ทานวรรค คือ หมวดทาน

๑. ทานญฺจ  ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ.
ท่านว่า  ทานและการรบ  เสมอกัน.
  สํ. ส. ๑๕/๒๙.  ขุ. ชา. อฏฺก. ๒๗/๒๔๙.
   
๒. นตฺถิ  จิตฺเต  ปสนฺนมฺหิ  อปฺปกา  นาม  ทกฺขิณา.
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว  ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย  ย่อมไม่มี.
  ขุ. วิมาน. ๒๖/๘๒.
   
๓. วิเจยฺย  ทานํ  สุคตปฺปสตฺถํ.
การเลือกให้  อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.
  สํ. ส. ๑๕/๓๐.  ขุ. ชา. อฏฺก. ๒๗/๒๔๙.  ขุ. เปต. ๒๖/๑๙๗.
   
๔. พาลา  หเว  นปฺปสํสนฺติ  ทานํ.
คนพาลเท่านั้น  ย่อมไม่สรรเสริญทาน.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. [ออกสอบ พ.ศ.๒๕๕๔]
   
๕. ททํ  มิตฺตานิ  คนฺถติ.
ผู้ให้  ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.
  สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.
   
๖. ททํ  ปิโย  โหติ  ภชนฺติ  นํ  พหู.
ผู้ให้  ย่อมเป็นที่รัก  คนหมู่มากย่อมคบเขา.
  องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๓. [ออกสอบ พ.ศ.๒๕๔๗]
   
๗. ททมาโน  ปิโย  โหติ.
ผู้ให้  ย่อมเป็นที่รัก.
  องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔. [ออกสอบ พ.ศ.๒๕๕๓]
   
๘. สุขสฺส  ทาตา  เมธาวี    สุขํ  โส  อธิคจฺฉติ.
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข  ย่อมได้รับความสุข.
  องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๕.
   
๙. มนาปทายี  ลภเต  มนาปํ.
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ  ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.
  องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๕.
   
๑๐. เสฏฺนฺทโท  เสฏฺมุเปติ  านํ.
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ  ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.
  องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.
   
๑๑. อคฺคสฺส  ทาตา  ลภเต  ปุนคฺคํ.
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ  ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก.
  องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.
   
๑๒. ททโต  ปุญฺํ  ปวฑฺฒติ.
เมื่อให้  บุญก็เพิ่มขึ้น.
  ที. มหา. ๑๐/๑๕๙.  ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕. [ออกสอบ พ.ศ.๒๕๕๐]
   
๑๓. ทเทยฺย  ปุริโส  ทานํ.
คนควรให้ของที่ควรให้.
  ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๗.
   


พุทธศาสนสุภาษิต