อธิบายศัพท์
ขันติ  แปลว่า   ความอดทน   เป็นลักษณะของผู้มีมีน้ำใจเข้มแข็ง
หนักแน่น   เป็นสมบัติของนักรบ   เหมือนช้างที่ออกสู่สงครามจะต้องเป็น
ช้างที่อดทนต่อภัยอันตรายจากข้าศึก   ความอดทนเป็นคุณสมบัติของ
นักปกครองด้วย    เป็นมงคลเหตุแห่งความเจริญด้วย.
ขันติ  เป็นคำพูดง่าย ๆ  แต่แฝงไว้ซึ่งความหมายอย่างลึกซึ้ง  เพราะ
มักจะได้ฟังและใช้พูดกันอยู่เสมอว่า   น้ำอด   น้ำทน   อดได้   ทนได้  หรือ
น้ำใจทรหดอดทน   ความอดทนนี้  เป็นหลักคำสอนสำคัญประการหนึ่ง
ซึ่งเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในเรื่องวันสำคัญของศาสนา   วัน
นั้นคือวันมาฆบูชา   พระองค์ได้ประทานพระโอวาท   คือ  โอวาทปาฏิโมกข์
เป็นการแสดงหลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาในที่ประชุมสงฆ์
ว่า   " ความอดกลั้นคือความทนทานเป็นตบะธรรมอย่างยอด "     ดังนี้เป็นต้น.
        ความอดทนในที่นี้   หมายเอาความอดทนในฝ่ายดีอย่างเดียว   ซึ่ง
เป็นไปทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม   ว่าโดยประเภทมี  ๓      คือ :-
๑.  อดทนต่อความลำบากตรากตรำ   เช่น  ทนหนาว   ทนร้อน
ทนต่อคำสั่งสอน  ทนในการศึกษาเล่าเรียน   และทนในการประกอบ
การงานอาชีพ   ด้วยความชื่อสัตย์สุจริต.        
๒.  อดทนต่อทุกขเวทนา   เช่นเมื่อเวลาเกิดอาพาธภายใน  หรือกาย
เป็นบาดแผลเป็นต้น   ไม่แสดงอาการทุรนทุรายวุ่นวายจนเกินกว่าเหตุไป.
๓.  อดทนต่อความเจ็บใจ    เช่นในคราวที่ได้ประสบอนิฏฐารมณ์
มีคำด่าว่า    เสียดสี   คำสาปแช่งของผู้อื่นเป็นต้น.
ความอดทนนั้น  ว่าโดยลักษณะมี  ๓  คือ :-
๑. ตีติกขาขันติ      อดทนด้วยการกลั้นไว้ได้.
๒. ตปขันติ            อดทนจนเป็นตบะเดชะ.
๓. อธิวาสนขันติ      อดทนจนยังคำพูดหยาบคายของผู้อื่นให้กลับ
                           อยู่เป็นเพื่อนเป็นมิตรกันได้.
ตีติกขาขันติ    อดทนด้วยการกลั้นไว้ได้    นั้น     ข้อนี้ต้องใช้สติ
นึกอยู่เสมอว่า  คนที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะ   ต้องกระทบกระทั่งกันบ้าง
เป็นธรรมดา   ถ้าได้ยินได้ฟังเสียงที่ไม่เพราะหู   ก็ต้องอดทน    โดยนำเอา
ความดีเข้าต่อสู้เพื่อชนะความไม่ดีนั้น   และไม่ก่อเหตุวิวาททุ่มเถียงกันขึ้น
ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกันเพราะคำพูด.
