ปัญหาและเฉลย
วิชาพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ชมพูทวีปตั้งอยู่ในทิศใดของประเทศไทย ?
ก.
ทิศเหนือ
ข.
ทิศตะวันออก
ค.
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ง.
ทิศตะวันออกเฉียงใต้
๒.
มัชฌิมประเทศ หมายถึงส่วนใดของประเทศ ?
ก.
ส่วนภายนอก
ข.
ส่วนภายใน
ค.
ส่วนปลายแดน
ง.
ส่วนกลาง
๓.
ชนชาติอริยกะ หมายถึงชนชาติใด ?
ก.
ชนชาติด้อยพัฒนา
ข.
ชนชาติเร่งพัฒนา
ค.
ชนชาติกำลังพัฒนา
ง.
ชนชาติพัฒนาแล้ว
๔.
ผู้ศึกษาด้านศิลปะ กสิกรรม และพาณิชยกรรม คือพวกใด ?
ก.
กษัตริย์
ข.
พราหมณ์
ค.
แพศย์
ง.
ศูทร
๕.
ที่ชื่อว่าสักกชนบท เพราะเหตุอะไร ?
ก.
ตั้งอยู่ในดงไม้สักทอง
ข.
ตั้งอยู่ดงไม้สักกะ
ค.
ตั้งอยู่ในเขตท้าวสักกะ
ง.
ตั้งอยู่ในเขตฤาษี
๖.
ต้นตระกูลศากยวงศ์ คือใคร ?
ก.
พระเจ้าชยเสนะ
ข.
พระเจ้าสีหหนุ
ค.
พระเจ้าอัญชนะ
ง.
พระเจ้าโอกกากราช
๗.
พระนางปชาบดี เป็นอะไรกับพระนางมายา ?
ก.
มารดา
ข.
ธิดา
ค.
เชฏฐภคินี
ง.
กนิฏฐภคินี
๘.
สิทธัตถกุมาร มีมหาปุริสลักษณะกี่ประการ ?
ก.
๓๐ ประการ
ข.
๓๒ ประการ
ค.
๓๓ ประการ
ง.
๓๘ ประการ
๙.
เหตุใด พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบพระโอรสแก่พระนางปชาบดี ?
ก.
พระนางมายาสิ้นพระชนม์
ข.
พระนางมายาทรงประชวร
ค.
พระนางมายาทรงออกบวช
ง.
พระนางมายาบำเพ็ญพรต
๑๐.
เมื่อประสูติได้ ๕ วัน เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ มาเพื่ออะไร ?
ก.
เฉลิมฉลอง
ข.
ตรวจดวงชะตา
ค.
ทำพลีกรรม
ง.
ขนานพระนาม
๑๑.
พระกุมารเริ่มศึกษาศิลปวิทยา เมื่อพระชนมายุได้กี่พรรษา ?
ก.
๕ พรรษา
ข.
๖ พรรษา
ค.
๗ พรรษา
ง.
๘ พรรษา
๑๒.
เกิดอะไรขึ้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ ข้างต้น ?
ก.
เกิดความกลัว
ข.
เกิดความเบื่อหน่าย
ค.
เกิดความสังเวช
ง.
เกิดความคิดออกบวช
๑๓.
เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงผนวชด้วยวิธีใด ?
ก.
อธิษฐานเพศ
ข.
เอหิภิกขุ
ค.
ไตรสรณคมน์
ง.
ญัตติจตุตถกรรม
๑๔.
มหาบุรุษทรงบรรพชาแล้ว เสด็จประทับแรมอยู่ที่ไหน ?
ก.
อิสิปตนมฤคทายวัน
ข.
อนุปิยอัมพวัน
ค.
เวฬุวัน
ง.
อัมพวัน
๑๕.
หลังจากเสด็จออกบรรพชาแล้ว ทรงศึกษาในสำนักใคร ?
ก.
กาฬเทวิลดาบส
ข.
ครูวิศวามิตร
ค.
อาฬารดาบส
ง.
อสิตดาบส
๑๖.
ทรงอดพระกระยาหาร ผ่อนเสวยวันละน้อย ๆ เป็นวาระที่เท่าไร ?
