยาหาร
ข.
กลั้นลมหายใจ
ค.
กดพระทนต์
ง.
เดินลุยไฟ
๒๑.
ใครอุปัฏฐากพระมหาบุรุษขณะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ?
ก.
นายฉันนะ
ข.
ปัญจวัคคีย์
ค.
พระอานนท์
ง.
ชาวบ้านใกล้ๆ
๒๒.
ใครมาดีดพิณ ๓ สาย ถวายให้พระมหาบุรุษสดับก่อนตรัสรู้ ?
ก.
คนธรรพ์
ข.
พระพรหม
ค.
พระอินทร์
ง.
วิษณุกรรมเทพบุตร
๒๓.
นางสุชาดานำข้าวมธุปายาสไปถวายพระโพธิสัตว์ เพราะเข้าใจว่าเป็นใคร ?
ก.
เทวดา
ข.
พระพรหม
ค.
พระราชา
ง.
ผู้วิเศษ
๒๔.
พระมหาบุรุษทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณในยามใด ?
ก.
ปฐมยาม
ข.
มัชฌิมยาม
ค.
ปัจฉิมยาม
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๕.
พระมหาบุรุษทรงบรรลุอาสวักขยญาณในยามใด ?
ก.
ปฐมยาม
ข.
มัชฌิมยาม
ค.
ปัจฉิมยาม
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๖.
อาสวักขยญาณ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
รู้ระลึกชาติได้
ข.
รู้จุติอุบัติ
ค.
แสดงฤทธิ์ได้
ง.
รู้ว่าสิ้นกิเลส
๒๗.
พระพุทธเจ้าประทับนั่งพิจารณาธรรมใด ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ?
ก.
อริยสัจ
ข.
ปฏิจจสมุปปบาท
ค.
อภิธรรม
ง.
สติปัฏฐาน ๔
๒๘.
เทฺววาจิกอุบาสกผู้นับถือพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ คือใคร ?
ก.
อนาถปิณฑิกะ
ข.
บิดาพระยสะ
ค.
โสตถิยพราหมณ์
ง.
ตปุสสะ ภัลลิกะ
๒๙.
พระพุทธเจ้าทรงอาศัยพระคุณใด จึงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ?
ก.
พระปัญญาคุณ
ข.
พระบริสุทธิคุณ
ค.
พระกรุณาคุณ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๐.
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงปรารภจะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ?
ก.
อาฬารดาบส
ข.
ปัญจวัคคีย์
ค.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ง.
พระเจ้าพิมพิสาร
๓๑.
พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่ทรงแสดงโปรดปัญจวัคคีย์ ชื่อว่าอะไร ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
อนัตตลักขณสูตร
ค.
มงคลสูตร
ง.
รตนสูตร
๓๒.
เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรจบ ใครได้ดวงตาเห็นธรรม ?
ก.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ข.
พระวัปปะ
ค.
พระมหานามะ
ง.
พระอัสสชิ
๓๓.
ยสกุลบุตรพบพระพุทธเจ้าขณะทรงสำเร็จพระอิริยาบถใด ?
ก.
ประทับนั่ง
ข.
ประทับยืน
ค.
เสด็จจงกรม
ง.
ทรงแสดงธรรม
๓๔.
ปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนา คือใคร ?
ก.
ยสกุลบุตร
ข.
บิดายสกุลบุตร
ค.
ภัททวัคคีย์
ง.
พระเจ้าพิมพิสาร
๓๕.
ปฐมอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา คือใคร ?
ก.
มารดายสกุลบุตร
ข.
นางวิสาขา
ค.
พระนางเขมา
ง.
พระนางมัลลิกา
๓๖.
พระอุรุเวลกัสสปะ ไม่ยินดีการบูชาไฟ เพราะสาเหตุใด ?
ก.
ถูกทรมาน
ข.
บริวารหนี
ค.
ไม่ใช่ทางนิพพาน
ง.
อาศรมถูกไฟไหม้
๓๗.