ตปขันติ   อดทนจนเป็นตบะเดชะ    นั้น    ข้อนี้มีความสำคัญมาก
ยิ่งขึ้นไปอีก   คนที่อยู่นิ่ง ๆ  เฉย ๆ  คอยระวังคำพูดของตนอยู่เสมอ   โดย
มากมักจะเป็นคนมีตบะทุกคน   คนที่พูดมากจู้จี้ขี้บ่นจนรำคาญ  ว่าคนโน้น
บ้าง   คนนี้บ้าง    มักจะเสียตบะ   เพราะจะทำให้คนอื่นขาดความเคารพ
เกรงกลัว   ส่วนคนที่มีความระวังเคร่งขรึมไม่ค่อยจู้จี้กับใคร   พูดบ้างเป็น
ครั้งคราว    มักจะมีคนเกรงกลัว   มีตบะเดชะอยู่ในตัว  และอดทนเผา
ความชั่วในจิตให้หมดไป.
อธิวาสนขันติ    ได้แก่การทนได้    ธารได้เหมือนลักษณะของ แผ่นดิน   แม้ต้นไม้  ภูเขา   และอื่น ๆ   แผ่นดินก็ยังทรงไว้ได้   อดทน
จนเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี   คือยอมรับความลำบากกายลำบาก
ใจ   ยอมรับด้วยใบหน้าชื่นบาน  เขาจะตำหนิติเตียน   ด่าว่า   หยาบคาย
เสียดสีให้เจ็บใจอย่างไรก็ทนได้   ไม่แสดงการโต้ตอบ   ในที่สุดเรื่องก็สงบ
ไปเอง    พระบรมศาสดาถูกพรรคพวกของนางมาคัณฑิยาใส่ความปริภาษ
พระองค์ด้วยคำด่าต่าง  ๆ  นานา    กล่าวหาว่าพระองค์เป็นอูฐ    เป็นลา
เป็นต้นถึง  ๗  วัน   พระองค์ก็ไม่หวั่นไหว   พระอานนท์กราบทูลให้เสด็จ
หนีไปสู่เมืองอื่น     พระองค์กลับตรัสถามว่า    ถ้าถูกคนในเมืองนั้นด่าอีก
จะทำอย่างไร   พระอานนท์ทูลว่า   หนีไปเมืองอื่นอีก   พระองค์ตรัสซักว่า
ถ้าถูกคนเมืองนั้นด่าอีกจะทำอย่างไร   พระอานนท์ก็ทูลว่า  หนีไปเมืองอื่น ๆ
ต่อไป    พระองค์ตรัสว่า    อย่างนั้นไม่สมควร    เรื่องเกิดที่ไหน   ควรให้
ระงับไปในที่นั้น.
         โสรัจจะ   แปลว่า   ความเสงี่ยม   ได้แก่การรู้จักทำจิตใจให้แช่มชื่น
ผ่องใสเบิกบาน   มีกายวาจาสงบเสงี่ยมเรียบร้อย    เพราะเมื่ออดทนได้แล้ว
ก็ไม่แสดงกิริยากาย     วาจา    ให้ผิดปกติ   คนที่ถูกหมิ่นประมาทให้ได้รับ
ความเจ็บใจ   ไม่แสดงการโต้ตอบ   เพราะอดทนได้   แต่ยังแสดงอาการ
ผิดปกติ    เช่น  หน้าบูดบึ้งเมื่อเกิดความโกรธขึ้น    หรือครวญครางเมื่อ
ทุกขเวทนาครอบงำเป็นต้น   เพราะยังขาดธรรมะคือโสรัจจะ.  แต่สำหรับผู้
มีขันติ   อดทนต่อความเจ็บใจได้แล้ว    ยังรู้จักทำใจให้สงบแช่มชื่นเบิกบาน
อีกด้วย   คือมีการปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น   เพราะมีธรรมะคือ
โสรัจจะ    ธรรมข้อนี้ย่อมเข้าสนับสนุนขันติให้สูงเด่นขึ้น.
