ปัญหาและเฉลย
วิชาพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ประเทศใด ไม่อยู่ในดินแดนชมพูทวีป ?
ก.
อินเดีย
ข.
ปากีสถาน
ค.
อินโดนีเซีย
ง.
เนปาล
๒.
ก่อนที่สิทธัตถราชกุมารจะจุติมายังโลกนี้ อยู่ในสวรรค์ชั้นไหน ?
ก.
จาตุมมหาราช
ข.
ยามา
ค.
ดาวดึงส์
ง.
ดุสิต
๓.
พระพุทธองค์ประสูติก่อนพุทธศกกี่ปี ?
ก.
๑ ปี
ข.
๘๐ ปี
ค.
๙๐ ปี
ง.
๑๐๐ ปี
๔.
อาสภิวาจา พระพุทธเจ้าตรัสในวันใด ?
ก.
วันประสูติ
ข.
วันปรินิพพาน
ค.
วันแสดงธรรมครั้งแรก
ง.
วันปลงอายุสังขาร
๕.
พระนางสิริมหามายาทิวงคต เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้กี่วัน ?
ก.
๓ วัน
ข.
๕ วัน
ค.
๗ วัน
ง.
๑๕ วัน
๖.
เทวทูตใด ที่เจ้าชายสิทธัตถะเห็นแล้ว ทรงดำริออกผนวช ?
ก.
คนแก่
ข.
คนเจ็บ
ค.
คนตาย
ง.
สมณะ
๗.
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช ใครนำบริขารมาถวาย ?
ก.
สหัมบดีพรหม
ข.
ฆฏิการพรหม
ค.
โกสีย์เทวราช
ง.
สักกเทวราช
๘.
เจ้าชายสิทธัตถะอธิษฐานเพศบรรพชา ณ ริมฝั่งแม่น้ำอะไร ?
ก.
แม่น้ำอโนมา
ข.
แม่น้ำเนรัญชรา
ค.
แม่น้ำคงคา
ง.
แม่น้ำสินธุ
๙.
ข้อใด กล่าวถูกต้องในการเสด็จออกบรรพชา ?
ก.
ทรงม้าฉันนะ มีนายกัณฐกะติดตาม
ข.
ทรงม้าอัสดร
มีนายฉันนะติดตาม
ค.
ทรงม้าอาชาไนย มีนายฉันนะติดตาม
ง.
ทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะติดตาม
๑๐.
ปัญจวัคคีย์ออกบวชตามเจ้าชายสิทธัตถะ ด้วยเหตุผลอะไร ?
ก.
บวชด้วยความเคารพนับถือ
ข.
บวชด้วยความเชื่อตามตำรา
ค.
บวชเพราะพระอาจารย์สั่งไว้
ง.
บวชด้วยหวังจะบรรลุตามบ้าง
๑๑.
ใครเป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาสในวันตรัสรู้ ?
ก.
นางสุจิตรา
ข.
นางสุชาดา
ค.
นางสุธัมมา
ง.
นางสุนันทา
๑๒.
ใครเป็นผู้ถวายหญ้าคาแก่พระมหาบุรุษ ?
ก.
โสตถิยพราหมณ์
ข.
สุนิธพราหมณ์
ค.
เวรัญชพราหมณ์
ง.
โกสิยพราหมณ์
๑๓.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุเท่าไร ?
ก.
๒๙ พรรษา
ข.
๓๕ พรรษา
ค.
๓๖ พรรษา
ง.
๔๕ พรรษา
๑๔.
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?
ก.
สมมติสัจจะ
ข.
ธรรมสัจจะ
ค.
อริยสัจจะ
ง.
ปรมัตถสัจจะ
๑๕.
คำว่า
“ เท๎ววาจิกอุบาสก ”
หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
ผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ข.
ผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะ
ค.
ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ เป็นสรณะ
ง.
ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
๑๖.
พราหมณ์ที่ชอบตวาดว่า หึ หึ ได้พบกับพระพุทธเจ้าที่ใด ?
ก.
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ข.
ต้นมุจจลินท์
ค.