ก.
วาระที่ ๑
ข.
วาระที่ ๒
ค.
วาระที่ ๓
ง.
วาระที่ ๔
๑๗.
ปัญจวัคคีย์ หมายถึงใคร ?
ก.
บรรพชิต ๔ รูป
ข.
บรรพชิต ๕ รูป
ค.
บรรพชิต ๖ รูป
ง.
บรรพชิต ๗ รูป
๑๘.
การทรมานตนให้ลำบาก เรียกว่าอะไร ?
ก.
อัตตกิลมถานุโยค
ข.
กามสุขัลลิกานุโยค
ค.
ชาคริยานุโยค
ง.
ภาวนานุโยค
๑๙.
ปัญจวัคคีย์คิดว่าพระองค์คลายความเพียร...จึงหลีกไปที่ไหน ?
ก.
เวฬุวัน
ข.
ลุมพินีวัน
ค.
อนุปิยอัมพวัน
ง.
อิสิปตนมฤคทายวัน
๒๐.
นางสุชาดา เป็นธิดาของใคร ?
ก.
กษัตริย์
ข.
คหบดี
ค.
เศรษฐี
ง.
กุฎุมพี
๒๑.
พระมหาบุรุษ เสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิในเวลาใด ?
ก.
เวลาเช้า
ข.
เวลาเที่ยง
ค.
เวลาเย็น
ง.
เวลาค่ำ
๒๒.
ใครถวายหญ้าคา แก่พระมหาบุรุษ ?
ก.
ตปุสสะ
ข.
ภัลลิกะ
ค.
อุปกะ
ง.
โสตถิยะ
๒๓.
พระมหาบุรุษบรรพชากี่ปี จึงได้ตรัสรู้ ?
ก.
๕ ปี
ข.
๖ ปี
ค.
๗ ปี
ง.
๘ ปี
๒๔.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุเท่าไร ?
ก.
๑๖ พรรษา
ข.
๒๙ พรรษา
ค.
๓๕ พรรษา
ง.
๔๕ พรรษา
๒๕.
พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ผู้บริสุทธิ์จากกิเลส
ข.
ตรัสรู้เองโดยชอบ
ค.
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ง.
ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
๒๖.
สัปดาห์ที่สอง พระผู้มีพระภาคประทับเสวยวิมุตติสุขที่ใด ?
ก.
ต้นอชปาลนิโครธ
ข.
ต้นมุจจลินท์
ค.
ต้นราชายตนะ
ง.
ต้นอัสสัตถะ
๒๗.
ปัญจวัคคีย์อุปฐากพระมหาบุรุษ ด้วยจุดประสงค์ใด ?
ก.
เพื่อเป็นสาวก
ข.
เพื่อทำตามคำสั่ง
ค.
เพื่อเป็นผู้ใกล้ชิด
ง.
เพื่อให้สั่งสอนตน
๒๘.
ใครถวายข้าวสัตตุผง สัตตุก้อน แก่พระศาสดา ?
ก.
มหานามะ อัสสชิ
ข.
วัปปะ ภัททิยะ
ค.
ตปุสสะ ภัลลิกะ
ง.
อุปกะ โสตถิยะ
๒๙.
ใครทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ให้โปรดสอนเวไนยสัตว์ ?
ก.
พกาพรหม
ข.
ฆฏิการพรหม
ค.
มหาพรหม
ง.
สหัมบดีพรหม
๓๐.
ที่สุด ๒ อย่างและทางสายกลาง อยู่ในพระสูตรใด ?
ก.
เวทนาปริคคหสูตร
ข.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
อนัตตลักขณสูตร
๓๑.
“ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร” ใครกล่าว ?
ก.
อุปติสสปริพาชก
ข.
โกลิตปริพาชก
ค.
ปิปผลิมาณพ
ง.
ทีฆนขปริพาชก
๓๒.
โกลิตปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม เพราะฟังธรรมจากใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
อุปติสสปริพาชก
ค.
พระอัสสชิ
ง.
สัญชัยปริพาชก
๓๓.
