|
ตัทธิต หมายถึง ปัจจัยหมู่หนึ่ง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เนื้อความย่อ
สำหรับใช้แทนศัพท์ย่อคำพูดให้สั้นลง ใช้ลงท้ายนามศัพท์บ้าง อัพยยศัพท์บ้าง
ตัทธิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. สามัญญตัทธิต
2. ภาวตัทธิต
3. อัพยยตัทธิต |
1. สามัญญตัทธิต แบ่งออกเป็น 13 คือ
1) โคตตตัทธิต แทน อปจฺจ โคตฺต ปุตฺต ศัพท์ เป็นนามนาม
มีปัจจัย 8 ตัว คือ ณ ณายน ณาน เณยฺย ณิ ณิก ณว เณร
2) ตรัตยาทิตัทธิต แทน ตรติ ศัพท์เป็นต้น
มีปัจจัย 1 ตัว คือ ณิก เป็นคุณนาม
3) ราคาทิตัทธิต แทน รตฺต ศัพท์เป็นต้น
มีปัจจัย 1 ตัว คือ ณ เป็นคุณนาม
4) ชาตาทิตัทธิต แทน ชาต ศัพท์เป็นต้น
มีปัจจัย 3 ตัว คือ อิม อิย กิย เป็นคุณนาม
5) สมุหตัทธิต แทน สมุห ศัพท์
มีปัจจัย 3 ตัว คือ กณฺ ณ ตา เป็นนามนาม
6) ฐานตัทธิต แทน าน ศัพท์
มีปัจจัย 1 ตัว คือ อีย เป็นคุณนาม
7) พหุลตัทธิต แทน ปกติ พหุล ศัพท์
มีปัจจัย 1 ตัว คือ อาลุ เป็นคุณนาม
8) เสฏฐตัทธิต เป็นเครื่องหมายคุณนามขั้น วิเสส อติวิเสส
มีปัจจัย 5 ตัว คือ ตร ตม อิยิสฺสก อิย อิฏฺ เป็นคุณนาม
9) ตทัตสัตถิตัทธิต แทน อตฺถิ ศัพท์ เป็นคุณนาม
มีปัจจัย 9 ตัว คือ วี ส สี อิก อี ร วนฺตุ มนฺตุ ณ
10) ปกติตัทธิต แทน ปกต วิการ ศัพท์
มีปัจจัย 1 ตัว คือ มย เป็นคุณนาม
11) สังขยาตัทธิต แทน ปริมาณ ศัพท์
มีปัจจัย 1 ตัว คือ ก เป็นคุณนาม
12) ปูรณตัทธิต แทน ปูรณ ศัพท์
มีปัจจัย 5 ตัว คือ ติย ถ ม อี เป็นคุณนาม
13) วิภาคตัทธิต แทน วิภาค ศัพท์
มีปัจจัย 2 ตัว คือ ธา โส เป็นคุณนาม |
2. ภาวตัทธิต แทน ภาว ศัพท์ เป็นนามนาม
มีปัจจัย 6 ตัว คือ ตฺต ณฺย ตฺตน ตา ณ กณฺ
ในสัททนีติปกรณ์ มีปัจจัยเพิ่มอีก ๓ ตัว คือ ณิย เณยฺย พฺย |
3. อัพยยตัทธิต แทน ปการ ศัพท์
มีปัจจัย 2 ตัว คือ ถา ถํ เป็นอัพยยศัพท์ |
ในคัมภีร์ไวยากรณ์ทั้งหลาย กล่าวว่าสามัญญตัทธิต มี 15
โดยเพิ่ม อุปมาตัทธิต และ นิสสิตตัทธิต เข้ามา คัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงว่า กฺขตฺตุ ใช้แทน วาร ศัพท์ (ครั้ง คราว วาระ)
ลงหลังปกติสังขยา และ สกิ พหุ กติ ศัพท์ |
|
|