ปัญหาและเฉลย
วิชาพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ประเทศไทยตั้งอยู่ทางทิศใด ของประเทศอินเดีย ?
ก.
พายัพ
ข.
อีสาน
ค.
หรดี
ง.
อาคเนย์
๒.
มิลักขะ หมายถึงชนชาติใด ?
ก.
แสวงหาความเจริญ
ข.
แสวงหาความรู้
ค.
มีถิ่นอาศัยอยู่เดิม
ง.
มีการแสวงหาที่อยู่
๓.
หัวเมืองชั้นนอก ตรงกับข้อใด ?
ก.
มัชฌิมชนบท
ข.
มัธยมชนบท
ค.
ปัจฉิมชนบท
ง.
ปัจจันตชนบท
๔.
ผู้ทำการค้าขาย หมายถึงบุคคลจำพวกใด ?
ก.
กษัตริย์
ข.
พราหมณ์
ค.
แพศย์
ง.
ศูทร
๕.
คนจันฑาล เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ก.
พ่อแม่วรรณะเดียวกัน
ข.
พ่อแม่คนละวรรณะ
ค.
พ่อแม่ตระกูลเดียวกัน
ง.
พ่อแม่คนละตระกูล
๖.
นครกบิลพัสดุ์เกี่ยวพันเป็นพิเศษกับนครใด ?
ก.
นครเทวทหะ
ข.
นครสาวัตถี
ค.
นครพาราณสี
ง.
นครปาวา
๗.
พระราชวงค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือวงศ์ใด ?
ก.
โกลิยวงศ์
ข.
ศากยวงศ์
ค.
สุริยวงศ์
ง.
อาทิตยวงศ์
๘.
กษัตริย์ผู้เป็นญาติของพระพุทธเจ้า คือใคร ?
ก.
พระเจ้าสีหหนุ
ข.
พระเจ้าพิมพิสาร
ค.
พระเจ้าปเสนทิโกศล
ง.
พระเจ้าอโศกมหาราช
๙.
ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าสีหหนุ คือใคร ?
ก.
พระเจ้าอัญชนะ
ข.
พระเจ้าชยเสนะ
ค.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ง.
พระเจ้าสุปปพุทธะ
๑๐.
เมื่ออสิตดาบสเห็นพระราชกุมารต้องตามมหาบุรุษลักษณะแล้ว แสดงอาการอย่างไร ?
ก.
ลุกขึ้นกราบ
ข.
ทำนายลักษณะ
ค.
ถวายตัวเป็นข้า
ง.
อธิษฐานบวชตาม
๑๑.
เมื่อพระกุมารประสูติได้กี่วัน จึงทำพิธีขนานพระนาม ?
ก.
๔ วัน
ข.
๕ วัน
ค.
๖ วัน
ง.
๗ วัน
๑๒.
พระสิทธัตถกุมาร เสด็จอยู่ครองฆราวาสตราบชนมายุเท่าไร ?
ก.
๒๘ พรรษา
ข.
๒๙ พรรษา
ค.
๓๕ พรรษา
ง.
๓๖ พรรษา
๑๓.
การโกนผมของคนในสมัยพุทธกาล บ่งถึงเป็นคนเช่นไร ?
ก.
มีทุกข์
ข.
พ้นทุกข์
ค.
จัญไร
ง.
นักโทษ
๑๔.
พระมหาบุรุษทรงศึกษาจบสมาบัติ ๘ จากสำนักใคร ?
ก.
กาฬเทวิลดาบส
ข.
อุทกดาบส
ค.
อสิตดาบส
ง.
อาฬารดาบส
๑๕.
พระมหาบุรุษพิจารณาเห็นอะไร จึงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ?
ก.
อุปมา ๓ ข้อ
ข.
พิณ ๓ สาย
ค.
ดอกบัว ๓ เหล่า
ง.
ความเมา ๓
๑๖.
ไม้แห้งที่ไกลจากน้ำ วางไว้บนบก บุรุษอาจสีให้เกิดไฟขึ้นได้ หมายถึงผู้เช่นไร ?
ก.
ควรออกบวชได้
ข.
ไม่ควรออกบวช
ค.
ควรจะตรัสรู้ได้
ง.
ไม่ควรจะตรัสรู้ได้
๑๗.
