ปัญหาและเฉลย
วิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
อนุพุทธประวัติ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ประวัติผู้รู้ตาม
ข.
ประวัติผู้ปฏิบัติตาม
ค.
ประวัติผู้บวชตาม
ง.
ประวัติผู้ฟังตาม
๒.
สังฆรัตนะเกิดขึ้นในโลก เมื่อทรงแสดงธรรมใด ?
ก.
อนุปุพพีกถา
ข.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ค.
อนัตตลักขณสูตร
ง.
อาทิตตปริยายสูตร
๓.
ปัญจวัคคีย์ติดตามอุปัฏฐากพระมหาบุรุษ ด้วยหวังอะไร ?
ก.
หวังเป็นศาสดาเอก
ข.
หวังเป็นพระอรหันต์
ค.
หวังฟังเทศนาสอนตน
ง.
หวังมีชื่อเสียงบ้าง
๔.
ปัญจวัคคีย์คิดอย่างไรต่อพระมหาบุรุษ จึงเลิกอุปัฏฐาก ?
ก.
กลับมาเป็นคนมักมาก
ข.
ทำไม่จริง
ค.
นั่นไม่ใช่ทางตรัสรู้
ง.
จักกลับไปเป็นกษัตริย์
๕.
ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือข้อใด ?
ก.
ทุกสิ่งมีเหตุปัจจัย
ข.
ทุกสิ่งมีเกิดมีดับ
ค.
ทุกสิ่งว่างเปล่า
ง.
ทุกสิ่งเป็นสภาพสูญ
๖.
“
ธรรมจักษุ
” บังเกิดแก่พระอริยบุคคลชั้นไหน ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๗.
ใครบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทารูปแรก ?
ก.
พระอัสสชิ
ข.
พระโกณฑัญญะ
ค.
พระวัปปะ
ง.
พระมหานามะ
๘.
พระอริยบุคคลชั้นใด ชื่อว่า “
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
” ?
ก.
พระโสดาบัน
ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี
ง.
พระอรหันต์
๙.
พระสาวกรูปใด ก่อนบวชบำเพ็ญพรตด้วยการบูชาไฟ ?
ก.
พระกุมารกัสสปะ
ข.
พระอุรุเวลกัสสปะ
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระมหากัปปินะ
๑๐.
พระอุรุเวลกัสสปะประกาศว่า “
ลัทธิของตนไม่มีแก่นสาร
”
เพราะข้าราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารมีอาการเช่นไร ?
ก.
ไม่อ่อนน้อม
ข.
ไม่ตั้งใจฟังเทศนา
ค.
คุยกันเสียงดัง
ง.
ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
๑๑.
ผู้ใด เป็นตัวอย่างในเรื่องดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว ?
ก.
ตปุสสะ-ภัลลิกะ
ข.
อุปติสสะ-โกลิตะ
ค.
วัปปะ-ภัททิยะ
ง.
มหานามะ-อัสสชิ
๑๒.
เพราะเหตุไร คนโดยมากดูมหรสพแล้วไม่เป็นเช่นนั้น ?
ก.
ญาณไม่แก่กล้า
ข.
ปัญญาน้อย
ค.
ไม่บำเพ็ญไตรสิกขา
ง.
ไม่มีบารมี
๑๓.
อุปติสสะเลื่อมใสพระอัสสชิ เพราะเห็นอะไร ?
ก.
รูปร่างดี
ข.
บุคลิกภาพดี
ค.
สำรวมระวังดี
ง.
เทศน์ไพเราะดี
๑๔.
ข้อใด ไม่ใช่คำพูดของพระอัสสชิ ?
ก.
เราเป็นผู้ใหม่
ข.
บวชยังไม่นาน
ค.
เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
ง.
อาจแสดงธรรมโดยพิสดาร
๑๕.
“
ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด
” หมายถึงอะไร ?
ก.
ทุกข์
ข.
สมุทัย
ค.
นิโรธ
ง.
มรรค
๑๖.
ใครถามว่า “
ในโลกนี้ คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก
” ?
ก.
สัญชัย
ข.
โกลิตะ
ค.
อาชีวก
ง.
พระเจ้าพิมพิสาร
๑๗.
พระอัสสชิเป็นอาจารย์ของใคร ซึ่งมีชื่อเสียงในกาลต่อมา ?
