๔. อติสีตํ  อติอุณฺหํ อติสายมิทํ  อหุ
อิติ  วิสฺสฏฺกมฺมนฺเต อตฺเถ  อจฺเจนฺติ  มาณเว.
  ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน  ด้วยอ้างว่า
หนาวนัก  ร้อนนัก  เย็นเสียแล้ว.
  (พุทฺธ) [ออกสอบ ๒๕๕๕] ที.  ปาฏิ.  ๑๑/๑๙๙.
     
๕.  อถ  ปาปานิ   กมฺมานิ กรํ  พาโล  น  พุชฺฌติ
เสหิ  กมฺเมหิ  ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว  ตปฺปติ.
  เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม  ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก  เขาเดือดร้อน
เพราะกรรมของตน  เหมือนถูกไฟไหม้.
  (พุทฺธ) [ออกสอบ ๒๕๕๑] ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๓.
     
๖. ยาทิสํ  วปเต  พีชํ ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ
กลฺยาณการี  กลฺยาณํ ปาปการี  จ  ปาปกํ.
  บุคคลหว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้ผลเช่นนั้น  ผู้ทำกรรมดี  ย่อม
ได้ผลดี  ผู้ทำกรรมชั่ว  ย่อมได้ผลชั่ว.
  (พุทฺธ) [ออกสอบ ๒๕๔๗] สํ.  ส.  ๑๕/๓๓๓.
     
๗. โย  ปุพฺเพ  กตกลฺยาโณ กตตฺโถ  นาวพุชฺฌติ
อตฺถา  ตสฺส  ปลุชฺชนฺติ เย  โหนฺติ  อภิปตฺถิตา. 
  ผู้ใด  อันผู้อื่นทำความดี  ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน   แต่ไม่
รู้สึก  (คุณของเขา),  ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย.
  (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  สตฺตก.  ๒๗/๒๒๘.
     
๘. โย   ปุพฺเพ  กตกลฺยาโณ กตตฺโถ  มนุพุชฺฌติ
อตฺถา  ตสฺส  ปวฑฺฒนฺติ เย   โหนฺติ  อภิปตฺถิตา.
  ผู้ใด  อันผู้อื่นทำความดี  ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน  ย่อม
สำนึก (คุณของเขา) ได้   ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.
  (ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  สตฺตก.  ๒๗/๒๒๘.
  [ออกสอบ ๒๕๕๒]  
๙. โย  ปุพฺเพ  กรณียานิ ปจฺฉา  โส  กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺํ  ภญฺโชว ส  ปจฺฉา  อนุตปฺปติ.
  ผู้ใด  ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน   ในภายหลัง  ผู้นั้น  ย่อม
เดือดร้อนในภายหลัง  ดุจมาณพ  (ผู้ประมาทแล้วรับ)  หักไม้กุ่ม
ฉะนั้น.
  (โพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๒๓.
     
๑๐. สเจ  ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ  นิคจฺฉติ
โปราณกํ  กตํ  ปาปํ ตเมโส  มุญฺจเต  อิณํ.
  ถ้าประสพสุขทุกข์  เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ  ชื่อว่า
เปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้  ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.
  (โพธิสตฺต) ขุ.  ชา.  ปญฺาส.  ๒๘/๒๕.
     
๑๑. สุขกามานิ  ภูตานิ โย  ทณฺเฑน  วิหึสติ
อตฺตโน   สุขเมสาโน เปจฺจ  โส  น  ลภเต  สุขํ.
  สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข  ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน 
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา  ผู้นั้นละไปแล้ว  ย่อมไม่ได้สุข.
  (พุทฺธ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๒.
     
๑๒. สุขกามานิ  ภูตานิ โย  ทณฺเฑน  น  หึสติ
อตฺตโน  สุขเมสาโน เปจฺจ  โส  ลภเต  สุขํ.
  สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข   ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน 
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา  ผู้นั้นละไปแล้ว  ย่อมได้สุข.
  (พุทฺธ) [ออกสอบ ๒๕๕๐] ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๒.
     
 


กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
พุทธศาสนสุภาษิต