อธิบายชื่อหมวดธรรม
ขันติ  และ   โสรัจจะ  ชื่อว่า   ธรรมอันทำให้งาม   คำว่า  ทำให้งาม
นั้น   อธิบายว่า   ความงามมีอยู่   ๒  ประการ   คืองามภายนอก  ๑   งาม
ภายใน  ๑  ความสะสวยงดงามของรูปกายอันธรรมดาปรุงแต่งมาแต่กำเนิด
และอาศัยการตกแต่งด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ต่าง ๆ    ชื่อว่าความงามภายนอก
อันความงามภายนอกนี้  ย่อมเป็นที่นิยมกันทั่วไป   ซึ่งได้ในคำว่า  "ไก่
งามเพราะขน  คนงามเพราะแต่ง "   แต่ถึงดังนั้นก็ตาม  บุคคลจะอาศัย
แต่ความงามภายนอกอย่างเดียวนั้นไม่พอ   ต้องอาศัยความงามภายในเข้า
สนับสนุนด้วยจึงจะเป็นคนงามโดยสมบูรณ์  อาการที่ใจสงบ   อดทนไว้ได้
แม้ในขณะที่มีอารมณ์ชั่วร้ายมากระทบกระทั่งก็ไม่แสดงออกให้ปรากฏทาง
กายและวาจา   ชื่อว่าความงามภายใน   อันความงามภายในนั้น   เป็นความ
งามที่นิยมกันยิ่งนักในพระศาสนา    เพราะผู้ที่สมบูรณ์ด้วยขันติและโสรัจจะ
ย่อมมีใจหนักแน่น   ไม่แสดงอาการสูง  ๆ  ต่ำ  ๆ   แม้จะประสบความดีใจ
หรือเสียใจก็อดกลั้นได้   รักษากาย   วาจา    ใจ   ให้สุภาพเรียบร้อยเป็น
ปกติ   สมภาวะของตน   น่าเคารพนับถือ   พระบรมศาสดาได้ตรัสแก่เหล่า
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี   ผู้แตกความสามัคคีกันว่า... ข้อที่เธอทั้งหลาย
ผู้บวชแล้วในพระธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้      ควรเป็นผู้
อดกลั้นและเป็นผู้สงบเสงี่ยม   จะพึงงามในพระธรรมวินัยนี้แล   ภิกษุ
ทั้งหลาย...๑    ดังนี้.
อนึ่ง  การที่บุคคลมารักษา  ควบคุมใจให้อดทนต่อกิเลสและผัสสะจนสงบ
ระงับได้  ชื่อว่าได้เจริญสมาธิ  เพราะฉะนั้น  ขันติและโสรัจจะ จึงจัดเข้าใน
ไตรสิกขาข้อว่า   สมาธิสิกขา  หรือ จิตตสิกขา  ได้ด้วย.

๑.  องฺ.  ปญฺจก.  ๒๒/๒๘๓
                           คำถามสอบความเข้าใจ
๑.  ขันติ  แปลว่ากระไร  ?   เป็นลักษณะและคุณสมบัติของบุคคลเช่นไร  ?
๒.  ขันติ  ว่าโดยประเภทมีเท่าไร  ?   อะไรบ้าง  ?
๓.  ขันติ   ว่าโดยลักษณะมีเท่าไร  ?   อะไรบ้าง   อธิบายพอเข้าใจ  ?
๔.  อธิวาสนขันติ   อธิบายอย่างไร  ?  ขอตัวอย่างด้วย  ?
๕.  พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในวันมาฆบูชานั้น
      ทรงยกธรรมะอะไรขึ้นแสดงก่อน   และทรงแสดงว่าอย่างไร ?
๖.  โสรัจจะ   แปลว่ากระไร ?  มีลักษณะอย่างไร   อธิบายด้วย  ?  
๗.  ขันติ   และโสรัจจะ  ต่างกันอย่างไร  ?  ควรเจริญธรรมทั้ง ๒  นี้
      ในขณะไหน   จึงจัดว่าธรรมอันทำให้งามได้  ?