สาเหตุที่ปัญจวัคคีย์ออกบวช เฝ้าตามปรนนิบัติพระมหาบุรุษตรงกับข้อใด ?
ก.
ตอบแทนคุณ
ข.
เชื่อมั่นในตำรา
ค.
คำสั่งอาจารย์
ง.
ต้องการบรรลุตาม
๑๘.
นางสุชาดาเห็นพระมหาบุรุษประทับนั่งอยู่ สำคัญว่าใคร ?
ก.
เทวดา
ข.
ท้าวสักกะ
ค.
พระอินทร์
ง.
ท้าวมหาราช
๑๙.
ขณะฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ๗ วัน เสด็จประทับที่ใด ?
ก.
ต้นมหาโพธิ
ข.
ต้นไทร
ค.
ต้นจิก
ง.
ต้นเกตุ
๒๐.
ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกสิ้น ๗ วัน ณ สถานที่ไหน ?
ก.
อนิมิสเจดีย์
ข.
รัตนจงกรมเจดีย์
ค.
บริโภคเจดีย์
ง.
รัตนฆรเจดีย์
๒๑.
บุคคลจะรู้ทั่วถึงธรรม ทรงเปรียบด้วยดอกบัวกี่เหล่า ?
ก.
๒ เหล่า
ข.
๓ เหล่า
ค.
๔ เหล่า
ง.
๕ เหล่า
๒๒.
ใครถามว่า ท่านมักมากเสียแล้ว ไฉนถึงบรรลุธรรมได้ ?
ก.
สัตตรสวัคคีย์
ข.
ฉัพพัคคีย์
ค.
ปัญจวัคคีย์
ง.
ภัททวัคคีย์
๒๓.
ธรรมให้เกิดทุกข์แก่ผู้ทำ ไม่ทำให้เป็นอริยะ คือข้อใด ?
ก.
อัตตกิลมถานุโยค
ข.
กามสุขัลลิกานุโยค
ค.
ภาวนานุโยค
ง.
ชาคริยานุโยค
๒๔.
ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ข้อใด ?
ก.
กามสุขัลลิกานุโยค
ข.
อัตตกิลมถานุโยค
ค.
อริยสัจธรรม ๔
ง.
อริยมรรค ๘
๒๕.
โกณฑัญญะได้นามนำหน้าว่า อัญญาสิ เพราะเหตุไร ?
ก.
พระศาสดาประทาน
ข.
ได้ดวงตาเห็นธรรม
ค.
เป็นพยานการตรัสรู้
ง.
ให้ถูกต้องตามทักษา
๒๖.
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรแก่ใคร ?
ก.
สหายพระยสะ
ข.
ชฎิล ๓ พี่น้อง
ค.
ปัญจวัคีย์
ง.
ภัททวัคคีย์
๒๗.
ผู้ใด เป็นสหายของพระยสะ ?
ก.
พระอัสสชิ
ข.
พระนทีกัสสปะ
ค.
พระอุบาลี
ง.
พระสุพาหุ
๒๘.
พระสาวกที่ไปประกาศศาสนาครั้งแรก มีอุปสรรคอย่างไร ?
ก.
ทางทุรกันดาร
ข.
ขาดแคลนอาหาร
ค.
ให้การอุปสมบทไม่ได้
ง.
ไม่มีผู้ตัดสินอธิกรณ์
๒๙.
ใครกล่าวว่า ท่านถึงแสวงหาหญิงหรือหาตนดีกว่า ?
ก.
พระศาสดา
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระอัสสชิ
ง.
พระมหากัสสปะ
๓๐.
กรุงราชคฤห์ เป็นเมืองหลวงของแคว้นใด ?
ก.
โกศล
ข.
มคธ
ค.
ลิจฉวี
ง.
วัชชี
๓๑.
ใครกล่าวว่า พระองค์เป็นศาสดา ข้าพระองค์เป็นสาวก ?
ก.
พระยสะ
ข.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ค.
พระอัสสชิ
ง.
พระอุรุเวลากัสสปะ
๓๒.
พระสารีบุตร บรรลุพระอรหัตในอิริยาบถใด ?
ก.
นั่งสมาธิ
ข.
เดินจงกรม
ค.
พิจารณาพยับแดด
ง.
นั่งถวายงานพัด
๓๓.
