๑๐.
|
อตฺถงฺคตสฺส น ปมาณมตฺถิ
เยน นํ วชฺชึ ตํ ตสฺส นตฺถิ
สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ
สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ.
|
|
ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าว
ถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง
(มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง
(ว่าผู้นั้นเป็นอะไร) ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ส. ๒๕/๕๓๙.
ขุ. จู. ๓๐/๑๓๙. |
|
|
|
๑๑.
|
อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ
อุทฺธํ อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ
เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุํ.
|
|
พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้
มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ส. ๒๕/๕๔๖.
ขุ. จู. ๓๐/๒๐๒. |
|
|
|
๑๒.
|
อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
|
|
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๕๓. |
|
|
|
๑๓. |
โอวเทยฺยานุสาเสยฺย |
อสพฺภา จ นิวารเย |
|
สติ หิ โส ปิโย โหติ |
อสตํ โหติ อปฺปิโย. |
|
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี. |
|
( พุทฺธ ) [ออกสอบ ๒๕๔๘] |
ขุ. ธ. ๒๕/๒๕ |
|
|
|
๑๔. |
กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา |
วีตตณฺโห สทา สโต |
|
สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ |
ตสฺส โน สนฺติ อิฺชิตา. |
|
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจาก
ตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มี
ความหวั่นไหว. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๑.
ขุ. จู. ๓๐/๓๕. |
|
|
|
๑๕. |
ขตฺติโย จ อธมฺมฏฺโ |
เวสฺโส จาธมฺมนิสฺสิโต |
|
เต ปริจฺจชฺชุโภ โลเก |
อุปปชฺชนฺติ ทุคฺคตึ. |
|
กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ [ คนสามัญ ] ไม่
อาศัยธรรม ชนทั้ง ๒ นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. ปฺจก. ๒๗/๑๗๕. |
|
|
|
๑๖. |
คตทฺธิโน วิโสกสฺส |
วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ |
|
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส |
ปริฬาโห น วิชฺชติ. |
|
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรม
ทั้งปวง ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๒๗. |
|
|
|
๑๗.
|
จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตฺจาปิ สพฺพํ
จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.
|
|
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ,
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๔๗. |
|
|
|
๑๘. |
ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต |
มนสา จ ผุโ สิยา |
|
กาเม จ อปฏิพทฺธจิตฺโต |
อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ. |
|
พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิต
ไม่ติดกาม ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๔๔. |
|
|
|
๑๙. |
ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา |
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา |
|
เอตํ ตฺวา ยถาภูตํ |
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ. |
|
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้น
ตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒. |
|
|
|
๒๐.
|
ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.
|
|
ราชรถอันงดงามย่อคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรม
ของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้น
ย่อมรู้กันได้. |
|
( พุทฺธ ) |
สํ. ส. ๑๕/๑๐๒. |
|
|
|
๒๑. |
เต ฌายิโน สาตติกา |
นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา |
|
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ |
โยคกุเขมํ อนุตฺตรํ. |
|
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ . ๒๕/๑๘. |
|
|
|
๒๒. |
ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ |
ทุกฺขํ ติฏฺติ เวติ จ |
|
นาฺตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ |
นาฺตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ. |
|
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์
ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ. |
|
( วชิราภิกฺขุนี ) |
สํ. ส. ๑๕/๑๙๙.
ขุ. มหา. ๒๙/๕๓๖. |
|
|
|
๒๓. |
ธมฺโม ปโถ มหาราช |
อธมฺโม ปน อุปฺปโถ |
|
อธมฺโม นิรยํ เนติ |
ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ. |
|
มหาราช ! ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรมนอกลู่
นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้
ถึงสวรรค์. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. สฏฺิ. ๒๘/๓๙. |
|
|
|
๒๔. |
นนฺทิสฺโชโน โลโก |
วิตกฺกสฺส วิจารณา |
|
ตณฺหาย วิปฺปหาเนน |
นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ. |
|
สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
ท่านเรียกว่านิพพาน เพราะละตัณหาได้. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๔๗.
