อธิบายศัพท์          
๑.  สติ  แปลว่าความระลึก  หรือความระลึกได้  สติ
มีความระลึก
เป็นลักษณะ   มีความไม่ลืมเลือนเป็นกิจ   มีการควบคุมเป็นเครื่องปรากฏ
[๑]
หมายความว่า   ลักษณะเครื่องกำหนดของสตินั้น  ก็คือความระลึกหรือนึกคิด
ได้ใน  ๓  กาล   กล่าวคือ   ระลึกถึงการที่เคยทำ   คำที่เคยพูด   รูปที่เคย
เห็น   เสียงที่เคยฟัง   กลิ่นที่เคยสูด   รสที่เคยลิ้ม   โผฏฐัพพะที่เคยถูกต้อง
ธรรมะคือเรื่องราวต่าง ๆ   ที่เคยเล่าเรียนเขียนอ่านในกาลก่อน   นี้เรียกว่า
ระลึกอดีตกาลได้  ๑  ระลึกถึงการที่กำลังทำหรือกำลังจะทำ   คำที่กำลังพูด
หรือกำลังจะพูด   เรื่องที่กำลังคิด   ได้แก่การตั้งสติกำหนดระลึกนึกคิดใน
เรื่องกายเวทนาจิตและธรรม   ตามแนวสติปัฏฐาน   นี้เรียกว่าระลึกปัจจุบันกาล
ได้ ๑,  ระลึกถึงเรื่องอันจะพึงเกิดมีในกาลข้างหน้า   เช่นความตายอัน
จะมีแก่ตนและบุคคลอื่น   นี้เรียกว่าระลึกเรื่องอนาคตกาลได้ ๑,  กิจหรือ
หน้าที่ของสตินั้น   ก็คือการไม่ลืมเรื่องอดีต   ระลึกได้ทุกครั้งที่ต้องการ,
ไม่เลื่อนลอยเผลอตัวในเรื่องปัจจุบัน, ไม่หวาดหวั่นฟุ้งเฟ้อในเรื่องอนาคต.
เครื่องปรากฏของสตินั้น  ก็คือมีการป้องกันรักษาซึ่งการทำ  การพูด การคิด
ทั้ง  ๓  กาลไว้มิให้หันเหไปในทางผิดตามกิเลส   ระวังให้ตั้งอยู่
เฉพาะในทางถูกเท่านั้น     ประดุจนายสารถีผู้ไม่ประมาทคอยบังคับรถเรือ
ให้แล่นไปโดยปลอดภัยฉะนั้น.
๒.  สัมปชัญญะ   แปลว่าความรู้ตัว   สัมปชัญญะ
มีความไม่ฟั่นเฟือน
เป็นลักษณะ   มีความไตร่ตรองเป็นกิจ   มีความเลือกเฟ้นเป็นเครื่องปรากฏ
[๑]
หมายความว่า   ลักษณะของสัมปชัญญะนี้  ได้แก่ความรู้ทั่ว   รู้ชัดโดยถูก
ต้อง  ไม่ใช่หลง ๆ  ลืม ๆ  หลับ ๆ ตื่น ๆ  ฟั่นเฟือนในขณะยืน   เดิน  นั่ง
นอน   กิน   ดื่ม   ทำ  พูด  คิด  เป็นต้น  รู้สึกตัวดีอยู่   ตื่นตัวดีอยู่ว่ากำลัง
ยืน   เดินเป็นต้น.   กิจหรือหน้าที่ของสัมปชัญญะนั้น   ได้แก่การพิจารณา
ถึงคุณโทษเป็นต้น   ชิงขึ้นหน้าคอยกุมแจอยู่ทุกอิริยาบถ.  เครื่องปรากฏ
ของสัมปชัญญะนี้    ได้แก่การเลือกเฟ้นไตร่ตรองประจำอยู่ทุกอิริยาบถใน
ปัจจุบัน  ไม่ส่งใจไปอื่น.

๑.  คัมภีร์วิสุทธิมรรค  ๑/๒๐๗
อธิบายชื่อหมวดธรรม
สติและ สัมปชัญญะ   ทั้งสองนี้  ชื่อว่า  มีอุปการะมาก  เพราะ
เป็นอุปการธรรมอุดหนุนให้สำเร็จกิจในทางดีก็ได้   ทางชั่วก็ได้.  
