ปัญหาและเฉลย
วิชาพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พุทธประวัติ กล่าวถึงเรื่องของใคร ?
ก.
ศาสดา
ข.
พระพุทธเจ้า
ค.
นักบวช
ง.
พระปัจเจกพุทธเจ้า
๒.
ประเทศใด ไม่อยู่ในดินแดนชมพูทวีป ?
ก.
อินเดีย
ข.
ปากีสถาน
ค.
ศรีลังกา
ง.
เนปาล
๓.
ข้อใด ไม่จัดเข้าในกลุ่มวรรณะ ๔ ?
ก.
พราหมณ์
ข.
แพศย์
ค.
ศูทร
ง.
จัณฑาล
๔.
ก่อนเจ้าชายสิทธัตถะ จะมาอุบัติในโลกนี้ อยู่สวรรค์ชั้นไหน ?
ก.
จาตุมหาราช
ข.
ยามา
ค.
ดาวดึงส์
ง.
ดุสิต
๕.
เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์ สุบินนิมิตอย่างไร ?
ก.
พญาช้างเผือกชูสังข์
ข.
พญาช้างเผือกชูดอกบัว
ค.
พราหมณ์มอบสังข์ทอง
ง.
พราหมณ์มอบดอกบัว
๖.
พระพุทธเจ้า ประสูติก่อนพุทธศักราชกี่ปี ?
ก.
๒๙ ปี
ข.
๓๕ ปี
ค.
๔๕ ปี
ง.
๘๐ ปี
๗.
อาสภิวาจา พระพุทธเจ้าตรัสในวันใด ?
ก.
ประสูติ
ข.
ตรัสรู้
ค.
ปฐมเทศนา
ง.
ปรินิพพาน
๘.
เมื่อพระมารดาสิ้นพระชนม์ ใครเป็นผู้เลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะ ?
ก.
พระนางกัญจนา
ข.
พระนางยโสธรา
ค.
พระนางพิมพา
ง.
พระนางปชาบดี
๙.
เจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศบรรพชิต ที่ริมฝั่งแม่น้ำใด ?
ก.
อโนมา
ข.
เนรัญชรา
ค.
คงคา
ง.
สินธุ
๑๐.
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ยทุกรกิริยา ณ ที่ใด ?
ก.
คยาสีสะ
ข.
อุรุเวลาเสนานิคม
ค.
อนุปิยอัมพวัน
ง.
ลัฏฐิวัน
๑๑.
พระมหาบุรุษทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะเหตุใด ?
ก.
ทรงท้อพระทัย
ข.
ทรงเบื่อหน่าย
ค.
ทรงคลายความเพียร
ง.
ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้
๑๒.
ข้อปฏิบัติใด เป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ ?
ก.
อัตตกิลมถานุโยค
ข.
กามสุขัลลิกานุโยค
ค.
ทุกรกิริยา
ง.
มัชฌิมาปฏิปทา
๑๓.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันใด ?
ก.
วันเพ็ญเดือน ๓
ข.
วันเพ็ญเดือน ๖
ค.
วันเพ็ญเดือน ๘
ง.
วันเพ็ญเดือน ๑๒
๑๔.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?
ก.
สมมติสัจจะ
ข.
ธรรมสัจจะ
ค.
อริยสัจจะ
ง.
ปรมัตถสัจจะ
๑๕.
เวไนยสัตว์เปรียบได้กับดอกบัวกี่เหล่า ?
ก.
๒ เหล่า
ข.
๓ เหล่า
ค.
๔ เหล่า
ง.
๕ เหล่า
๑๖.
ทางสุดโต่ง ๒ อย่าง และทางสายกลางอยู่ในพระสูตรใด ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
อนัตตลักขณสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
เวทนาปริคคหสูตร
๑๗.
พระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกครั้งแรก เพราะฟังพระสูตรใด ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
อนัตตลักขณสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
อนุปุพพีกถา
๑๘.
ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระอริยบุคคลชั้นไหน ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๑๙.
พระสาวกรูปใด ได้รับการอุปสมบทเป็นปฐมเอหิภิกขุ ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระอานนท์
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
๒๐.
พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาเป็นครั้งแรก แก่ใคร ?
ก.
ยสกุลบุตร
ข.
มารดายสกุลบุตร
ค.
บิดายสกุลบุตร
ง.
ภรรยายสกุลบุตร
๒๑.
อุบาสกคนแรกผู้ถึงรัตน ๓ คือใคร ?
ก.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
ข.
ตปุสสะและภัลลิกะ
ค.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ง.
บิดาของพระยสะ
๒๒.
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอะไร โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
อนัตตลักขณสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
อนุปุพพีกถา
๒๓.
พระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หลังจากอุปสมบทแล้วกี่วัน ?
ก.
๗ วัน
ข.
๑๒ วัน
ค.
๑๕ วัน
ง.
๓๐ วัน
๒๔.
ขณะบำเพ็ญเพียร พระโมคคัลลานะมีอุปสรรคในเรื่องใด ?
ก.
ความหิว
ข.
ความร้อน
ค.
ความหนาว
ง.
ความง่วง
๒๕.
พระสาวกรูปใด ได้รับการอุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ข้อ ?
ก.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ข.
พระมหากัสสปะ
ค.
พระยสะ
ง.
พระสารีบุตร
๒๖.
วันจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมอะไร ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
โอวาทปาฏิโมกข์
ค.
อริยธรรม
ง.
วิมุตติธรรม
๒๗.
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงการไหว้ทิศทั้ง ๖ แก่ใคร ?
ก.
นันทมาณพ
ข.
โกลิตมาณพ
ค.