ขุ. จู ๓๐/๒๑๖,๒๑๗. |
|
|
|
๒๕. |
นาฺตฺร โพชฺฌาตปสา |
นาฺตฺร อินฺทฺริยสํวรา |
|
นาฺตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา |
โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ. |
|
เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจาก
ปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง. |
|
( พุทฺธ ) |
สํ. ส. ๑๕/๗๕. |
|
|
|
๒๖. |
ปฺจกฺขนฺธา ปริฺาตา |
ติฏฺนฺติ ฉินฺนมูลกา |
|
ทุกฺขกฺขโย อนุปฺปตฺโต |
นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว. |
|
เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์
แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก. |
|
( พฺรหฺมทตฺตเถรี ) |
ขุ. เถร. ๒๖/๓๓๔ |
|
|
|
๒๗. |
ปตฺตา เต นิพฺพานํ เย ยุตฺตา |
ทสพลสฺส ปาวจเน |
|
อปฺโปสฺสุกฺกา ฆเฏนฺติ |
ชาติมรณปฺปหานาย. |
|
ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย
พากเพียรละความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน. |
|
( สุเมธาเถร ) |
ขุ. เถรี. ๒๖/๕๐๒. |
|
|
|
๒๘. |
พหุสฺสุตํ อุปาเสยฺย |
สุตฺจ น วนาสเย |
|
ตํ มูลํ พฺรหฺมจริยสฺส |
ตสฺมา ธมฺมธโร สิยา. |
|
พึงนั่งใกลผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะนั้น
เป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรม. |
|
( อานนฺทเถร ) |
ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๖. |
|
|
|
๒๙. |
มคฺคานฏฺงฺคิโก เสฏฺโ |
สจฺจานํ จตุโร ปทา |
|
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ |
ทิปทานฺจ จกฺขุมา. |
|
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด, บรรดาสัจจะ
ทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด, บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม
ประเสริฐสุด, และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้า
ผู้มีจักษุ
ประเสริฐสุด. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๕๑. |
|
|
|
๓๐. |
ยตฺถ นามฺจ รูปฺจ |
อเสสํ อุปรุชฺฌติ |
|
วิฺาณสฺส นิโรเธน |
เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ. |
|
นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด นามและรูปนี้ย่อมดับ
ในที่นั้น
เพราะวิญญาณดับ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุง ๒๕/๕๓๑.
ขุ. จู. ๓๐/๒๑. |
|
|
|
๓๑. |
ยมฺหิ สจฺจฺจ ธมฺโม จ |
อหึสา สฺโม ทโม |
|
เอตทริยา เสวนฺติ |
เอตํ โลเก อนามตํ. |
|
สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด
อารยชน
ย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก. |
|
( อุปสมฬฺหาโพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๘. |
|
|
|
๓๒. |
ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ |
สติ เตสํ นิวารณํ |
|
โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ |
ปฺาเยเต ปิถิยฺยเร. |
|
กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น
เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคล
ปิดกั้นได้ด้วยปัญญา. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๐.
ขุ. จู. ๓๐/๑๖,๒๐. |
|
|
|
๓๓. |
เย สนฺตจิตฺตา นิปกา |
สติมนฺโต จ ฌายิโน |
|
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ |
กาเมสุ อนเปกฺขิโน. |
|
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ
ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๖๐. |
|
|
|
๓๔. |
โย จ ปปฺจํ หิตฺวาน |
นิปฺปปฺจปเท รโต |
|
อาราธยิ โส นิพฺพานํ |
โยคกุเขมํ อนุตฺตรํ. |
|
ผู้ใดละปปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรมที่ไม่มี
สิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. |
|
( สารีปุตฺต ) |
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๙. |
|
|
|
๓๕.
|
สกํ หิ ธมฺมํ ปริปุณฺณมาหุ
อฺสฺส ธมฺมํ ปน หีนมาหุ
เอวมฺปิ วิคฺคยฺห วิวาทยนฺติ
สกํ สกํ สมฺมติมาหุ สจฺจํ.
|
|
สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่
กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน
แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมติของตน ๆ ว่าเป็นจริง. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๑.
ขุ. มหา. ๒๙/๓๘๓. |
|
|
|
๓๖. |
สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน |
สติปฏฺานโคจโร |
|
วิมุตฺติกุสุมสฺฉนฺโน |
ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว. |
|
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดาดาษ
ด้วยดอกไม้คือวิมุตติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน. |
|
( เทวสภเถร ) |
ขุ. เถร. ๒๖/๒๘๒. |
|
|
|
๓๗. |
สุสุขํ วต นิพฺพานํ |
สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ |
|
อโสกํ วิรชํ เขมํ |
ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ. |
|
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก
ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ. |
|
( หาริตเถร ) |
ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙. |
|
|
|
๓๘. |
โสรจฺจํ อวิหึสา จ |
ปาทา นาคสฺส เต ทุเว |
|
สติ จ สมฺปชฺฺจ |
จรณา นาคสฺส เต ปเร. |
|
โสรัจจะและอวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติและสัมปชัญญะ
นั้น เป็นช้างเท้าหน้า. |
|
( อุทายีเถร ) |
ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๘. |
|
|
|
๓๙. |
หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย |
ปมาเทน น สํวเส |
|
มิจฺฉาทิฏฺึ น เสเวยฺย |
น สิยา โลกวฑฺฒโน. |
|
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควร
เสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก. |
|
( พุทฺธ ) [ออกสอบ ๒๕๔๙] |
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. |
|
|
|
๔๐. |
หีเนน พฺรหฺมจริเยน |
ขตฺติเย อุปปชฺชติ |
|
มชฺฌิเมน จ เทวตฺตํ |
อุตฺตเมน วิสุชฺฌติ. |
|
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว,
ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์
ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๙๙. |
|
|
|