ปัญหาและเฉลย
วิชาพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระราชโอรสของใคร ?
ก.
พระเจ้าชยเสนะ
ข.
พระเจ้าสีหหนุ
ค.
พระเจ้าอัญชนะ
ง.
พระเจ้าสุปปพุทธะ
๒.
พระมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะ มีพระนามว่าอะไร ?
ก.
พระนางพิมพา
ข.
พระนางปมิตา
ค.
พระนางสิริมหามายา
ง.
พระนางอมิตา
๓.
พระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ มีพระนามว่าอะไร ?
ก.
พระเจ้าสุกโกทนะ
ข.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ค.
พระเจ้าอมิโตทนะ
ง.
พระเจ้าโธโตทนะ
๔.
คำว่า
“สิทธัตถะ”
แปลว่าอะไร ?
ก.
สำเร็จสมปรารถนา
ข.
มีบุญมาก
ค.
มีรูปงาม
ง.
มีปัญญามาก
๕.
เมื่อประสูติแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จดำเนินได้กี่ก้าว ?
ก.
๓ ก้าว
ข.
๕ ก้าว
ค.
๗ ก้าว
ง.
๙ ก้าว
๖.
เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้กี่วัน จึงขนานพระนาม ?
ก.
๓ วัน
ข.
๕ วัน
ค.
๗ วัน
ง.
๙ วัน
๗.
เจ้าชายสิทธัตถะได้ปฐมฌานครั้งแรกที่ไหน ?
ก.
ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ข.
ใต้ต้นไทร
ค.
ใต้ต้นชมพูพฤกษ์
ง.
ใต้ต้นจิก
๘.
ใครติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ ในวันเสด็จออกผนวช ?
ก.
พระอานนท์
ข.
นายฉันนะ
ค.
พระอัสสชิ
ง.
นายจุนทะ
๙.
เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชที่ริมฝั่งแม่น้ำใด ?
ก.
แม่น้ำอโนมา
ข.
แม่น้ำคงคา
ค.
แม่น้ำเนรัญชรา
ง.
แม่น้ำโรหิณี
๑๐.
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช เมื่อมีพระชนมายุเท่าใด ?
ก.
๑๖ พรรษา
ข.
๒๙ พรรษา
ค.
๓๐ พรรษา
ง.
๓๕ พรรษา
๑๑.
พระมหาบุรุษทรงบรรพชาแล้ว ประทับแรมชั่วคราวที่ไหน ?
ก.
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ข.
อนุปิยอัมพวัน
ค.
สวนลุมพินีวัน
ง.
เวฬุวัน
๑๒.
พระมหาบุรุษเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะเหตุใด ?
ก.
ทรงเบื่อหน่าย
ข.
ทรงท้อแท้
ค.
ทรงคลายความเพียร
ง.
ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้
๑๓.
ใครถวายหญ้าแก่พระมหาบุรุษ ?
ก.
โกณฑัญญพราหมณ์
ข.
โสตถิยพราหมณ์
ค.
นางสุชาดา
ง.
นางวิสาขา
๑๔.
พระพุทธเจ้าทรงชนะมารได้ด้วยธรรมอะไร ?
ก.
อริยสัจ ๔
ข.
ปฏิจจสมุปบาท
ค.
อริยมรรค
ง.
บารมี ๑๐
๑๕.
คำว่า
“สัมมาสัมโพธิญาณ”
หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้โดยชอบ
ข.
ญาณเป็นเหตุให้ถึงความชอบ
ค.
ญาณเป็นมงคลส่วนที่ชอบ
ง.
ญาณเป็นเครื่องสนับสนุนโดยชอบ
๑๖.
“นิโครธ”
เป็นชื่อของต้นไม้อะไร ?
ก.
ต้นจิก
ข.
ต้นไทร
ค.
ต้นโพธิ์
ง.
ต้นรัง
๑๗.
“เนยยะ”
จัดเป็นบุคคลจำพวกใด ?
ก.
มีปัญญาเฉียบแหลม
ข.
มีปัญญาปานกลาง
ค.
มีปัญญาพอแนะนำได้
ง.
ด้อยปัญญา
๑๘.
ใครเป็นพยานการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ?
ก.
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ข.
พระวัปปะ
ค.
พระภัททิยะ
ง.
พระอัสสชิ
๑๙.
อริยสัจ แปลว่าอะไร ?
ก.
ความจริงอันประเสริฐ
ข.
ทางแห่งความดับทุกข์
ค.
ทางสายกลาง
ง.
คุณเครื่องของความสำเร็จ
๒๐.
ปฐมเทศนา ชื่อว่าอะไร ?
ก.
อนัตตลักขณสูตร
ข.
อาทิตตปริยายสูตร
ค.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ง.
เวทนาปริคคหสูตร
๒๑.
ใครเปล่งอุทานว่า
“ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”
?
ก.
ยสกุลบุตร
ข.
โกลิตมาณพ
ค.
อุปติสสมาณพ
ง.
ปิปผลิมาณพ
๒๒.
อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า คือใคร ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระมหาโมคคัลลานะ
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระสารีบุตร
๒๓.
ข้อใด ไม่ใช่ชฎิล ๓ พี่น้อง ?
ก.
อุรุเวลกัสสปะ
ข.
มหากัสสปะ
ค.
คยากัสสปะ
ง.
นทีกัสสปะ
๒๔.
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่ใคร ?
ก.
ชฎิล
ข.
ภัททวัคคีย์
ค.
ปัญจวัคคีย์
ง.
ยสกุลบุตร
๒๕.
ทีฆนขปริพาชก ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
เปรียบด้วยอะไร ?
ก.
ดวงตะวันส่องโลก
ข.
ดวงจันทร์วันเพ็ญ
ค.