๘.  คำพูดที่ว่า   " ผู้มีขันติ   และโสรัจจะ   ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง สูง ๆ
      ต่ำ  ๆ ลุ่ม  ๆ  ดอน  ๆ  "   นั้น  ท่านเห็นด้วยหรือไม่  ? เพราะเหตุไร  ?
๙.  ขันติ  และโสรัจจะ  สงเคราะห์เข้าในไตรสิกขาข้อไหนได้บ้าง  ?
๑๐. พระบรมศาสดาตรัสประทานพระโอวาทแก่เหล่าภิกษุชาวเมือง
      โกสัมพีผู้แตกความสามัคคีกัน    มีใจความว่าอย่างไร  ?
 
หนังสืออ้างอิง : นวโกวาท หน้า ๒๘, ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๘-๑๒.
สาระการเรียนรู้
ธรรมวิภาค
ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก
ธรรมเป็นโลกบาล
ธรรมอันทำให้งาม
บุคคลหาได้ยาก
ติกะ คือ หมวด ๓
รัตนะ
คุณของรัตนะ
อาการที่ทรงสั่งสอน
โอวาท
ทุจริต
สุจริต
อกุศลมูล
กุศลมูล
สัปปุริสบัญญัติ
อปัณณกปฏิปทา
บุญกิริยาวัตถุ
สามัญญลักษณะ
จตุกกะ คือ หมวด ๔
วุฑฒิ
จักร
อคติ
อันตราย
ปธาน
อธิษฐานธรรม
อิทธิบาท
ควรทำความไม่ประมาท
ปาริสุทธิศีล
อารักขกัมมัฏฐาน
พรหมวิหาร
สติปัฏฐาน
ธาตุกัมมัฏฐาน
อริยสัจ
ปัญจกะ คือ หมวด ๕
อนันตริยกรรม
อภิณหปัจจเวกข์
เวสารัชชกรณธรรม
องค์แห่งภิกษุใหม่
องค์แห่งธรรมกถึก
ธัมมัสสวนานิสงส์
พละ
นิวรณ์
ขันธ์
ฉักกะ คือ หมวด ๖
คารวะ
สาราณิยธรรม
อายตนะภายใน
อายตนะภายนอก
วิญญาณ
สัมผัส
เวทนา
ธาตุ
สัตตกะ คือ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม
อริยทรัพย์
สัปปุริสธรรม
โพชฌงค์
อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย
มรรค
นวกะ คือ หมวด ๙
มละ
ทสกะ คือ หมวด ๑๐
อกุศลกรรมบถ
กุศลกรรมบถ
บุญกิริยาวัตถุ
ธรรมที่ควรพิจารณา
นาถกรณธรรม
กถาวัตถุ
อนุสสติ
ปกิณณกะ คือ
หมวดเบ็ดเตล็ด
อุปกิเลส ๑๖
โพธิปักขิยธรรม ๓๗
คิหิปฏิบัติ
จตุกกะ
กรรมกิเลส
อบายมุข
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
สัมปรายิกัตถประโยชน์
มิตตปฏิรูป
มิตรแท้
สังคหวัตถุ
สุขของคฤหัสถ์
ความปรารถนาที่ได้ยาก
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย
ตระกูลมั่งคั่ง
ธรรมของฆราวาส
ปัญจกะ
ประโยชน์การถือโภคทรัพย์
ศีล
มิจฉาวณิชชา
สมบัติของอุบาสก
ฉักกะ
ทิศ
- ทิศเบื้องหน้า
- ทิศเบื้องขวา
- ทิศเบื้องหลัง
- ทิศเบื้องซ้าย
- ทิศเบื้องต่ำ
- ทิศเบื้องบน
อบายมุข
- ดื่มน้ำเมา
- เที่ยวกลางคืน
- เที่ยวดูการเล่น
- เล่นการพนัน
- คบคนชั่วเป็นมิตร
- เกียจคร้านทำการงาน