โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ลักษณะเป็นโคลงสี่สุภาพ
คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก เนื้อหามุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้ เท่าทันโลกและเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต ทั้งยังเป็นแม่แบบให้ผู้อ่านได้นำ ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและดีงามสืบไป |
ประวัติความเป็นมา |
โคลงโลกนิติสำนวนเก่าเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยนักปราชญ์ ในสมัยนั้นได้คัดเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ, ธรรมบทและพระไตรปิฎก เป็นต้น มาถอดความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลงโลกนิติ |
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ) ในปี พ.ศ.2374 ก็มีดำริให้จารึกวิชาการสาขาต่างๆ ไว้บนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามเสา หรือกำแพงพระวิหาร ในการนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้อง ยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร) ทรงชำระโคลงโลกนิติสำนวนเก่าให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น เพื่อจารึกไว้ในคราวเดียวกัน |
จำนวนโคลงโลกนิติที่วัดพระเชตุพน จารึกไว้บนแผ่นหินอ่อนจำนวน 60 แผ่น
แผ่นละ 7 โคลง ติดไว้ที่ผนังด้านนอกศาลารอบพระมณฑป โดยเริ่มแผ่นแรกที่ ศาลาทิศตะวันตก (ซ้ายไปขวา) โดยติดไว้เป็นชุดๆ ละ 3 แผ่น จำนวน 5 ชุด
รวมแผ่นหิน 15
แผ่น จำนวนโคลงทั้งสิ้น 105 โคลง แผ่นที่ 16 - 30 ติดไว้ที่
ศาลาทิศใต้ เริ่มโคลงที่ 106-210 (แผ่นที่ 22-24 ปัจจุบันไม่มีแล้ว คาดว่าสูญหาย
ไปตั้งแต่ก่อน
พ.ศ.2472) แผ่นที่ 31-45 ติดไว้ที่ศาลาทิศตะวันออก เริ่มโคลงที่
211-315 (ปัจจุบันไม่มีแล้วสูญหายไปตั้งแต่สมัยรื้อเพื่อสร้างพระมหาเจดีย์รัชกาล
ที่ 4)
แผ่นที่ 46-60 ติดไว้ที่ศาลาทิศเหนือ เริ่มโคลงที่ 316-420 รวมแผ่นหินอ่อน
ทั้งสิ้น 60 แผ่น จำนวนโคลงทั้งสิ้น 420 โคลง |
|