๒๖. อสนฺเต  นูปเสเวยฺย สนฺเต  เสเวยฺย  ปณฺฑิโต
อสนฺโต  นิรยํ  เนนฺติ สนฺโต  ปาเปนฺติ  สุคตึ.
  บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ  พึงคบสัตบุรุษ  เพราะอสัตบุรุษย่อม
นำไปสู่นรก  สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
  (โพธิสตฺต) [ออกสอบ ๒๕๕๖] ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๓๗.
     
๒๗. ตครํ  ว ปลาเสน โย  นโร  อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ  สุรภี  วายนฺติ  เอวํ  ธีรูปเสวนา.
  คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้  แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด, การ
คบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.
  (โพธิสตฺต) ขุ.  ชา. วีส.  ๒๗/๔๓๗.
     
๒๘. น  ปาปชนสํเสวี  อจฺจนฺตสุขเมธติ
โคธากุลํ  กกณฺฏาว กลึ  ปาเปติ  อตฺตนํ.
  ผู้คบคนชั่ว  ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้,  เขาย่อมยังตน
ให้ประสบโทษ  เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น.
  (โพธิสตฺต)  ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๔๖.
     
๒๙. ปาปมิตฺเต  วิวชฺเชตฺวา  ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล  
โอวาเท  จสฺส  ติฏฺเยฺย ปตฺเถนฺโต  อจลํ  สุขํ.
  ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง  พึงเว้นมิตรชั่วเสีย  คบแต่บุคคล
สูงสุด  และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.
  (วิมลเถร) [ออกสอบ ๒๕๔๘] ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๐๙.
     
๓๐. ปูติมจฺฉํ  กุสคฺเคน   โย  นโร  อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ  วายนฺติ   เอวํ  พาลูปเสวนา.
  คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา  แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่า
ไปด้วยฉันใด,  การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น.
  (ราชธีตา) ขุ.  ชา  มหา.  ๒๘/๓๐๓.
     
๓๑. ยาทิสํ  กุรุเต  มิตฺตํ   ยาทิสญฺจูปเสวติ,
โสปิ   ตาทิสโก  โหติ  สหวาโส  หิ  ตาทิโส.
  คบคนเช่นใดเป็นมิตร  และสมคบคนเช่นใด,  เขาก็เป็นคนเช่น
นั้น  เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.
  (โพธิสตฺต) [ออกสอบ ๒๕๔๖] ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๓/๔๓๗.
     
๓๒.
สทฺเธน  จ  เปสเลน  จ     
ปญฺวตา  พหุสฺสุเตน  จ
สขิตํ  หิ  กเรยฺย  ปณฺฑิโต.
ภทฺโท  สปฺปุริเสหิ  สงฺคโม.
  บัณฑิต   พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนที่ศรัทธา  มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต,  เพราะการสมาคมกับคนดี  เป็นความเจริญ.
  (อานนฺทเถร) ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๐๕.
     
                                  

เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
พุทธศาสนสุภาษิต