ใครเป็นพระราชาครองกรุงราชคฤห์ ?
ก.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ข.
พระเจ้าอัญชนะ
ค.
พระเจ้าพิมพิสาร
ง.
พระเจ้าปเสนทิโกศล
๓๔.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกที่เมืองใด ?
ก.
พาราณสี
ข.
สาวัตถี
ค.
ราชคฤห์
ง.
เวสาลี
๓๕.
เราจักไม่ละสติไปในกาย คือจักพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์
พระพุทธเจ้าทรงสอนใคร ?
ก.
พระอุรุเวลากัสสปะ
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระโมคคัลลานะ
๓๖.
การประทานอุปสมบทคราวแรกที่แคว้นมคธ มีคนติเตียนว่าเป็นไปเพื่ออะไร ?
ก.
ความเห็นแก่ตัว
ข.
ประโยชน์ตนเอง
ค.
ความขาดแห่งสกุล
ง.
ความตัดญาติ
๓๗.
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ที่ไหน ?
ก.
วัดเชตวัน
ข.
วัดเวฬุวัน
ค.
ป่ามหาวัน
ง.
วัดอัมพวัน
๓๘.
ข้อใด ไม่จัดเข้าในสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ?
ก.
สถานที่ประสูติ
ข.
สถานที่บรรพชา
ค.
สถานที่ตรัสรู้
ง.
สถานที่ปรินิพพาน
๓๙.
ใครทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ?
ก.
พระอนุรุทธะ
ข.
พระมหากัสสปะ
ค.
พระอานนท์
ง.
โทณพราหมณ์
๔๐.
ปฐมสังคายนา มีพระอรหันต์เข้าร่วมกี่องค์ ?
ก.
๓๐๐ องค์
ข.
๔๐๐ องค์
ค.
๕๐๐ องค์
ง.
๗๐๐ องค์
ศาสนพิธี
๔๑.
หลักการทำบุญ ๓ อย่าง ทำให้เกิดพิธีกรรมอันเป็นแบบแผน
เดียวกันเรียกว่าอะไร ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
ศาสนพิธี
๔๒.
พิธีกรรมที่ทำตนให้ฉลาดในการละชั่วทำดี อบรมตนให้ดีงาม
ตามหลักคำสอน เรียกว่าอะไร ?
ก.
ศาสนพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
กุศลพิธี
ง.
ทานพิธี
๔๓.
การรักษาศีล ๘ สำหรับอุบาสกอุบาสิกา เรียกว่าอะไร ?
ก.
อุโบสถกรรม
ข.
อุโบสถศีล
ค.
สามัคคีอุโบสถ
ง.
ปาริสุทธิอุโบสถ
๔๔.
องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันใด เป็นวันสากลโลก ?
ก.
วันวิสาขบูชา
ข.
วันมาฆบูชา
ค.
วันอัฐมีบูชา
ง.
วันอาสาฬหบูชา
๔๕.
วันอัฏฐมีบูชา หมายถึงวันอะไร ?
ก.
วันขึ้น ๘ ค่ำ
ข.
วันแสดงธรรม
ค.
วันปรินิพพาน
ง.
วันถวายพระเพลิง
๔๖.
บุคคลผู้ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ คือใคร ?
ก.
อุบาสก
ข.
อุบาสิกา
ค.
ทายก
ง.
ปฏิคาหก
๔๗.
งานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ นิยมนิมนต์พระจำนวนเท่าไร ?
ก.
๔ รูป
ข.
๕ รูป
ค.
๙ รูป
ง.
๑๐ รูป
๔๘.
การถวายทานตามกาล เช่น ถวายผ้ากฐิน เรียกว่าอะไร ?
ก.
สังฆทาน
ข.
กาลทาน
ค.
ปาฏิปุคคลิกทาน
ง.
อกาลทาน
๔๙.
การกราบที่พร้อมด้วยองค์ คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒ เรียกว่าอะไร ?
ก.
อัษฎางคประดิษฐ์
ข.
อภิวาท
ค.
เบญจางคประดิษฐ์
ง.
นมัสการ
๕๐.
พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ......เป็นคำกล่าวอะไร ?
ก.
ชุมนุมเทวดา
ข.
อาราธนาศีล
ค.
อาราธนาพระปริตร
ง.
อาราธนาธรรม
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๒. หน้า
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