|
วาจก คือ กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ และปัจจัย
วาจกมี ๕ อย่าง คือ กตฺตุวาจก กมฺมวาจก ภาววาจก
เหตุกตฺตุวาจก เหตุกมฺมวาจก |
กิริยาศัพท์ใดกล่าวผู้ทำ คือ แสดงว่า เป็นกิริยาของ
ผู้ทำนั่นเอง
กิริยาศัพท์นั้น ชื่อ กัตตุวาจก มีอุทาหรณ์ว่า
สูโท โอทนํ ปจติ. พ่อครัว หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก. |
กิริยาศัพท์ใดกล่าวกรรม สิ่งที่บุคคลพึงทำ คือ แสดงว่าเป็นกิริยาของกรรมนั้นเอง กิริยาศัพท์นั้น
ชื่อ กัมมวาจก มีอุทาหรณ์ว่า
สูเทน โอทโน ปจิยเต. ข้าวสุก อันพ่อครัว หุงอยู่. |
กิริยาศัพท์ใดกล่าวแต่สักว่า ความมี ความเป็น เท่านั้น ไม่กล่าวกัตตาและกรรม กิริยาศัพท์นั้น ชื่อ
ภาววาจก มีอุทาหรณ์ว่า
เตน ภูยเต. อันเขา เป็นอยู่. |
กิริยาศัพท์ใดกล่าวผู้ใช้ให้คนอื่นทำ คือ แสดงว่า เป็นกิริยาของผู้ใช้ให้ผู้อื่นทำนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อ
เหตุกัตตุวาจก มีอุทาหรณ์ว่า
สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ.
นาย ยัง(หรือใช้) พ่อครัว ให้หุงอยู่
ซึ่งข้าวสุก.
|
กิริยาศัพท์ใด กล่าวสิ่งที่เขาใช้ให้บุคคลทำ คือ
แสดงว่าเป็นกิริยาของสิ่งนั้น กิริยาศัพท์นั้น ชื่อ
เหตุกัมมวาจก มีอุทาหรณ์ว่า
สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต.
ข้าวสุก อันนาย ใช้พ่อครัว
ให้หุงอยู่. |
|
|