ปัญหาและเฉลย
วิชาพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พุทธประวัติ กล่าวถึงเรื่องอะไร ?
ก.
ความเป็นไปของพระพุทธเจ้า
ข.
ความเป็นไปของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า
ค.
ความเป็นไปของพระสาวก
ง.
ความเป็นไปของพุทธบริษัท ๔
๒.
พระโพธิสัตว์ก่อนเสด็จมาอุบัติในมนุษยโลกนี้ อยู่สวรรค์ชั้นไหน ?
ก.
ดาวดึงส์
ข.
ยามา
ค.
ดุสิต
ง.
นิมมานรดี
๓.
ข้อใด ไม่จัดเข้าในกลุ่มวรรณะ ๔ ?
ก.
พราหมณ์
ข.
แพศย์
ค.
ศูทร
ง.
จัณฑาล
๔.
กษัตริย์พระองค์ใด เป็นต้นศากยวงศ์ ?
ก.
พระเจ้าโอกกากราช
ข.
พระเจ้าอโศกมหาราช
ค.
พระเจ้าชยเสนะ
ง.
พระเจ้าสีหหนุ
๕.
เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ณ ที่ไหน ?
ก.
เวฬุวัน
ข.
ลุมพินีวัน
ค.
อัมพวัน
ง.
ลัฏฐิวัน
๖.
พระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ พระนามว่าอย่างไร ?
ก.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ข.
พระเจ้าโธโตทนะ
ค.
พระเจ้าอมิโตทนะ
ง.
พระเจ้าสุกโกทนะ
๗.
คำว่า สิทธัตถะ มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
ผู้มีอำนาจ
ข.
ผู้มีความต้องการสำเร็จ
ค.
ผู้มีความรู้
ง.
ผู้มีความประพฤติดี
๘.
หลังจากพระนางสิริมหามายาทิวงคตแล้ว ใครทำหน้าที่
เป็นผู้ดูแล เจ้าชายสิทธัตถกุมาร ?
ก.
พระนางปชาบดี
ข.
พระนางกาญจนา
ค.
พระนางรูปนันทา
ง.
พระนางอมิตา
๙.
ดาบสที่ทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะชื่อว่าอะไร ?
ก.
อสิตดาบส
ข.
อาฬารดาบส
ค.
อุทกดาบส
ง.
กบิลดาบส
๑๐.
ใครเป็นครูคนแรกของเจ้าชายสิทธัตถะ ?
ก.
อสิตดาบส
ข.
อุททกดาบส
ค.
โกณฑัญญะ
ง.
วิศวามิตร
๑๑.
เจ้าชายสิทธัตถะได้ปฐมฌานครั้งแรกในขณะที่พระราชบิดา
ทรงพาไปร่วมพิธีอะไร ?
ก.
พิธีมงคลสมรส
ข.
พิธีโสกันต์
ค.
พิธีแรกนาขวัญ
ง.
พิธีเรียกขวัญ
๑๒.
ข้อใด ไม่ใช่เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็น ?
ก.
คนเกิด
ข.
คนแก่
ค.
คนเจ็บ
ง.
คนตาย
๑๓.
ใครเป็นผู้ถวายเครื่องบริขารแด่เจ้าชายสิทธัตถะ ?
ก.
สหัมบดีพรหม
ข.
พระอินทร์
ค.
ฆฏิการพรหม
ง.
นายฉันนะ
๑๔.
พระมหาบุรุษทรงบรรพชาแล้ว ประทับแรมชั่วคราวที่ไหน ?
ก.
อิสิปตนมฤคทายวัน
ข.
อนุปิยอัมพวัน
ค.
ลุมพินีวัน
ง.
เวฬุวัน
๑๕.
การบำเพ็ญทุกรกิริยา จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
กามสุขัลลิกานุโยค
ข.
อัตตกิลมถานุโยค
ค.
มัชฌิมาปฏิปทา
ง.
เนกขัมมปฏิปทา
๑๖.
พระมหาบุรุษทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะเหตุใด ?
ก.
เบื่อหน่าย
ข.
หมดหวัง
ค.
คลายความเพียร
ง.
เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้
๑๗.
ทางสายกลาง คืออะไร ?
ก.
มรรค ๘
ข.
วิชชา ๘
ค.
โลกธรรม ๘
ง.
สมาบัติ ๘
๑๘.
ข้อปฏิบัติใด เป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ ?
ก.
อัตตกิลมถานุโยค
ข.
กามสุขัลลิกานุโยค
ค.
ทุกรกิริยา
ง.
มัชฌิมาปฏิปทา
๑๙.
พระพุทธเจ้าทรงชนะมารได้ด้วยธรรมอะไร ?
ก.
ญาณ ๓
ข.
อริยสัจ ๔
ค.
มรรค ๘
ง.
บารมี ๑๐
๒๐.
คำว่า สัมมาสัมโพธิญาณ หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้โดยชอบ
ข.
ญาณเป็นเหตุให้ถึงความชอบ
ค.
ญาณเป็นมงคลส่วนที่ชอบ
ง.
ญาณเป็นเครื่องสนับสนุนโดยชอบ
๒๑.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?
ก.
สมมติสัจจะ
ข.
ปรมัตถสัจจะ
ค.
อริยสัจจะ
ง.
ธรรมสัจจะ
๒๒.
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขกี่สัปดาห์ ?
ก.
๔ สัปดาห์
ข.
๕ สัปดาห์
ค.
๖ สัปดาห์
ง.
๗ สัปดาห์
๒๓.
นิโครธ เป็นชื่อของต้นไม้อะไร ?
ก.
ต้นจิก
ข.
ต้นไทร
ค.
ต้นโพธิ์
ง.
ต้นรัง
๒๔.
พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัย จะแสดงธรรมแก่ใครเป็นคนแรก ?
ก.
พระบิดา
ข.
ปัญจวัคคีย์
ค.
อสิตดาบส
ง.
อาฬารดาบส
๒๕.
ใครเป็นพยานในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ?
ก.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ข.
พระวัปปะ
ค.
พระภัททิยะ
ง.
พระอัสสชิ
๒๖.
ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมเบื้องต้น เป็นพระอริยบุคคลชั้นไหน ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๒๗.
อุบาสกคนแรกผู้ถึงรัตนะ ๓ คือใคร ?
ก.
ตปุสสะ
ข.
ภัลลิกะ
ค.
โสตถิยะ
ง.
บิดาของพระยสะ
๒๘.
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาแรกที่ไหน ?
ก.
อิสิปตนมฤคทายวัน
ข.
อนุปิยอัมพวัน
ค.
ลัฏฐิวัน
ง.
อุรุเวลาเสนานิคม
๒๙.
พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวก ไปประกาศพระศาสนาครั้งแรกกี่องค์ ?
ก.
๕ องค์
ข.
๑๐ องค์
ค.
๖๐ องค์
ง.
๖๑ องค์
๓๐.
ชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวารบรรลุพระอรหัต เพราะฟังธรรมใด ?
ก.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข.
อนัตตลักขณสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
เวทนาปริคคหสูตร
๓๑.
ในชฎิล ๓ พี่น้อง คนสุดท้องมีชื่อว่าอะไร ?
ก.
อุรุเวลกัสสปะ
ข.
คยากัสสปะ
ค.
นทีกัสสปะ
ง.
กุมารกัสสปะ
๓๒.
วัดแห่งแรกที่พระเจ้าพิมพิสารถวายในพระพุทธศาสนาชื่อว่าอะไร ?
ก.
เวฬุวัน
ข.
ลัฏฐิวัน
ค.
อัมพวัน
ง.
เชตวัน
๓๓.
พระโมคคัลลานะขณะบำเพ็ญเพียร มีอุปสรรคในเรื่องใด ?
ก.
ความหิว
ข.