ต้นอชปาลนิโครธ
ง.
ต้นราชายตนะ
๑๗.
ที่สุด ๒ อย่างและทางสายกลาง
อยู่ในพระสูตรไหน ?
ก.
เวทนาปริคคหสูตร
ข.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
อนัตตลักขณสูตร
๑๘.
ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมเบื้องต้น เป็นพระอริยบุคคลชั้นไหน ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๑๙.
พระสาวกองค์ที่ ๖ บรรลุธรรมสูงสุด ด้วยพระธรรมเทศนาใด ?
ก.
อนัตตลักขณสูตร
ข.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ค.
อาทิตตปริยายสูตร
ง.
อนุปุพพีกถาและอริยสัจ
๒๐.
อุบาสกคนแรกผู้ถึงรัตนะ ๓ คือใคร ?
ก.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
ข.
ตปุสสะและภัลลิกะ
ค.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ง.
บิดาของพระยสะ
๒๑.
พระสาวกที่ออกไปประกาศพระศาสนาครั้งแรกกี่องค์ ?
ก.
๕ องค์
ข.
๑๐ องค์
ค.
๖๐ องค์
ง.
๖๑ องค์
๒๒.
“ท่านจะพึงแสวงหาหญิงนั้นดีกว่า หรือจะพึงแสวงหาตนดีกว่า”
พระพุทธองค์ตรัสแก่ใคร ?
ก.
ยสกุลบุตร
ข.
นทีกัสสปะ
ค.
ปัญจวัคคีย์
ง.
ภัททวัคคีย์
๒๓.
ใครปรารถนาขอเห็นพระอรหันต์ เป็นคนแรก ?
ก.
พระเจ้าสุทโธทนะ
ข.
พระนางปชาบดี
ค.
พระเจ้าปเสนทิโกศล
ง.
พระเจ้าพิมพิสาร
๒๔.
วัดแห่งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินมคธสร้างถวายในพระพุทธศาสนามีชื่อว่า
อะไร ?
ก.
เวฬุวัน
ข.
ลัฏฐิวัน
ค.
บุพพาราม
ง.
เชตวัน
๒๕.
วันจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักธรรมอะไร ?
ก.
พระอภิธรรม
ข.
โอวาทปาฏิโมกข์
ค.
อริยธรรม
ง.
วิมุตติธรรม
๒๖.
พระสาวกองค์ใด ถือว่าเป็นยอดกตัญญู ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระอานนท์
ค.
พระอัสสชิ
ง.
พระสารีบุตร
๒๗.
พระอัครสาวกทั้งคู่ เคยบวชเป็นอะไรมาก่อน ?
ก.
ปริพาชก
ข.
ดาบส
ค.
อาชีวก
ง.
ชฎิล
๒๘.
พระพุทธเจ้าตรัสกะพระสาวกรูปใด ไม่ให้ชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระมหาโมคคัลลานะ
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระอุรุเวลกัสสปะ
๒๙.
ใครทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ได้สำเร็จ ?
ก.
ฉันนอำมาตย์
ข.
โลลุทายี
ค.
กาฬุทายี
ง.
ราหุลกุมาร
๓๐.
ใครทำปุพพเปตพลีเป็นคนแรก ในพระพุทธศาสนา ?
ก.
พระเจ้าพิมพิสาร
ข.
พระเจ้าปเสนทิโกศล
ค.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
ง.
ธนัญชัยเศรษฐี
๓๑.
ใครถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้าเป็นคนสุดท้าย ?
ก.
นายสุภัททะ
ข.
นายจุนทะ
ค.
นางวิสาขา
ง.
นางสุชาดา
๓๒.
คำว่า
“ปลงอายุสังขาร”
หมายถึงอะไร ?
ก.
ทรงตั้งพระทัยจะปรินิพพาน
ข.
ทรงรู้พระองค์เองว่าสิ้นอายุ
ค.
ทรงตั้งพระทัยต่ออายุสังขาร
ง.
ทรงตัดพระทัยการครองเรือน
๓๓.
พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ณ สถานที่ใด ?
ก.
ธาตุเจดีย์
ข.
อนิมมิสเจดีย์
ค.
ปาวาลเจดีย์
ง.
รัตนฆรเจดีย์
๓๔.
ใครเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระสุภัททะ วุฑฒบรรพชิต
ง.
พระสุภัททะ ปริพาชก
๓๕.
ใครไปส่งข่าวการเสด็จดับขันธปรินิพพานแก่เจ้ามัลลกษัตริย์ ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระนันทะ
ง.
พระฉันนะ
๓๖.
พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่ ๔๕ ที่ไหน ?
ก.
นาลันทา
ข.
เวฬุวคาม
ค.
เวฬุวัน
ง.
กัลลวาลมุตตคาม
๓๗.
ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งใครเป็นศาสดาแทน ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระอานนท์
ค.
พระไตรปิฎก
ง.
พระธรรมวินัย
๓๘.
พระพุทธรูป จัดเป็นเจดีย์ประเภทใด ?
ก.
ธาตุเจดีย์
ข.
ธรรมเจดีย์
ค.
อุทเทสิกเจดีย์
ง.
บริโภคเจดีย์
๓๙.
ผู้ใดถวายผ้าสิงคิวรรณแด่พระพุทธเจ้า ?
ก.
มัลลกษัตริย์ชื่อปุกกุสะ
ข.
วิสาขา มหาอุบาสิกา
ค.
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
ง.
พระนางปชาบดีโคตมี
๔๐.
พระบรมสารีริกธาตุ ถูกแบ่งออกเป็นกี่ส่วน ?
ก.
๖ ส่วน
ข.
๗ ส่วน
ค.
๘ ส่วน
ง.
๙ ส่วน
ศาสนพิธี
๔๑.
บุญกิริยาวัตถุ หมายถึงข้อใด ?
ก.
การตั้งใจทำบุญ
ข.
สิ่งของสำหรับทำบุญ
ค.
สถานที่ทำบุญ
ง.
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ
๔๒.
การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จัดเข้าในพิธีใด ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
ทานพิธี
ค.
บุญพิธี
ง.
ปกิณกพิธี
๔๓.
วันจาตุรงคสันนิบาต คือวันใด ?
ก.
วันมาฆบูชา
ข.
วันวิสาขบูชา
ค.
วันอัฏฐมีบูชา
ง.
วันอาสาฬหบูชา
๔๔.
วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ?
ก.
วันประสูติ
ข.
วันแสดงปฐมเทศนา
ค.
วันปรินิพพาน
ง.
วันพระเจ้าเปิดโลก
๔๕.
กิริยาเช่นไร เรียกว่า อภิวาท ?
ก.
การไหว้
ข.
การกราบพระ
ค.
การน้อมศีรษะ
ง.
การประนมมือ
๔๖.
บุญพิธีแยกออกเป็นกี่ประเภท ?
ก.
๒ ประเภท
ข.
๓ ประเภท
ค.
๔ ประเภท
ง.
๕ ประเภท
๔๗.
ข้อใด ไม่จัดอยู่ในงานบุญพิธี ?
ก.
การถือศีลอุโบสถ
ข.
งานทำบุญอัฐิ
ค.
งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ง.
งานมงคลสมรส
๔๘.
ข้อใด ไม่ใช่พิธีทำบุญงานมงคล ?
ก.
งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ข.
งานอุปสมบท
ค.
งานทำบุญสัตตมวาร
ง.
งานทำบุญอายุ
๔๙.
กัปปิยการก หมายถึงใคร ?
ก.
เจ้าภาพ
ข.
พระสงฆ์
ค.
ผู้ปฏิบัติพระ
ง.
เจ้าอาวาส
๕๐.
การกรวดน้ำมุ่งประโยชน์อะไร ?
ก.
อุทิศส่วนบุญ
ข.
แสดงความเคารพ
ค.
ตั้งจิตอธิษฐาน
ง.
เพื่อให้เทวดารับรู้
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๗. หน้า ๑๒๕-๑๓๓.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