ก.
พระโมคคัลลานะ
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระยสะ
ง.
พระมหานามะ
๑๘.
พระธรรมเสนาบดี เป็นชื่อเรียกพระสาวกรูปใด ?
ก.
พระโกณฑัญญะ
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระโมคคัลลานะ
ง.
พระอานนท์
๑๙.
ใครแสดงธรรมจักรและอริยสัจได้แม้นกับพระพุทธองค์ ?
ก.
พระอุรุเวลกัสสปะ
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระมหากัจจายนะ
๒๐.
พระพุทธเจ้าตรัสให้ภิกษุไปลาใคร ก่อนจะจาริกไปในที่อื่น ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระโมคคัลลานะ
ค.
พระกุมารกัสสปะ
ง.
พระสารีบุตร
๒๑.
ก่อนนิพพานพระสารีบุตรไปโปรดมารดา เพราะเหตุใด ?
ก.
มารดาไม่มีศรัทธา
ข.
มารดามีศรัทธา
ค.
มารดานิมนต์
ง.
มารดาขอบวช
๒๒.
พระสาวกรูปใด อุปมาเหมือนมารดาผู้ให้เกิด ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระโมคคัลลานะ
ค.
พระมหากัสสปะ
ง.
พระมหากัจจายนะ
๒๓.
พระพุทธเจ้าตรัสอุบายแก้ง่วง แก่พระสาวกรูปใด ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระอุบาลี
ค.
พระอานนท์
ง.
พระโมคคัลลานะ
๒๔.
คำว่า “
ไม่ชูงวงเข้าไปสู่สกุล
” หมายความว่าอะไร ?
ก.
ไม่ถือตัว
ข.
ไม่พูดมาก
ค.
ต้องสำรวม
ง.
ต้องเข้าไปผู้เดียว
๒๕.
ธรรมใด ช่วยกำจัดความท้อแท้โงกง่วงได้ดีที่สุด ?
ก.
ศรัทธา
ข.
วิริยะ
ค.
สติ
ง.
สมาธิ
๒๖.
พระมหากัสสปะออกบวช เพราะเห็นโทษในการครองเรือน
อย่างไร ?
ก.
ต้องรับผิดชอบมาก
ข.
ต้องคอยรับบาปคนอื่น
ค.
ต้องทำแต่บาปกรรม
ง.
ต้องพัวพันกับเรื่องกาม
๒๗.
ใครบวชด้วยการรับโอวาท ๓ ข้อจากพระพุทธเจ้า ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระเรวตะ
ค.
พระมหากัจจายนะ
ง.
พระมหากัสสปะ
๒๘.
ใครแสดงว่า วรรณะ ๔ เสมอกันด้วยกรรมคือการกระทำ ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระมหากัจจายนะ
ค.
พระโมคคัลลานะ
ง.
พระมหาปันถก
๒๙.
พระสาวกรูปใด เป็นเอตทัคคะในการอธิบายความย่อให้พิสดาร ?
ก.
พระมหากัสสปะ
ข.
พระขทิรวนิยเรวตะ
ค.
พระมหากัจจายนะ
ง.
พระปุณณมันตานีบุตร
๓๐.
ผู้ใดเคยเอาไฟเผาพื้นหอฉัน ต้องเป็นโรคเรื้อนถึง ๕๐๐ ชาติ ?
ก.
พระโมฆราช
ข.
พระอชิตะ
ค.
พระปิงคิยะ
ง.
พระเมตตคู
๓๑.
“
ข้าพระองค์พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะ
ไม่แลเห็น
” ใครทูลถาม ?
ก.
พระอชิตะ
ข.
พระเมตเตยยะ
ค.
พระโตเทยยะ
ง.
พระโมฆราช
๓๒.
ชั้นต้น พระสาวกทั้งหลายคิดอย่างไร จึงไม่ให้ราธพราหมณ์บวช ?
ก.
เพราะคนแก่มักติดในลาภ
ข.
เพราะคนแก่เป็นภาระผู้อื่น
ค.
เพราะคนแก่มักสอนยาก
ง.
เพราะคนแก่ปฏิบัติลำบาก
๓๓.
สำนวนไทยว่า “
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
” พระสาวกรูปใด
ไม่เป็นเช่นนั้น ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระราธะ
ค.