สิงคาลมาณพ
ง.
อุปติสสมาณพ
๒๘.
เธอไม่พึงชูงวงคือถือตัวเข้าไปสู่ตระกูล พระองค์ตรัสสอนใคร ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระมหาโมคคัลลานะ
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระอุรุเวลกัสสปะ
๒๙.
ใครทำปุพพเปตพลีเป็นคนแรกในพระพุทธศาสนา ?
ก.
พระเจ้าพิมพิสาร
ข.
พระเจ้าปเสนทิโกศล
ค.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
ง.
ธนัญชัยเศรษฐี
๓๐.
พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ณ สถานที่ใด ?
ก.
ปาสาณเจดีย์
ข.
อนิมิสเจดีย์
ค.
ปาวาลเจดีย์
ง.
มกุฏพันธนเจดีย์
๓๑.
พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่ ๔๕ ณ ที่ไหน ?
ก.
ภัณฑุคาม
ข.
เวฬุวคาม
ค.
ชัมพุคาม
ง.
หัตถีคาม
๓๒.
พระปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
ก.
ความกตัญญู
ข.
ความไม่ประมาท
ค.
ความสามัคคี
ง.
ความอดทน
๓๓.
พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้ลงพรหมทัณฑ์แก่ใคร ?
ก.
พระฉันนะ
ข.
พระเทวทัต
ค.
พระสุภัททะ
ง.
พระอุทายี
๓๔.
สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ มีชื่อว่าอะไร ?
ก.
มกุฏพันธเจดีย์
ข.
ปาสาณเจดีย์
ค.
ปาวาจเจดีย์
ง.
อุทเทสิกเจดีย์
๓๕.
ใครเป็นผู้ทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ?
ก.
มัลลกษัตริย์
ข.
โสตถิยพราหมณ์
ค.
วัสสการพราหมณ์
ง.
โทณพราหมณ์
๓๖.
สถานที่ใด ไม่ใช่สังเวชนียสถาน ?
ก.
ที่ประสูติ
ข.
ที่ตรัสรู้
ค.
ที่ปรินิพพาน
ง.
ที่ถวายพระเพลิง
๓๗.
ก่อนปรินิพพานพระพุทธเจ้าทรงมอบหมายใครเป็นศาสดาแทน ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระอานนท์
ค.
พระอุบาลี
ง.
พระธรรมวินัย
๓๘.
การรวบรวมพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่าอะไร ?
ก.
การสาธยาย
ข.
การสังคายนา
ค.
การเสวนา
ง.
การสัมมนา
๓๙.
พระอานนท์ถามใคร จึงรู้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ?
ก.
พระอุปวาณะ
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระนันทะ
ง.
พระอุบาลี
๔๐.
พระพุทธศาสนาแผ่ไปนอกชมพูทวีป หลังสังคายนาครั้งใด ?
ก.
ครั้งที่ ๑
ข.
ครั้งที่ ๒
ค.
ครั้งที่ ๓
ง.
ครั้งที่ ๕
ศาสนพิธี
๔๑.
แบบอย่างหรือแบบแผนที่พึงปฏิบัติในพระศาสนา เรียกว่าอะไร ?
ก.
ศาสนธรรม
ข.
ศาสนพิธี
ค.
ศาสนสถาน
ง.
ศาสนศึกษา
๔๒.
พุทธมามกะ หมายถึงบุคคลเช่นใด ?
ก.
ผู้มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง
ข.
ผู้รับศีลเป็นสรณะ
ค.
ผู้อธิษฐานขอพร
ง.
ผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา
๔๓.
การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดเข้าในพิธีใด ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
ทานพิธี
ค.
บุญพิธี
ง.
ปกิณกพิธี
๔๔.
การถวายสังฆทาน หมายถึงข้อใด ?
ก.
ถวายเจาะจงเจ้าอาวาส
ข.
ถวายพระที่เคารพนับถือ
ค.
ถวายแก่สงฆ์ทั่วไป
ง.
ถวายพระที่มีชื่อเสียง
๔๕.
การกรวดน้ำหลังจากบำเพ็ญกุศล มุ่งประโยชน์อะไร ?
ก.
อุทิศส่วนบุญ
ข.
แสดงความเคารพ
ค.
ตั้งจิตอธิษฐาน
ง.
ให้เทวดารับรู้
๔๖.
ข้อใด เป็นพิธีทำบุญงานอวมงคล ?
ก.
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ข.
ทำบุญบวชพระ
ค.
ทำบุญ ๑๐๐ วัน
ง.
ทำบุญมงคลสมรส
๔๗.
การทอดกฐิน กำหนดให้ทำในช่วงเวลาใด ?
ก.
ภายใน ๑ เดือนก่อนเข้าพรรษา
ข.
ภายใน ๑ เดือนหลังเข้าพรรษา
ค.
ภายใน ๑ เดือนก่อนออกพรรษา
ง.
ภายใน ๑ เดือนหลังออกพรรษา
๔๘.
องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันใด เป็นวันสำคัญสากล ?
ก.
วันวิสาขบูชา
ข.
วันมาฆบูชา
ค.
วันอัฏฐมีบูชา
ง.
วันอาสาฬหบูชา
๔๙.
ผู้รับการถวายไทยธรรม คือใคร ?
ก.
อุบาสก
ข.
ทายก
ค.
ปฏิคาหก
ง.
มัคคนายก
๕๐.
การทอดกฐิน จัดเป็นทานชนิดใด ?
ก.
ธรรมทาน
ข.
ปาฏิบุคคลิกทาน
ค.
กาลทาน
ง.
อกาลทาน
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๕. หน้า ๒๑๐-๒๒๐.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