แต่ในที่นี้หมายเอาเฉพาะในทางดี. ท่านกล่าวว่า   ที่ชื่อว่ามีอุปการะมาก   เพราะเป็นเครื่องนำมาซึ่ง ประโยชน์เกื้อกูลในกิจการทุกอย่าง     เหมือนความไม่ประมาท     เป็นอุปการะในการบำเพ็ญศีลเป็นต้น ๑.   หมายความว่า   ธรรม ๒  ประการนี้  มีอยู่แก่ผู้ใด   ผู้นั้นกระทำกิจใด ๆ  จะบำเพ็ญศีล   เจริญสมาธิ   ปัญญาก็ตาม จะเล่าเรียนเขียนอ่านก็ตาม   ประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม   โดยที่สุดแม้จะลุกจะนั่งจะยืน
จะเดิน โดยมีสติสัมปชัญญะเสมอ   กิจนั้น ๆ  ย่อมสำเร็จด้วยดี  
ไม่ผิดพลาด   ปราศจากภยันตรายทุกประการ ในที่ทุกสถาน  และในกาล
ทุกเมื่อ  เพราะฉะนั้น  ธรรม ๒ ประการนี้   จึงชื่อว่ามีอุปการะมาก ดังนี้แล.
คำถามสอบความเข้าใจ
๑.  สติมีลักษณะอย่างไร ?
๒.  สัมปชัญญะมีลักษณะอย่างไร ?
๓.  สติกับกับปชัญญะมีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
๔.  อะไรเป็นเครื่องปรากฏของสติและสัมปชัญญะ ?
๕.  เพราะเหตุใด สติและสัมปชัญญะ จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ?
 
หนังสืออ้างอิง : นวโกวาท หน้า ๒๘, ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๑-๓.
สาระการเรียนรู้
ธรรมวิภาค
ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก
ธรรมเป็นโลกบาล
ธรรมอันทำให้งาม
บุคคลหาได้ยาก
ติกะ คือ หมวด ๓
รัตนะ
คุณของรัตนะ
อาการที่ทรงสั่งสอน
โอวาท
ทุจริต
สุจริต
อกุศลมูล
กุศลมูล
สัปปุริสบัญญัติ
อปัณณกปฏิปทา
บุญกิริยาวัตถุ
จตุกกะ คือ หมวด ๔
วุฑฒิ
จักร
อคติ
อันตราย
ปธาน
อธิษฐานธรรม
อิทธิบาท
ควรทำความไม่ประมาท
ปาริสุทธิศีล
อารักขกัมมัฏฐาน
พรหมวิหาร
สติปัฏฐาน
ธาตุกัมมัฏฐาน
อริยสัจ
ปัญจกะ คือ หมวด ๕
อนันตริยกรรม
อภิณหปัจจเวกข์
เวสารัชชกรณธรรม
องค์แห่งภิกษุใหม่
องค์แห่งธรรมกถึก
ธัมมัสสวนานิสงส์
พละ
นิวรณ์
ขันธ์
ฉักกะ คือ หมวด ๖
คารวะ
สาราณิยธรรม
อายตนะภายใน
อายตนะภายนอก
วิญญาณ
สัมผัส
เวทนา
ธาตุ
สัตตกะ คือ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม
อริยทรัพย์
สัปปุริสธรรม
โพชฌงค์
อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย
มรรค
นวกะ คือ หมวด ๙
มละ
ทสกะ คือ หมวด ๑๐
อกุศลกรรมบถ
กุศลกรรมบถ
บุญกิริยาวัตถุ
ธรรมที่ควรพิจารณา
นาถกรณธรรม
กถาวัตถุ
อนุสสติ
ปกิณณกะ คือ
หมวดเบ็ดเตล็ด
อุปกิเลส ๑๖
โพธิปักขิยธรรม ๓๗
คิหิปฏิบัติ
จตุกกะ หมวด ๔
กรรมกิเลส
อบายมุข
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
สัมปรายิกัตถประโยชน์
มิตตปฏิรูป
มิตรแท้
สังคหวัตถุ
สุขของคฤหัสถ์
ความปรารถนาที่ได้ยาก
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย
ตระกูลมั่งคั่ง
ธรรมของฆราวาส
ปัญจกะ หมวด ๕
ประโยชน์การถือโภคทรัพย์
ศีล
มิจฉาวณิชชา
สมบัติของอุบาสก
ฉักกะ หมวด ๖
ทิศ ๖
- ทิศเบื้องหน้า
- ทิศเบื้องขวา
- ทิศเบื้องหลัง
- ทิศเบื้องซ้าย
- ทิศเบื้องต่ำ
- ทิศเบื้องบน
อบายมุข
- ดื่มน้ำเมา
- เที่ยวกลางคืน
- เที่ยวดูการเล่น
- เล่นการพนัน
- คบคนชั่วเป็นมิตร
- เกียจคร้านทำการงาน