ปาปวรรค คือ หมวดบาป

๒๘. มาลา เว ปาปกา ธมฺมา    อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
บาปธรรมเป็นมลทินแท้  ทั้งในโลกนี้  ทั้งในโลกอื่น.
  องฺ. อฏฺก. ๒๓/๑๙๘.  ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.
   
๒๙. ทุกฺโข  ปาปสฺส  อุจฺจโย.
ความสั่งสมบาป  นำทุกข์มาให้.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.
   
๓๐. ปาปานํ  อกรณํ  สุขํ.
การไม่ทำบาป  นำสุขมาให้. [ออกสอบ ๒๕๕๖]
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.
   
๓๑. ปาปํ  ปาเปน  สุกรํ.
ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย.
  วิ.จุล. ๗/๑๙๕.  ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘.
   
๓๒. ปาเป  น  รมตี  สุจิ.
คนสะอาดไม่ยินดีในความชั่ว.
  วิ. มหา. ๕/๓๔.  ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๖.
   
๓๓. สกมฺมุนา  หญฺติ  ปาปธมฺโม.
คนมีสันดานชั่ว  ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน.
  ม. ม. ๑๓๔๑๓.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.
   
๓๔. ตปสา  ปชหนฺติ  ปาปกมฺมํ.
สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ.
  ขุ. ชา. อฏฺก. ๒๗/๒๔๕.
   
๓๕. ปาปานิ  กมฺมานิ  กโรนฺติ  โมหา.
คนมักทำบาปกรรมเพราะความหลง.
  ม. ม. ๑๓/๔๑๓.  ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๘๐.
   
๓๖. นตฺถิ  ปาปํ  อกุพฺพโต.
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.
   
๓๗. ธมฺมํ  เม  ภณมานสฺส    น  ปาปมุปลิมฺปติ.
เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่  บาปย่อมไม่แปดเปื้อน.
  ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๔.
   
๓๘. นตฺถิ  อการิยํ  ปาปํ    มุสาวาทิสฺส  ชนฺตุโน.
คนมักพูดมุสา  จะไม่พึงทำความชั่ว  ย่อมไม่มี.
  นัย- ขุ. ธ. ๒๕/๓๘.  นัย. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๓. [ออกสอบ ๒๕๕๕]
   
๓๙. ปาปานิ  ปริวชฺชเย.
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย.
 

ขุ. ธ. ๒๕/๓๑. [ออกสอบ พ.ศ. ๒๕๔๖]

   
๔๐. น  ฆาสเหตุปิ  กเรยฺย  ปาปํ.
ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน.
  นัย- ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๒. [ออกสอบ ๒๕๔๙]
   



พุทธศาสนสุภาษิต