|
สมัญญาภิธาน คือ การแสดงชื่ออักษร ที่เป็นสระ และพยัญชนะ
พร้อมทั้งฐานกรณ์
|
เนื้อความของถ้อยคำทั้งปวง ต้องหมายรู้กันด้วยอักขระ
เมื่ออักขระวิบัติแล้ว ก็เข้าใจเนื้อความยาก เพราะฉะนั้น
ความเป็นผู้ฉลาดในอักขระ จึงมีอุปการะมาก
คำว่าอักขระ ๆ นั้น ว่าตามที่นักปราชญ์ท่านประสงค์
ก็เป็น ๒ อย่าง เป็นเสียงอย่าง ๑ เป็นหนังสืออย่าง ๑
มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี ที่เป็นของ
ชาติใด
ภาษาใด ก็พอใช้ได้ครบสำเนียง ในชาตินั้น
ภาษานั้น
ไม่บกพร่อง
ถ้าจะกล่าวหรือเขียนสักเท่าใด ๆ ก็คงใช้เสียง
หรือตัวหนังสืออยู่เท่านั้นเอง เสียงและตัวหนังสือนั้น มิได้สิ้นไป
เลย และไม่เป็นของแข็ง ที่จะใช้ในภาษานั้นยาก เหมือนหนึ่ง
เสียงและตัวหนังสือของชาติอื่น จะเอามาใช้ในภาษาอื่น จาก
ภาษานั้นยาก เป็นของชาติไหนภาษา ก็ใช้ได้พอสมควรแก่
ชาตินั้น
ภาษานั้น ไม่ขัดข้อง
เพราะฉะนั้น
เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่า
อักขระ
แปลว่า
ไม่รู้จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง ๑.
อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ
อ อา อิ อี
อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ชื่อสระ
ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ,
ฏ ฑ ฒ ณ,
ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล
ว ส ห ฬ ํ
๓๓ ตัวนี้ชื่อพยัญชนะ. |
|
|