ข้อใด ไม่ใช่พระดำริของพระเจ้าพิมพิสารในการถวายพระราชอุทยาน
เวฬุวัน ?
ก.
ไปมาสะดวก
ข.
เป็นที่หลีกเร้น
ค.
มากด้วยหมู่คน
ง.
เงียบสงัด
๓๘.
พระพุทธเจ้าทรงรับการถวายวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ณ เมืองใด ?
ก.
กบิลพัสดุ์
ข.
เทวทหะ
ค.
สาวัตถี
ง.
ราชคฤห์
๓๙.
ปิปผลิมาณพได้พบกับพระพุทธเจ้าที่ต้นไม้มีชื่อว่าอะไร ?
ก.
อชปาลนิโครธ
ข.
พหุปุตตนิโครธ
ค.
ราชายตนะ
ง.
มุจลินท์
๔๐.
พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระภิกษุให้ถือพระมหากัสสปะเป็นแบบอย่างเรื่องใด ?
ก.
มักน้อยสันโดษ
ข.
กตัญญู
ค.
ใคร่ต่อการศึกษา
ง.
สำรวมอินทรีย์
๔๑.
ใครอยากให้พราหมณ์พาวรีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหมือนตนเอง
ได้ฟัง ?
ก.
ปิงคิยมาณพ
ข.
โมฆราชมาณพ
ค.
อุทยมาณพ
ง.
โปสาลมาณพ
๔๒.
การอุปสมบทของราธพราหมณ์ ประสงค์ให้ใครเป็นใหญ่ในการบวชนั้น ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
บุคคล
๔๓.
ในคราวเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ พระประยูรญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าประทับที่ใด ?
ก.
เวฬุวัน
ข.
ลัฎฐิวัน
ค.
บุปผาราม
ง.
นิโครธาราม
๔๔.
เจ้าชายอนุรุทธะเป็นพระโอรสร่วมพระมารดากับเจ้าศากยะพระองค์ใด ?
ก.
เจ้าชายกิมพิละ
ข.
เจ้าชายอานนท์
ค.
เจ้าชายเทวทัต
ง.
เจ้าชายมหานามะ
๔๕.
เจ้าชายอนุรุทธะตรัสกับใครว่า การบวชของเราเนื่องด้วยการบวชของท่าน ?
ก.
เจ้าชายภัททิยะ
ข.
เจ้าชายอานนท์
ค.
เจ้าชายภัคคุ
ง.
เจ้าชายกิมพิละ
๔๖.
เจ้าชายที่ออกบวชพร้อมกัน ๖ พระองค์ ใครไม่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ?
ก.
เจ้าชายอานนท์
ข.
เจ้าชายอนุรุทธะ
ค.
เจ้าชายภัคคุ
ง.
เจ้าชายเทวทัตต์
๔๗.
ธรรมวินัยที่เราแสดงและบัญญัติไว้ จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย
ตรัสแก่ใคร ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระอานนท์
ค.
พระอนุรุทธะ
ง.
พระอุบาลี
๔๘.
สถานที่ ๔ ตำบล ควรไปดูไปเห็นให้เกิดศรัทธาในพระพุทธเจ้า คือที่ใด ?
ก.
สังเวชนียสถาน
ข.
ทวสถาน
ค.
ศาสนสถาน
ง.
รมณียสถาน
๔๙.
ดอกไม้ชนิดใด เป็นนิมิตว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ?
ก.
ดอกบัว
ข.
ดอกสาละ
ค.
ดอกโศก
ง.
ดอกมณฑารพ
๕๐.
เดียรถีย์เข้ามาปลอมบวชในพระพุทธศาสนา เป็นเหตุทำสังคายนาครั้งใด ?
ก.
ครั้งที่ ๑
ข.
ครั้งที่ ๒
ค.
ครั้งที่ ๓
ง.
ครั้งที่ ๔
เอกสารอ้างอิง
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชั้นโท-เอก และธรรมศึกษาตรี-โท-เอก พ.ศ.๒๕๕๙. หน้า ๑๐๙ - ๑๑๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