บุคคลหงายของที่คว่ำ
ง.
ธรรมโอสถ
๒๖.
พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระศาสนาครั้งแรกที่ไหน ?
ก.
แคว้นคันธาระ
ข.
แคว้นมัลละ
ค.
แคว้นมคธ
ง.
แคว้นโกศล
๒๗.
วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ชื่อว่าอะไร ?
ก.
วัดเชตวัน
ข.
วัดเวฬุวัน
ค.
วัดอัมพวัน
ง.
วัดบุพพาราม
๒๘.
เวทนาปริคคหสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ใคร ?
ก.
สุภัททปริพาชก
ข.
อุปกาชีวก
ค.
ทีฆนขปริพาชก
ง.
ราธพราหมณ์
๒๙.
อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
ก.
กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ข.
สิ่งทั้งปวงเป็นของไม่ดี
ค.
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ง.
ไฟ คือราคะ โทสะ โมหะ
๓๐.
พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ที่ไหน ?
ก.
เชตวัน
ข.
เวฬุวัน
ค.
อัมพวัน
ง.
ลัฏฐิวัน
๓๑.
ปิปผลิมาณพบวชแล้ว ภายหลังนิยมเรียกท่านว่าอย่างไร ?
ก.
สุภัททะ
ข.
อุปติสสะ
ค.
มหากัสสปะ
ง.
สารีบุตร
๓๒.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกที่ไหน ?
ก.
พาราณสี
ข.
สาวัตถี
ค.
ราชคฤห์
ง.
เวสาลี
๓๓.
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจนานเท่าไร ?
ก.
๔๕ พรรษา
ข.
๔๖ พรรษา
ค.
๕๐ พรรษา
ง.
๘๐ พรรษา
๓๔.
พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้ายที่ไหน ?
ก.
นาลันทา
ข.
เวฬุวคาม
ค.
อนุปิยอัมพวัน
ง.
กัลลวาลมุตตคาม
๓๕.
โอวาทครั้งสุดท้าย พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องอะไร ?
ก.
ความตาย
ข.
ความเพียร
ค.
ความไม่ประมาท
ง.
ความสามัคคี
๓๖.
ใครไปส่งข่าวการปรินิพพานให้มัลลกษัตริย์ทรงทราบ ?
ก.
พระอนุรุทธะ
ข.
พระอานนท์
ค.
พระนันทะ
ง.
พระฉันนะ
๓๗.
“การไม่ว่ากล่าว ไม่โอวาท ไม่สั่งสอน”
เรียกว่าอะไร ?
ก.
ขับไล่
ข.
คว่ำบาตร
ค.
หงายบาตร
ง.
ลงพรหมทัณฑ์
๓๘.
สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เรียกชื่อว่าอะไร ?
ก.
สาลวโนทยาน
ข.
อนิมิสเจดีย์
ค.
มกุฏพันธนเจดีย์
ง.
รัตนฆรเจดีย์
๓๙.
ผู้กล่าวสุนทรพจน์ห้ามศึกสงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุคือใคร ?
ก.
ภารทวาชพราหมณ์
ข.
วัสสการพราหมณ์
ค.
ราธพราหมณ์
ง.
โทณพราหมณ์
๔๐.
การรวบรวมพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่าอะไร ?
ก.
สัมมนา
ข.
สันทนา
ค.
สังคายนา
ง.
สังคหะ
ศาสนพิธี
๔๑.
แบบอย่างหรือแบบแผนที่พึงปฏิบัติทางพระศาสนา เรียกว่าอะไร ?
ก.
ศาสนพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
พิธีกรรม
ง.
กุศลพิธี
๔๒.
ข้อใด จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุ ?
ก.
ทาน ศีล ภาวนา
ข.
ศีล สมาธิ ปัญญา
ค.
ศีล สมาธิ ภาวนา
ง.
อโลภะ อโทสะ อโมหะ
๔๓.
ข้อใด จัดเป็นกุศลพิธี ?
ก.
ถวายเทียนพรรษา
ข.
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ค.
รักษาอุโบสถศีล
ง.
ถวายสังฆทาน
๔๔.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันอะไร ?
ก.
วันมาฆบูชา
ข.
วันอาสาฬหบูชา
ค.
วันวิสาขบูชา
ง.
วันอัฏฐมีบูชา
๔๕.
วันมาฆบูชา คือวันอะไร ?
ก.
วันตรัสรู้
ข.
วันถวายพระเพลิง
ค.
วันแสดงปฐมเทศนา
ง.
วันแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
๔๖.
วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันใด ?
ก.
วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖
ข.
วันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖
ค.
วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
ง.
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
๔๗.
วันปวารณาออกพรรษา ตรงกับวันใด ?
ก.
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
ข.
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
ค.
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
ง.
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
๔๘.
การประณมมือ ตรงกับคำบาลีในข้อใด ?
ก.
วันทา
ข.
อัญชลี
ค.
อภิวาท
ง.
นมัสการ
๔๙.
การถวายสังฆทาน หมายถึงข้อใด ?
ก.
ถวายทานเจาะจงเจ้าอาวาส
ข.
ถวายภัตตาหารพระที่รู้จักกัน
ค.
ทำบุญเลี้ยงพระโดย
ไม่เจาะจง
ง.
ถวายยาแก่ภิกษุอาพาธ
รูปหนึ่ง
๕๐.
การกรวดน้ำในพิธีทำบุญ ต้องทำในเวลาใด ?
ก.
เมื่อพระว่า ยถา วาริวหา...
ข.
เมื่อพระรับ สัพพีติโย...
ค.
เมื่อพระขัด สัคเค...
ง.
เมื่อพระอนุโมทนา
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๘. หน้า
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