กิริยาอาขยาต
วิภัตติ
วิภัตตินั้นท่านจำแนกไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ จัดเป็น ๘ หมวด ในหมวดหนึ่งๆ มี ๑๒ วิภัตติ
กาล
ในอาขยาตนั้น แบ่งกาลที่เป็นประธานได้ ๓ คือ
กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เรียกว่าปัจจุบันกาล ๑
กาลล่วงแล้ว เรียกว่า อดีตกาล ๑
กาลยังไม่มาถึง เรียกว่า อนาคตกาล ๑

กาลทั้ง  ๓  นั้น  แบ่งให้ละเอียดออกอีก,   ปัจจุบันกาลจัดเป็น ๓  คือ   ปัจจุบันแท้ ๑.   ปัจจุบันใกล้อดีต  ๑,  ปัจจุบันใกล้
อนาคต ๑.  อดีตกาลจัดเป็น ๓  เหมือนกัน  คือ  ล่วงแล้วไม่มีกำหนด ๑,
ล่วงแล้ววานนี้ ๑,   ล่วงแล้ววันนี้  ๑.  อนาคตกาล  จัดเป็น ๒ คือ
อนาคตของปัจจุบัน  ๑,  อนาคตของอดีต  ๑.  กาลที่กล่าวโดยย่อหรือ
พิสดารนี้  ในเวลาพูดหรือแต่งหนังสือ  อ่านหนังสือ  ต้องหมายรู้ด้วย
วิภัตติ  ๘  หมู่ที่กล่าวแล้ว

บท

วิภัตตินั้น  แบ่งเป็น  ๒ บท  คือ  ปรัสสบท  บทเพื่อผู้อื่น ๑  อัตตโนบท  บทเพื่อตน ๑.  ปรัสสบทเป็นเครื่องหมายให้รู้กิริยาที่เป็นกัตตุวาจก,  อัตตโนบท  เป็นเครื่องหมายให้รู้กิริยาที่เป็น    กัมมวาจกและภาววาจก  อันจะกล่าวข้างหน้า,  แต่จะนิยมลงเป็นแน่
ทีเดียวก็ไม่ได้.   บางคราวปรัสสบทเป็นกัมมวาจกและภาววาจกก็มี
เหมือนคำบาลีว่า  "สทิโส  เม  น  วิชฺชติ.  คนเช่นกับ  ด้วยเรา 
๑      ๒  ๓     ๔            ๑               ๒
[อันใคร ๆ]  ย่อมหา  ไม่ได้. น  จ  ลพฺภติ  รูเป.   อนึ่ง   [อัน
๔          ๓     ๑  ๒   ๓        ๔        ๒
ใคร ๆ]  ย่อมไม่   ได้  ในรูป"  เป็นต้น.
๑         ๓      ๔
บางคราว   อัตตโนบทเป็นกัตตุวาจกก็มี    เหมือนคำบาลีว่า
"ปิยโต  ชายเต  โสโก  ความโศก   ย่อมเกิด  แต่ของที่รัก."  เป็นต้น.
๑         ๒        ๓           ๓            ๒              ๑
คำที่กล่าวข้างต้นนั้น   ประสงค์เอาแต่บทที่เป็นไปโดยมาก  ถ้า
จำกำหนดให้ละเอียดแล้ว  ต้องอาศัยปัจจัยด้วย.

วจนะ

วิภัตตินั้น  จัดเป็นวจนะ  ๒  คือ  เอกวจนะ  ๑  พหุวจนะ ๑.เหมือนวิภัตตินาม   ถ้าศัพท์นามที่เป็นประธานเป็นเอกวจนะ  ต้อง
ประกอบกิริยาศัพท์เป็นเอกวจนะตาม,  ถ้านามศัพท์เป็นพหุวจนะ  ก็
ต้องประกอบกิริยาศัพท์เป็นพหุวจนะตาม,   ให้มีวจนะเป็นอันเดียวกัน
อย่างนี้ :-
โส  คจฺฉติ  เขา ไปอยู่,  เต  คจฺฉนฺติ  เขาทั้งหลาย  ไปอยู่.  ยกไว้แต่นามศัพท์ที่เป็นเอกวจนะหลาย  ๆ ศัพท์   รวมกันด้วย  'จ'  ศัพท์
ใช้กิริยาเป็นพหุวจนะ

บุรุษ

วิภัตตินั้น  จัดเป็นบุรุษ  ๓  คือ  ประถมบุรุษ  ๑  มัธยม-บุรุษ  ๑  อุตตมบุรุษ ๑,  เหมือนปุริสสัพพนาม.  ถ้าปุริสสัพพนามใด
เป็นประธาน  ต้องใช้กิริยาประกอบวิภัตติให้ถูกต้องตามปุรสสัพพนาม
นั้น อย่างนี้ :-   โส  ยาติ  เขา  ไป,  ตฺวํ  ยาสิ  เจ้า ไป,  อหํ
ยามิ  ข้า  ไป.  ในเวลาพูดหรือเรียนหนังสือ  แม้จะไม่ออกชื่อ
ปรุสสัพพนาม   ใช้แต่วิภัตติกิริยาให้ถูกต้องตามบุรุษที่ตนประสงค์จะ
ออกชื่อ   ก็เป็นอันเข้าใจกันได้เหมือนกัน,  เหมือนคำว่า  เอกิ  [เจ้า]
จงมา.  ถึงจะไม่ออกชื่อ 'ตฺวํ'   ก็รู้ได้  เพราะ  'หิ'    วิภัตติ  เป็ฯ
ปัญจมี,  เอกวจนะ,   มัธยมบุรุษ  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็ส่องความให้เห็น
ว่าเป็นกิริยาของ  'ตฺวํ'  ซึ่งเป็นมัธยมบุรุษ,   เอกวจนะ.  แม้คำว่า
ปุญฺํ  กริสฺสาม  [ข้า ท.]  จักทำ  ซึ่งบุญ.  ถึงจะไม่ออกชื่อ  'มยํ'
ก็รู้ได้   โดยนัยที่กล่าวแล้ว.


โปรดเลือกรายการ