พระฉันนะ
ง.
พระวังคีสะ
๓๔.
พระสาวกรูปใด จำต้องบวชเพราะบาตรใบเดียว ?
ก.
พระอานนท์
ข.
พระนันทะ
ค.
พระอนุรุทธะ
ง.
พระภัททิยะ
๓๕.
ข้อใด ตรงกับคำว่า “
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
” มากที่สุด ?
ก.
ประพฤติตรงไปตรงมา
ข.
ประพฤติแต่เรื่องดี
ค.
ทำแต่บุญ
ง.
อบรมวิปัสสนา
๓๖.
ข้อใด เป็นปฏิปทาของพระราหุล ?
ก.
ใคร่ต่อการศึกษา
ข.
มักน้อย สันโดษ
ค.
มุ่งประกาศศาสนา
ง.
กตัญญูกตเวทิตา
๓๗.
พระสาวกรูปใด ได้รับเอตทัคคะด้านทรงพระวินัย ?
ก.
พระอุบาลี
ข.
พระนันทะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระสิวลี
๓๘.
พระสาวกรูปใด ได้รับเอตทัคคะด้านทิพพจักษุ ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระอนุรุทธะ
ค.
พระอัสสชิ
ง.
พระภัททิยะ
๓๙.
พระสาวกรูปใด เป็นเหมือนเงาที่ติดตามพระพุทธเจ้าไปทุกแห่ง ?
ก.
พระสารีบุตร
ข.
พระโมคคัลลานะ
ค.
พระอานนท์
ง.
พระนันทะ
๔๐.
พระสาวกรูปใด ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก ?
ก.
พระราหุล
ข.
พระสารีบุตร
ค.
พระอานนท์
ง.
พระมหากัสสปะ
ศาสนพิธี
๔๑.
สามีจิกรรม คืออะไร ?
ก.
แสดงมุทิตาจิต
ข.
ทำวัตรสวดมนต์
ค.
ขอขมาโทษต่อกัน
ง.
เจริญจิตภาวนา
๔๒.
วันธรรมสวนะ หมายถึงวันอะไร ?
ก.
วันสมาทานศีล
ข.
วันประชุมฟังธรรม
ค.
วันเข้าพรรษา
ง.
วันเทโวโรหณะ
๔๓.
การทำบุญ “
สตมวาร
” ให้แก่ผู้ตาย ตรงกับข้อใด ?
ก.
๗ วัน
ข.
๕๐ วัน
ค.
๑๐๐ วัน
ง.
๑ ปี
๔๔.
การสวดพระอภิธรรม นิยมใช้สวดในงานอะไร ?
ก.
งาน ๑๐๐ วัน
ข.
งานขึ้นบ้านใหม่
ค.
งานศพ
ง.
งานทำบุญอัฐิ
๔๕.
“
ทักษิณานุปทาน
” มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ทำบุญวันเกิด
ข.
ทำบุญอายุ
ค.
ทำบุญบ้าน
ง.
ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
๔๖.
การเทศน์ตามกาลนิยม คืออย่างไร ?
ก.
เทศน์วันธรรมสวนะ
ข.
เทศน์สอนประชาชน
ค.
เทศน์งานศพ
ง.
เทศน์ปุจฉาวิสัชนา
๔๗.
การถวายทานที่มิได้เจาะจงผู้รับ หมายถึงข้อใด ?
ก.
สังฆทาน
ข.
ปาฏิบุคลิกทาน
ค.
อภัยทาน
ง.
เภสัชทาน
๔๘.
ผ้าวัสสิกสาฎก หมายถึงผ้าชนิดใด ?
ก.
ผ้าไตรจีวร
ข.
ผ้าอาบน้ำฝน
ค.
ผ้าสังฆาฏิ
ง.
ผ้าบังสุกุล
๔๙.
การไหว้ครู จัดเข้าในศาสนพิธีหมวดใด ?
ก.
กุศลพิธี
ข.
บุญพิธี
ค.
ทานพิธี
ง.
ปกิณกพิธี
๕๐.
ข้อใด ไม่ใช่อุโบสถศีล ?
ก.
ปาณาติปาตา เวรมณี
ข.
อทินฺนาทานา เวรมณี
ค.
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี
ง.
กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๙. หน้า ๒๑๖-๒๒๖.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