ความร้อน
ค.
ความง่วง
ง.
ความเหนื่อย
๓๔.
ใครถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้าย แก่พระพุทธเจ้า ?
ก.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
ข.
นางวิสาขา
ค.
นางสุชาดา
ง.
นายจุนทะ
๓๕.
ใครเป็นสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า ?
ก.
พระสุภัททะ
ข.
พระฉันนะ
ค.
พระกาฬุทายี
ง.
พระภัททิยะ
๓๖.
ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งใครเป็นศาสดาแทน ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระธรรมวินัย
ค.
พระอุบาลี
ง.
พระอานนท์
๓๗.
พระพุทธโอวาทครั้งสุดท้าย ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
ก.
ความไม่ประมาท
ข.
ความอดทน
ค.
ความเพียร
ง.
ความสามัคคี
๓๘.
สังเวชนียสถาน มีกี่ตำบล ?
ก.
๓ ตำบล
ข.
๔ ตำบล
ค.
๕ ตำบล
ง.
๖ ตำบล
๓๙.
สวนลุมพินีวัน ปัจจุบันอยู่ในประเทศใด ?
ก.
ศรีลังกา
ข.
อินเดีย
ค.
เนปาล
ง.
ปากีสถาน
๔๐.
หลังจากสังคายนาครั้งใด ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ไปนอกชมพูทวีป ?
ก.
ครั้งที่ ๑
ข.
ครั้งที่ ๒
ค.
ครั้งที่ ๓
ง.
ครั้งที่ ๔
ศาสนพิธี
๔๑.
แบบแผนที่พึงปฏิบัติในทางศาสนา เรียกว่าอะไร ?
ก.
ศาสนพิธี
ข.
กุศลพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
บุญพิธี
๔๒.
บุญกิริยาวัตถุ ๓ คือข้อใด ?
ก.
ศีล สมาธิ ปัญญา
ข.
ทาน ศีล ภาวนา
ค.
ทาน ศีล สมาธิ
ง.
ทาน ศีล ปัญญา
๔๓.
พุทธมามกะ หมายถึงบุคคลเช่นใด ?
ก.
ผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ข.
ผู้รับศีลเป็นสรณะ
ค.
ผู้ถือศีลอุโบสถ
ง.
ผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา
๔๔.
วันจาตุรงคสันนิบาต คือวันใด ?
ก.
วันมาฆบูชา
ข.
วันวิสาขบูชา
ค.
วันอัฏฐมีบูชา
ง.
วันอาสาฬหบูชา
๔๕.
วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ?
ก.
วันแสดงธรรมแก่เทวดา
ข.
วันแสดงปฐมเทศนา
ค.
วันเสด็จลงจากเทวโลก
ง.
วันปรินิพพาน
๔๖.
พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อน้อมระลึกถึงใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระรัตนตรัย
๔๗.
การบำเพ็ญกุศลคล้ายวันเกิด จัดเข้าในพิธีใด ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
ปกิณกพิธี
๔๘.
เบญจางคประดิษฐ์ หมายถึงข้อใด ?
ก.
กราบครบองค์ ๓
ข.
กราบครบองค์ ๔
ค.
กราบครบองค์ ๕
ง.
กราบครบองค์ ๘
๔๙.
การถวายสังฆทาน หมายถึงข้อใด ?
ก.
ถวายเจาะจงเจ้าอาวาส
ข.
ถวายเจาะจงพระที่นับถือ
ค.
ถวายสงฆ์ไม่เจาะจง
ง.
ถวายเจาะจงพระที่มีชื่อเสียง
๕๐.
อิทํ เม าตีนํ โหตุ สุขิตา โหนฺตุ าตโย ใช้กล่าวเวลาใด ?
ก.
ขณะอุทิศส่วนกุศล
ข.
ขณะรับศีล
ค.
ขณะฟังเทศน์
ง.
ขณะให้ทาน
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๔. หน้า ๒๑๘-๒๒๘.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