พระสาวกออกไปประกาศพระศาสนาครั้งแรกกี่องค์ ?
ก.
๕ องค์
ข.
๔๕ องค์
ค.
๖๐ องค์
ง.
๖๑ องค์
๓๔.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกที่ไหน ?
ก.
ราชคฤห์
ข.
สาวัตถี
ค.
โกสัมพี
ง.
พาราณสี
๓๕.
วันจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอะไร ?
ก.
อนุปุพพีกถา
ข.
โอวาทปาฏิโมกข์
ค.
อริยสัจ ๔
ง.
มรรค ๘
๓๖.
เว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตให้ผ่องใส เป็นหัวข้อธรรมใด ?
ก.
อนุปุพพีกถา
ข.
อริยสัจ ๔
ค.
มรรค ๘
ง.
โอวาทปาฏิโมกข์
๓๗.
คู่พระอัครสาวก ก่อนบวชศึกษาในสำนักของใคร ?
ก.
อสิตดาบส
ข.
อาฬารดาบส
ค.
สัญชัยปริพาชก
ง.
นิครนถนาฏบุตร
๓๘.
ใครทำปุพพเปตพลีเป็นคนแรก ในพระพุทธศาสนา ?
ก.
พระเจ้าพิมพิสาร
ข.
พระเจ้าปเสนทิโกศล
ค.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
ง.
วิสาขามหาอุบาสิกา
๓๙.
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ตรงกับข้อใด ?
ก.
วันมาฆบูชา
ข.
วันวิสาขบูชา
ค.
วันอัฏฐมีบูชา
ง.
วันอาสาฬหบูชา
๔๐.
การร้อยกรองพระธรรมวินัยจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ เรียกว่าอะไร ?
ก.
สังคหะ
ข.
สังคายนา
ค.
สังวัธยาย
ง.
สันนิบาต
ศาสนพิธี
๔๑.
การรักษาศีล ๕ จัดเข้าในหมวดใด ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
ปกิณกพิธี
๔๒.
อาราธนาพระปริตร เป็นขั้นตอนต่อจากพิธีใด ?
ก.
จุดธูปเทียน
ข.
บูชาพระรัตนตรัย
ค.
อาราธนาศีล
ง.
สมาทานศีล
๔๓.
การทำบุญคล้ายวันเกิด จัดเข้าในหมวดพิธีใด ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
ปกิณกพิธี
๔๔.
ทานประเภทใด พระพุทธองค์ทรงแสดงว่ามีอานิสงส์มาก ?
ก.
ปาฏิบุคลิกทาน
ข.
อกาลทาน
ค.
สังฆทาน
ง.
อามิสทาน
๔๕.
การกรวดน้ำ มุ่งประโยชน์อะไร ?
ก.
อุทิศส่วนบุญ
ข.
แสดงความเคารพ
ค.
ตั้งจิตอธิษฐาน
ง.
เพื่อให้เทวดารับรู้
๔๖.
การกรวดน้ำ นิยมทำในเวลาที่พระสงฆ์เริ่มบทใด ?
ก.
ยถา วาริวหา ...
ข.
สพฺพีติโย ...
ค.
สคฺเค กาเม ...
ง.
ภวตุ สพฺ ...
๔๗.
พิธีเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา เพื่อน้อมระลึกถึงใคร ?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระรัตนตรัย
๔๘.
การนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธี ใช้คำว่าอะไร ?
ก.
อาราธนา
ข.
นมัสการ
ค.
กราบเรียน
ง.
เรียนเชิญ
๔๙.
มยํ ภนฺเต ... ปญฺจ สีลานิ ยาจาม เป็นคำอาราธนาอะไร ?
ก.
อาราธนาเทศน์
ข.
อาราธนาธรรม
ค.
อาราธนาพระปริตร
ง.
อาราธนาเบญจศีล
๕๐.
การถวายของแด่พระภิกษุ เรียกว่าอะไร ?
ก.
น้อมถวาย
ข.
ประเคน
ค.
นำถวาย
ง.
ถูกทุกข้อ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๐. หน้า ๑๕๖ - ๑๖๕.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